ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของ
พระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ฯ
             [๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูปสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสตรีย่อม
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
             [๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนเสียงสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงสตรีย่อม
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
             [๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนกลิ่นสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นสตรีย่อม
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
             [๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรสสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รสสตรีย่อม
ครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
             [๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนโผฏฐัพพะของสตรีเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โผฏฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ ฯ
             [๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูปบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปบุรุษย่อม
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
             [๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนเสียงบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เสียงบุรุษย่อม
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
             [๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนกลิ่นบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นบุรุษ
ย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
             [๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรสบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รสบุรุษย่อม
ครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
             [๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฏฐัพพะอื่นแม้อย่างหนึ่ง
ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนโผฏฐัพพะบุรุษเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
โผฏฐัพพะของบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่ ฯ
จบวรรคที่ ๑
[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนศุภนิมิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจ ศุภนิมิตโดยไม่แยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกามฉันทะที่เกิด ขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ [๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนปฏิฆนิมิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ใส่ใจปฏิฆนิมิตโดยไม่แยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ [๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่ยินดี ความเกียจคร้าน ความบิดขี้เกียจ ความเมาอาหาร และความที่จิตหดหู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตหดหู่ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเจริญไพบูลย์ ฯ [๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนความไม่สงบแห่งใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่สงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอุทธัจจ กุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ [๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความเจริญไพบูลย์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และวิจิกิจฉา ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ ฯ [๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อัน บุคคลย่อมละได้ เหมือนอศุภนิมิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจอศุภนิมิต โดยแยบคาย กามฉันทะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ [๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้พยาบาทที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล ย่อมละได้ เหมือนเมตตาเจโตวิมุติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจเมตตา เจโตวิมุติโดยแยบคาย พยาบาทที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และพยาบาทที่เกิด ขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ [๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะ เป็นเหตุให้ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคล ย่อมละได้ เหมือนความริเริ่ม ความพากเพียร ความบากบั่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลปรารภความเพียรแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และถีน มิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ [๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออุทธัจจกุกกุจจะ ที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนความสงบแห่งใจ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ [๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่จะเป็นเหตุให้วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ บุคคลใส่ใจโดยแยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และวิจิกิจฉาที่ เกิดขึ้นแล้ว อันบุคคลย่อมละได้ ฯ
จบวรรคที่ ๒
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน ฯ [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน ฯ [๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน จิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกร ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่าง ใหญ่ ฯ [๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ ฯ [๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ฯ
จบวรรคที่ ๓
[๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิต ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครอง แล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่าง ใหญ่ เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
จบวรรคที่ ๔
[๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ ห้อเลือด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคล ตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชา ให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ผิด ฯ [๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเดือยข้าวสาลีหรือเดือยข้าวยวะ ที่บุคคลตั้งไว้ถูก มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อ เลือด ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยอันบุคคลตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก ฯ [๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัดบุคคล บางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขังไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะอะไร เพราะจิตของเขา อันโทษประทุษร้ายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตประทุษร้าย สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ชัด บุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา ผ่องใส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ขุ่นมัวเป็นตม บุรุษผู้มี จักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย จิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว ฯ [๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว บุรุษ ผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบบ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้อง ถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ คือ อุตริมนุสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ ได้ด้วย จิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว ฯ [๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต้นจันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่ารุกขชาติ ทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อนและควรแก่การงาน ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา ย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใด นั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย ฯ [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ฯ [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา ฯ
จบวรรคที่ ๕
[๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็น จริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่วการเพียงลัด นิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ [๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ เดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าว ไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ [๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาลเพียง ลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอน ของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะ กล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิตนั้นให้มากเล่า ฯ [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล ที่เป็นไป ในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรม เกิดหลังเทียว ฯ [๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนกุศล ที่เป็นไปใน ฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น กุศลธรรมเกิด หลังเทียว ฯ [๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็น เหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศล- *ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
จบวรรคที่ ๖
[๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนการปรารภความเพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความ เพียร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เสื่อมไป ฯ [๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นคนมัก มาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เสื่อมไป ฯ [๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่สันโดษ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลสันโดษ กุศลธรรมที่ยัง ไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่ แยบคาย อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เสื่อมไป ฯ [๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่รู้สึกตัว อกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้สึกตัว กุศลธรรม ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีมิตรชั่ว อกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ
จบวรรคที่ ๗
[๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีมิตรดี กุศล ธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อม ไป เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ ไม่ประกอบกุศลธรรมเนืองๆ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย เพราะการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ เพราะการไม่ประกอบกุศล ธรรมเนืองๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ เพราะการไม่ประกอบอกุศลธรรม เนืองๆ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เสื่อมไป ฯ [๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึง ความเจริญบริบูรณ์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ใส่ใจโดยไม่แยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิด ขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ [๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึง ความเจริญบริบูรณ์ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ใส่ใจโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ ฯ [๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมญาติมีประมาณน้อย ความเสื่อม ปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ฯ [๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยญาติมีประมาณน้อย ความเจริญ ด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงสำเหนียก อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอ ทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ [๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมแห่งโภคะมีประมาณน้อย ความ เสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ฯ [๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยโภคะมีประมาณน้อย ความ เจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง สำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล ฯ [๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมยศมีประมาณน้อย ความเสื่อม ปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย ฯ
จบวรรคที่ ๘
[๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศมีประมาณน้อย ความ เจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง สำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความเจริญด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ [๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ปรารภความเพียร ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นผู้ปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ เป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การ ไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนืองๆ การ ไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ ประกอบอกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ
จบวรรคที่ ๙
[๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็นเหตุ อื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาทย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการปรารภความ เพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประ- *โยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดย ไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดย แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ ประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายนอก เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มี มิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายนอก เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เราไม่เล็งเห็น เหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบ กุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ กุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ อย่างใหญ่ ฯ [๑๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความ ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อ ความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อม เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น ผู้เกียจคร้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร ดูกรภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น ผู้มักมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ ไม่สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจ โดยไม่แยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดย แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่ อันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น ผู้ไม่รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็น ผู้มีมิตรชั่ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อความ เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ [๑๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบ อกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม ฯ [๑๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่ เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนืองๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่ง สัทธรรม ฯ
จบวรรคที่ ๑๐
[๑๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม ภิกษุ เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็น อันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรม นี้ให้อันตรธาน ฯ [๑๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดง พระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า พระ- *ตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตมิได้ทรง สั่งสมว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตได้ทรงสั่งสม ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสมไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรง บัญญัติไว้ว่า พระตถาคตทรงบัญญัติไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติ ไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติไว้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็น ประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน ฯ [๑๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม ภิกษุ เหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ [๑๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม ฯลฯ ที่ แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดง พระดำรัสอันพระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตมิได้ทรงภาษิต มิได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงพระดำรัสอันพระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ว่า พระตถาคตได้ทรงภาษิต ได้ตรัสไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่พระตถาคตมิได้ทรง สั่งสมว่า พระตถาคตมิได้ทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันพระตถาคตทรงสั่งสม ว่า พระตถาคตทรงสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติว่า พระตถาคตมิได้ทรงบัญญัติ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันพระตถาคตทรงบัญญัติว่า พระ- *ตถาคตทรงบัญญัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อม ดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
จบวรรคที่ ๑๑
[๑๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า อาบัติ ฯลฯ ที่ แสดงอาบัติว่า อนาบัติ ฯลฯ ที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดง ครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า อาบัติทำคืนไม่ได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่า อาบัติทำคืนได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้อันตรธาน ฯ [๑๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า อนาบัติ ภิกษุ เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ [๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า อาบัติ ภิกษุ เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ [๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นลหุ- *กาบัติ ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า อาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดง อาบัติที่มีส่วนเหลือว่า อาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า อาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า อาบัติทำคืนได้ ฯลฯ ที่แสดง อาบัติทำคืนไม่ได้ว่า อาบัติทำคืนไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูลแก่ ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญ เป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น ฯ
จบวรรคที่ ๑๒
-----------------------------------------------------
เอกบุคคลบาลี
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด ขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกหาได้ยากในโลก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล หาได้ยากในโลก ฯ [๑๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด ขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด ขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ฯ [๑๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอก เป็นเหตุเดือด- *ร้อนแก่ชนเป็นอันมาก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นเหตุเดือดร้อน แก่ชนเป็นอันมาก ฯ [๑๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิด ขึ้นเป็นผู้ไม่มีที่สอง ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใครเปรียบ เสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่มีสอง ไม่มีเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ ไม่มีใคร เปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วย พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ทั้งหลาย ฯ [๑๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก เป็นความ ปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็น การแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการ กระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล บุคคลผู้ เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ ปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่าง ใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่างๆ เป็นการกระทำ ให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล ฯ [๑๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ผู้ ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบ เหมือน สารีบุตรนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคต ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามโดยชอบทีเดียว ฯ
จบเอกปุคคลวรรค
เอตทัคคบาลี
[๑๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่าพวกภิกษุ สาวกของเราผู้รู้ราตรีนาน ฯ พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก ฯ พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์ ฯ พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงธุดงค์และ สรรเสริญคุณแห่งธุดงค์ ฯ พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุ ฯ พระภัททิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เกิดในตระกูล สูง ฯ พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีเสียงไพเราะ ฯ พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้บันลือสีหนาท ฯ พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นธรรมกถึก ฯ พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนกอรรถแห่งภาษิต โดยย่อให้พิสดาร ฯ
จบวรรคที่ ๑
[๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวก ของเราผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ ฯ พระจุลลปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงทางใจ ฯ พระมหาปันถกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในการเปลี่ยน แปลงทางปัญญา ฯ พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วยความไม่มี กิเลส ฯ พระสุภูติ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ฯ พระเรวตขทิรวนิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ฯ พระกังขาเรวตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ยินดีในฌาน ฯ พระโสณโกลิวิสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ปรารภความเพียร ฯ พระโสณกุฏิกัณณะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีถ้อยคำไพเราะ ฯ พระสีวลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีลาภ ฯ พระวักกลิ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้พ้นจากกิเลสได้ด้วยศรัทธา ฯ
จบวรรคที่ ๒
[๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระราหุล เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ ใคร่ต่อการศึกษา ฯ พระรัฐปาละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา ฯ พระกุณฑธานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รับสลากก่อน ฯ พระวังคีสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ ฯ พระอุปเสนวังคันตบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นำความเลื่อมใส มาโดยรอบ ฯ พระทัพพมัลลบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จัดแจงเสนาสนะ ฯ พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของเทวดาทั้งหลาย ฯ พระพาหิยทารุจีริยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ตรัสรู้ได้เร็วพลัน ฯ พระกุมารกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้แสดงธรรมได้ วิจิตร ฯ พระมหาโกฏฐิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ฯ
จบวรรคที่ ๓
[๑๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้เป็นพหูสูต ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีคติ ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีความเพียร ฯ พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นอุปัฏฐาก ฯ พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีบริษัทมาก ฯ พระกาฬุทายี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส ฯ พระพักกุละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีอาพาธน้อย ฯ พระโสภิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ระลึกชาติก่อนได้ ฯ พระอุบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย ฯ พระนันทกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนนางภิกษุณี ฯ พระนันทะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลาย ฯ พระมหากัปปินะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนภิกษุ ฯ พระสาคตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ฉลาดในเตโชธาตุ ฯ พระราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง ฯ พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ฯ
จบวรรคที่ ๔
[๑๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาปชาบดีโคตมีภิกษุณีเลิศกว่าพวก ภิกษุณีสาวิกาของเราผู้รู้ราตรีนาน ฯ พระเขมาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีปัญญามาก ฯ พระอุบลวัณณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีฤทธิ์ ฯ พระปฏาจาราภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงวินัย ฯ พระธัมมทินนาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้เป็นธรรม- *กถึก ฯ พระนันทาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ยินดีในฌาน ฯ พระโสณาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ปรารภความ เพียร ฯ พระสกุลาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้มีจักษุทิพย์ ฯ พระภัททากุณฑลเกสาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ตรัสรู้ ได้เร็วพลัน ฯ พระภัททากปิลานีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ระลึกชาติ ก่อนๆ ได้ ฯ พระภัททากัจจานาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ได้บรรลุ อภิญญาใหญ่ ฯ พระกีสาโคตมีภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้ทรงจีวรเศร้า หมอง ฯ พระสิคาลมาตาภิกษุณี เลิศกว่าพวกภิกษุณีสาวิกาของเราผู้พ้นจากกิเลส ได้ด้วยศรัทธา ฯ
จบวรรคที่ ๕
[๑๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อตปุสสะและภัลลิกะ เลิศกว่าพวก อุบาสกสาวกของเราผู้ถึงสรณะก่อน ฯ สุทัตตอนาถปิณฑิกคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ถวาย ทาน ฯ จิตตคฤหบดีชาวเมืองมัจฉิกสัณฑะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ เป็นธรรมกถึก ฯ หัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้สงเคราะห์ บริษัทด้วยสังคหวัตถุ ๔ ฯ เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ถวาย รสอันประณีต ฯ อุคคคฤหบดีชาวเมืองเวสาลี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้ถวาย โภชนะเป็นที่ชอบใจ ฯ อุคคคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้เป็นสังฆอุปัฏฐาก ฯ สูรัมพัฏฐเศรษฐีบุตร เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้เลื่อมใสอย่าง แน่นแฟ้น ฯ หมอชีวกโกมารภัจจ์ เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเรา ผู้เลื่อมใสใน บุคคล ฯ นกุลปิตาคฤหบดี เลิศกว่าพวกอุบาสกสาวกของเราผู้คุ้นเคย ฯ
จบวรรคที่ ๖
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางสุชาดาธิดาของเสนานีกุฎุมพี เลิศกว่า พวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถึงสรณะก่อน ฯ นางวิสาขามิคารมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถวายทาน ฯ นางขุชชุตตรา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็นพหูสูต ฯ นางสามาวดี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้มีปรกติอยู่ด้วยเมตตา ฯ นางอุตตรานันทมาตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ยินดีใน ฌาน ฯ นางสุปปวาสาโกลิยธีตา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ถวายรส อันประณีต ฯ นางสุปปิยาอุบาสิกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เป็นคิลานุ- *ปัฏฐาก ฯ นางกาติยานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้เลื่อมใสอย่างแน่น แฟ้น ฯ นางนกุลมาตาคหปตานี เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้คุ้นเคย ฯ นางกาฬีอุบาสิกาชาวกุรรฆริกา เลิศกว่าพวกอุบาสิกาสาวิกาของเราผู้ เลื่อมใสโดยได้ยินได้ฟังตาม ฯ
จบวรรคที่ ๗
-----------------------------------------------------
อัฏฐานบาลี
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสภาพเที่ยงนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารอะไรๆ โดยความเป็นสภาพ เที่ยงนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ สังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือสังขารไรๆ โดยความเป็นสุขนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ [๑๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงยึดถือ ธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึงยึดถือธรรมไรๆ โดยความเป็นตนนั้น เป็นฐานะ ที่จะมีได้ ฯ [๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงฆ่ามารดา นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึง ฆ่ามารดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงฆ่าบิดา นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนจะพึง ฆ่าบิดานั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิจะพึงฆ่าพระ- *อรหันต์นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชน จะพึงฆ่าพระอรหันต์นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงเป็นผู้มี จิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของพระตถาคตให้ห้อนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมี ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ปุถุชนพึงเป็นผู้มีจิตประทุษร้ายยังพระโลหิตของ พระตถาคตให้ห้อนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงทำลาย สงฆ์ให้แตกกัน มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ ปุถุชนจะพึงทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ จะพึงถือ ศาสดาอื่นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่ ปุถุชนจะพึงถือศาสดาอื่น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าสอง พระองค์ จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่ โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ เดียว จะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลกธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบวรรคที่ ๑
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิสองพระองค์ จะพึง เสด็จอุบัติขึ้นพร้อมกันในโลกธาตุเดียวกันนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์เดียวจะพึงเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ธาตุอันหนึ่งนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัม- *พุทธเจ้านั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุรุษ จะพึงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นพระเจ้าจักรพรรดินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุรุษจะพึงเป็น พระเจ้าจักรพรรดินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่สตรีจะพึงเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ จะพึงเป็น มาร ฯลฯ จะพึงเป็นพรหมนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ข้อที่บุรุษจะพึงเป็นท้าวสักกะ ฯลฯ จะพึงเป็นมาร ฯลฯ จะพึงเป็น พรหมนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งกายทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งวจีทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งวจีทุจริตจะพึงเกิดขึ้น นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบวรรคที่ ๒
[๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งมโนทุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งมโน ทุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งกายสุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งกาย สุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งวจีสุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งวจีสุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่วิบากอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ แห่งมโนสุจริต จะพึงเกิดขึ้นนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่วิบากอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ แห่งมโน สุจริตจะพึงเกิดขึ้นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยกาย ทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพรียบพร้อม ด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยกายทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพรียบพร้อมด้วยกายทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความเพรียบพร้อมด้วยวจีทุจริต เป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยวจีทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพรียบพร้อมด้วยวจีทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยมโน ทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์เพราะความเพรียบพร้อมด้วย มโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยมโนทุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึง เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพรียบพร้อมด้วยมโนทุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยกาย สุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความ เพรียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยกายสุจริต เมื่อแตกกาย ตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพรียบพร้อมด้วยกายสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความเพรียบพร้อม ด้วยวจีสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยวจีสุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึง เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพรียบพร้อมด้วยวจีสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัย นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ [๑๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุคคลผู้มีความเพรียบพร้อมด้วยมโน สุจริต เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะความ เพรียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะ มีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ข้อที่บุคคลผู้เพรียบพร้อมด้วยมโนสุจริต เมื่อแตกกาย ตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะความเพรียบพร้อมด้วยมโนสุจริตเป็นเหตุ เป็นปัจจัยนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฯ
จบวรรคที่ ๓
-----------------------------------------------------
เอกธัมมาทิบาลี อีกนัยหนึ่ง
[๑๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรม อย่างหนึ่งคืออะไร คือพุทธานุสสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ [๑๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อ ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ธรรม อย่างหนึ่งคืออะไร คือธัมมานุสสติ... สังฆานุสสติ... สีลานุสสติ... จาคานุสสติ... เทวตานุสสติ... อานาปานสติ... มรณสติ... กายคตาสติ... อุปสมานุสสติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อ ความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ
จบวรรคที่ ๑
[๑๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศล ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ [๑๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง จะเป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญ ไพบูลย์ยิ่ง ฯ [๑๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม เสื่อมไป เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มีความ เห็นผิด กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๑๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป เหมือนกับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มี ความเห็นชอบ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมเสื่อมไป ฯ [๑๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ยิ่งขึ้น เหมือนกับการทำในใจโดยไม่แยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล ทำในใจโดยไม่แยบคาย มิจฉาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และมิจฉาทิฐิที่เกิดขึ้น แล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ [๑๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น หรือสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญ ยิ่งขึ้น เหมือนการทำในใจโดยแยบคายนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำ ในใจโดยแยบคาย สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญยิ่งขึ้น ฯ [๑๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เหมือนกับมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย มิจฉาทิฐิ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๑๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เหมือน กับสัมมาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฐิ เมื่อ แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ [๑๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมล็ดสะเดาก็ดี เมล็ดบวบขมก็ดี เมล็ดน้ำเต้าขม ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไป เพื่อความเป็นของขม เพื่อเผ็ดร้อน เพื่อไม่น่ายินดี ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ พืชเลว ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นผิด ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเลวทราม ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ [๑๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็น ชอบ ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพันธุ์อ้อยก็ดี พันธุ์ข้าวสาลีก็ดี พันธุ์ผลจันทน์ก็ดี บุคคลหมกไว้ในดินที่ชุ่มชื้น รสดิน รสน้ำที่มันถือเอาทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นของหวาน น่ายินดี น่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชพันธุ์ดี ฉันใด กายกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ วจีกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ มโนกรรมที่สมาทานให้บริบูรณ์ตามทิฐิ ๑ เจตนา ๑ ความปรารถนา ๑ ความ ตั้งใจ ๑ สังขาร ๑ ของบุคคลผู้มีความเห็นชอบ ธรรมทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไป เพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฐิเจริญฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
จบวรรคที่ ๒
[๑๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อม เกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความ ฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือ บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฐิ มีความเห็นวิปริต เขาทำให้ คนเป็นอันมากออกจากสัทธรรมแล้ว ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความทุกข์ แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๑๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียว เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อม เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลคนเดียวคือใคร คือบุคคลผู้เป็นสัมมา ทิฐิ มีความเห็นไม่วิปริต เขาทำให้คนเป็นอันมากออกจากอสัทธรรมแล้ว ให้ตั้ง อยู่ในสัทธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลคนเดียวนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อม เกิดขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ หิตสุขแก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๑๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้ข้อหนึ่ง ซึ่ง จะมีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฐินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฐิ เป็นอย่างยิ่ง ฯ [๑๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้คนเดียว ที่ปฏิบัติ เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็นความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความฉิบหาย มิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์แก่เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลาย เหมือนกับ โมฆบุรุษชื่อว่ามักขลินี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลพึงทิ้งลอบไป ที่ปากอ่าว เพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ เพื่อความเสื่อม ความ พินาศแก่ปลาเป็นมาก แม้ฉันใด โมฆบุรุษชื่อว่ามักขลิก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เป็นดังลอบสำหรับดักมนุษย์ เกิดขึ้นแล้วในโลก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ ความทุกข์ เพื่อความเสื่อม เพื่อความพินาศแก่สัตว์เป็นอันมาก ฯ [๑๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ๑ ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบ กรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ [๑๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ชักชวนเข้าในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ๑ ผู้ที่ถูกชักชวนแล้วปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ๑ คนทั้งหมดนั้น ย่อมประสบ บุญเป็นอันมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ [๑๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทายกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ ชั่ว ปฏิคาหกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าว ไว้ชั่ว ฯ [๑๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิคาหกพึงรู้จักประมาณในธรรมวินัยที่ กล่าวไว้ดี ทายกไม่จำต้องรู้จักประมาณ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่าน กล่าวไว้ดีแล้ว ฯ [๑๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่ปรารภความเพียรในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ชั่ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ชั่ว ฯ [๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้เกียจคร้านในธรรมวินัยที่กล่าวไว้ดี ย่อม อยู่เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะธรรมท่านกล่าวไว้ดีแล้ว ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖-๙๙๑ หน้าที่ ๑-๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6&Z=991&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=1&items=599&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=1&items=599              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=1&items=599&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=1&items=599&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :