ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

หน้าที่ ๖๘.

[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่น แสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คน ที่รับรองตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก นี้แล ฯ [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนเจ้าโทสะซึ่งมีโทษอยู่ภายใน ๑ คนที่เชื่อโดยถือผิด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ฯ [๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคต ได้ภาษิตไว้ ได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคต มิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อม กล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ว่า ตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้ ๑ คนที่แสดงสิ่งที่ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ว่า ตถาคตภาษิตไว้ ตรัสไว้ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่ กล่าวตู่ตถาคต ฯ [๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ- *สุตตันตะมีอรรถนำไปแล้ว ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมกล่าวตู่ตถาคต ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้ ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถจะพึงนำไปว่า พระ-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๖๙.

สุตตันตะมีอรรถที่จะพึงนำไป ๑ คนที่แสดงพระสุตตันตะที่มีอรรถอันนำไปแล้วว่า พระสุตตันตะมีอรรถอันนำไปแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จำพวกนี้แล ย่อมไม่กล่าวตู่ตถาคต ฯ [๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานลามกพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือเทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันผู้มีการงานไม่ลามกพึงหวัง ได้ ฯ [๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนมิจฉาทิฐิพึงหวังได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คติ ๒ อย่าง คือ เทวดาหรือมนุษย์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันคนสัมมาทิฐิพึงหวังได้ ฯ [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนทุศีลมี ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ต้อนรับคนมีศีล ๒ อย่าง คือ มนุษย์หรือเทวดา ฯ [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราพิจารณาเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการ จึงเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว อำนาจประโยชน์ ๒ ประการ เป็นไฉน คือ เห็นการอยู่สบายในปัจจุบันของตน ๑ อนุเคราะห์หมู่ชนใน ภายหลัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึง เสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่าและป่าเปลี่ยว ฯ [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมถะ ที่ภิกษุเจริญแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมอบรมจิต จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละราคะได้ วิปัสสนาที่อบรมแล้วย่อมเสวย ประโยชน์อะไร ย่อมอบรมปัญญา ปัญญาที่อบรมแล้ว ย่อมเสวยประโยชน์อะไร ย่อมละอวิชชาได้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๐.

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ
จบพาลวรรคที่ ๓
[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคน อกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคน อกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษ ย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิ สัตบุรุษ ฯ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตร พึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดิน ใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๑.

บุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ มารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตร คนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้ สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นใน ปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ [๒๗๙] ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม มีวาทะว่าอย่างไร กล่าวว่าอย่างไร พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เรามีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำ ฯ พ. ท่านพระโคดม มีวาทะว่าควรทำ และมีวาทะว่าไม่ควรทำอย่างไร ฯ ภ. ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่า ไม่ควรทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เรากล่าวว่า ไม่ควรทำอกุศลธรรมอันลามกหลายอย่าง และเรากล่าว ว่า ควรทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต เรากล่าวว่า ควรทำกุศลธรรม หลายอย่าง ดูกรพราหมณ์ เรากล่าวว่าควรทำและกล่าวว่าไม่ควรทำอย่างนี้แล ฯ พ. ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ... ขอท่าน พระโคดมจงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป ฯ [๒๘๐] ครั้งนั้นแล อนาถบิณฑิกคฤหบดี ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในโลกมีทักขิไณยบุคคลกี่ จำพวก และควรให้ทานในเขตไหน พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรคฤหบดี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๒.

ในโลกมีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวก คือ พระเสขะ ๑ พระอเสขะ ๑ ดูกร คฤหบดี ในโลกนี้มีทักขิไณยบุคคล ๒ จำพวกนี้แล และควรให้ทานในเขตนี้ ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึง ได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกในภายหลังว่า "ในโลกนี้ พระเสขะกับพระอเสขะเป็นผู้ควรแก่ทักษิณา ของทายกผู้บูชาอยู่ พระเสขะและอเสขะเหล่านั้นเป็นผู้ตรง ทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นี้เป็นเขตบุญของทายก ผู้บูชาอยู่ ทานที่ให้แล้วในเขตนี้มีผลมาก" ฯ [๒๘๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถีสมัยนั้นแล ท่านพระ สารีบุตรอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขา มิคารมารดาในบุพพาราม ใกล้พระนคร สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรผู้มีอายุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราจักแสดงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มี สังโยชน์ในภายนอก ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีสังโยชน์ในภายในเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยใน โทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย เมื่อแตกกายตายไป ภิกษุนั้นย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่าบุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายใน เป็นอาคามี กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอกเป็นไฉน ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วในพระปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๓.

อาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน สิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมบรรลุเจโตวิมุติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อแตก กายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น อนาคามีไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ นี้เรียกว่า บุคคลผู้มีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมแล้วใน ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียง เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมปฏิบัติเพื่อความ หน่าย เพื่อคลาย เพื่อความดับกามทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อความหน่าย เพื่อ คลาย เพื่อความดับภพทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติเพื่อสิ้นตัณหา เพื่อสิ้นความโลภ ภิกษุนั้นเมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงหมู่เทพหมู่ใดหมู่หนึ่ง ครั้นจุติจากอัตภาพ นั้นแล้ว เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้เช่นนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย นี้เรียกว่า บุคคลมีสังโยชน์ในภายนอก เป็นอนาคามี ไม่กลับมาสู่ความเป็นผู้ เช่นนี้ ฯ ครั้งนั้นแล เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรนั่น กำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงทรง พระกรุณา เสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่เถิด พระผู้มีพระภาคทรงรับคำ อาราธนาด้วยดุษณีภาพ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระเชตวันวิหาร ไปปรากฏเฉพาะหน้าท่านพระสารีบุตร ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมารดาใน บุพพาราม เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น พระผู้มี-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๔.

*พระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ท่านพระสารีบุตรก็ได้ถวายบังคมพระ ผู้มีพระภาค แล้วนั่งลง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคได้ตรัส กะท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรสารีบุตร เทวดาที่มีจิตเสมอกันมากองค์เข้าไปหาเรา จนถึงที่อยู่ ไหว้เราแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วบอกว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกำลังเทศนาถึงบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายใน และบุคคลที่มีสังโยชน์ในภายนอก แก่ภิกษุทั้งหลาย อยู่ที่ปราสาทของนาง วิสาขามิคารมารดาในบุพพาราม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บริษัทร่าเริง ขอประทาน พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงพระกรุณาเสด็จไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึง ที่อยู่เถิด ดูกรสารีบุตร ก็เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็กแหลม จดลง ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ องค์บ้าง ๓๐ องค์บ้าง ๔๐ องค์บ้าง ๕๐ องค์บ้าง ๖๐ องค์บ้าง แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน ดูกรสารีบุตร ก็เธอพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ... ๖๐ องค์บ้าง เป็นจิตอันเทวดาเหล่านั้นอบรมแล้ว ในภพนั้นแน่นอน ดูกรสารีบุตร ก็ข้อนั้นเธอไม่ควรเห็นเช่นนี้ ดูกรสารีบุตร ก็จิตอย่างนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาเหล่านั้นยืนอยู่ได้ในโอกาสแม้เท่าปลายเหล็ก แหลมจดลง ๑๐ องค์บ้าง ฯลฯ แต่ก็ไม่เบียดกันและกัน เทวดาเหล่านั้นได้อบรม แล้วในศาสนานี้เอง เพราะฉะนั้นแหละสารีบุตร เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเป็น ผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับอยู่ เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ สารีบุตร กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมของผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจระงับ จักสงบระงับ เพราะฉะนั้น แหละ สารีบุตร เธอพึงศึกษาว่า จักนำกายและจิตที่สงบระงับแล้วเท่านั้นเข้าไป ในพรหมจารีทั้งหลาย ดูกรสารีบุตร เธอควรศึกษาเช่นนี้แหละ ดูกรสารีบุตร พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกที่ไม่ได้ฟังธรรมบรรยายนี้ ได้พากันฉิบหายเสียแล้ว ฯ [๒๘๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกัททมทหะ ใกล้พระนครวรรณะ ครั้งนั้นแล พราหมณ์อารามทัณฑะได้เข้าไปหาท่านพระมหา-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๕.

*กัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่าน กัจจานะ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย เครื่องให้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์ กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหากามราคะ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ กำหนัดยินดีในกาม ราคะ ถูกกามราคะกลุ้มรุม และถูกกามราคะท่วมทับ แม้กษัตริย์กับกษัตริย์ พราหมณ์กับพราหมณ์ คฤหบดีกับคฤหบดี วิวาทกัน ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัย เครื่องให้สมณะ กับสมณะวิวาทกัน ฯ มหา. ดูกรพราหมณ์ เพราะเหตุเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ ตกอยู่ใน อำนาจทิฐิราคะ กำหนัดยินดีในทิฐิราคะ ถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และถูกทิฐิราคะ ท่วมทับ แม้สมณะกับสมณะก็วิวาทกัน ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ก็ในโลก ยังจะมีใครบ้างไหม ที่ก้าวล่วงการ เวียนเข้าไปหากามราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกาม- *ราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้ และก้าวล่วงการ เวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้เสียได้ ฯ มหา. ดูกรพราหมณ์ ในโลก มีท่านที่ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากาม- *ราคะ การตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกาม- *ราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้เสียได้ และก้าวล่วงความเวียนเข้าไป หาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิ- *ราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ ฯ อา. ดูกรท่านกัจจานะ ใครในโลกเป็นผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากาม- *ราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๖.

มหา. ดูกรพราหมณ์ ในชนบทด้านทิศบูรพา มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี ณ พระนครสาวัตถีนั้นทุกวันนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ นั้นกำลังประทับอยู่ ดูกรพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงก้าวล่วง การเวียนเข้าไปหากามราคะ ... และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย เมื่อท่านพระมหากัจจานะตอบอย่างนี้แล้ว พราหมณ์อารามทัณฑะลุกจาก ที่นั่ง ห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้ว คุกมณฑลเข่าข้างขวาลงบนแผ่นดิน ประนม อัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้วเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มี- *พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหากามราคะ การ ตกอยู่ในอำนาจกามราคะ การกำหนัดยินดีในกามราคะ การถูกกามราคะกลุ้มรุม และการถูกกามราคะท่วมทับนี้แล้ว กับทั้งได้ก้าวล่วงการเวียนเข้าไปหาทิฐิราคะ การตกอยู่ในอำนาจทิฐิราคะ การกำหนัดยินดีในทิฐิราคะ การถูกทิฐิราคะกลุ้มรุม และการถูกทิฐิราคะท่วมทับนี้ด้วย ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านกัจจานะประกาศธรรมโดย อเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลง ทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่าคนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่าน กัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและ พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง สรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ [๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจานะอยู่ที่ป่าคุนทาวัน ใกล้เมือง มธุรา ครั้งนั้นแล พราหมณ์กัณฑรายนะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ ได้ ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านกัจจานะ ข้าพเจ้าได้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๗.

ฟังมาดังนี้ว่า ท่านสมณะกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ที่ชรา แก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ ข่าวที่ได้ ฟังมานั้นจริงแท้ เพราะท่านกัจจานะหาอภิวาท ลุกขึ้นต้อนรับพวกพราหมณ์ที่ชรา แก่เฒ่าล่วงกาลผ่านวัย หรือเชื้อเชิญด้วยอาสนะไม่ ดูกรท่านกัจจานะ การ กระทำเช่นนี้นั้นเป็นการไม่สมควรแท้ ฯ ท่านมหากัจจานะตอบว่า ดูกรพราหมณ์ ภูมิคนแก่และภูมิเด็ก ที่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงรู้ทรงเห็นพระองค์นั้นตรัสไว้มีอยู่ ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้จะเป็นคนแก่มีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่กำเนิด ก็ดี แต่เขายังบริโภคกาม อยู่ในท่ามกลางกาม ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ถูกกามวิตกเคี้ยวกินอยู่ ยังเป็นผู้ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับ ว่าเป็นพาล ไม่ใช่เถระโดยแท้ ดูกรพราหมณ์ ถึงแม้ว่าจะเป็นเด็กยังเป็นหนุ่ม มีผมดำสนิท ประกอบด้วยความเป็นหนุ่มอันเจริญ ยังตั้งอยู่ในปฐมวัย แต่เขาไม่ บริโภคกาม ไม่อยู่ในท่ามกลางกาม ไม่ถูกความเร่าร้อนเพราะกามแผดเผา ไม่ถูก กามวิตกเคี้ยวกิน ไม่ขวนขวายเพื่อแสวงหากาม เขาก็ย่อมถึงการนับว่าเป็นบัณฑิต เป็นเถระแน่แท้ทีเดียวแล ทราบว่า เมื่อท่านพระมหากัจจานะกล่าวอย่างนี้แล้ว พราหมณ์กัณฑรายนะ ได้ลุกจากที่นั่งแล้วห่มผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ไหว้เท้าของภิกษุที่หนุ่มด้วยเศียรเกล้า กล่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าแก่ ตั้งอยู่แล้วในภูมิคนแก่ เรายังเด็ก ตั้งอยู่ในภูมิเด็ก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัจจานะ ภาษิต ของท่านแจ่มแจ้งนัก ท่านพระกัจจานะประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่อง ประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่ท่านกัจจานะ ข้าพเจ้านี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญพระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ ขอท่านพระกัจจานะจงจำข้าพเจ้าว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๘.

[๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด พวกโจรมีกำลัง สมัยนั้นพระเจ้า- *แผ่นดินย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อม ไม่สะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือจะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้พวกพราหมณ์และคฤหบดีก็ไม่สะดวกที่จะผ่านไป จะออกไป หรือเพื่อตรวจตราการงานภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุเลวทรามมีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รักย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น ภิกษุพวกที่มีศีลเป็นที่รัก เป็นผู้นิ่งเงียบ ทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือคบชนบทชายแดน ข้อนี้นั้นย่อมเป็นไปเพื่อ มิใช่ประโยชน์ของชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อ มิใช่ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สมัยใด พระเจ้าแผ่นดินมีกำลัง สมัยนั้น พวกโจรย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พระเจ้าแผ่นดินย่อมสะดวกที่จะเสด็จผ่านไป เสด็จออกไป หรือที่จะออกคำสั่งไปยังชนบทชายแดน ในสมัยเช่นนั้น แม้ พวกพราหมณ์และคฤหบดีย่อมสะดวกที่จะไป ออกไป หรือตรวจการงานภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สมัยใด พวกภิกษุที่มีศีลเป็นที่รัก มีกำลัง สมัยนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม ย่อมถอยกำลัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยเช่นนั้น พวกภิกษุที่เลวทราม เป็นผู้นิ่งเงียบทีเดียว นั่งในท่ามกลางสงฆ์ หรือออกไป ทางใดทางหนึ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความ สุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่สรรเสริญความปฏิบัติผิดของคน ๒ จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิต ปฏิบัติผิดแล้ว ย่อมไม่ยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จก็ได้ เพราะการปฏิบัติผิด เป็นเหตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราสรรเสริญความปฏิบัติชอบของคน ๒ จำพวก คือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๗๙.

คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์หรือบรรพชิตปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมยังกุศลธรรมที่นำออกให้สำเร็จได้ เพราะการปฏิบัติชอบเป็นเหตุ ฯ [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่ห้ามอรรถและธรรมโดยสูตรซึ่ง ตนเรียนไว้ไม่ดี ด้วยพยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อมิใช่ประโยชน์ของ ชนมาก เพื่อมิใช่สุขของชนมาก เพื่อความฉิบหาย เพื่อมิใช่ประโยชน์แก่ชน เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังจะ ประสพบาปเป็นอันมาก และทั้งชื่อว่าทำสัทธรรมนี้ให้อันตรธานไปอีกด้วย ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่อนุโลมอรรถและธรรม โดยสูตรซึ่งตนเรียนไว้ดี ด้วย พยัญชนะปฏิรูปนั้น ชื่อว่าปฏิบัติแล้วเพื่อประโยชน์ของชนมาก เพื่อความสุขของ ชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุพวกนั้นยังประสพบุญเป็นอัน มาก ทั้งชื่อว่าดำรงสัทธรรมนี้ไว้อีกด้วย ฯ
จบสมจิตตวรรคที่ ๔
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทตื้น ๑ บริษัทลึก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทตื้นเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุฟุ้งซ่านเชิดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวม อินทรีย์ บริษัทเช่นนี้เรียกว่าบริษัทตื้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทลึกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เชิดตัว มีจิต ไม่กวัดแกว่ง ปากไม่กล้า ไม่พูดจาอื้อฉาว ดำรงสติมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจ ตั้งมั่น มีจิตเป็นเอกัคคตา สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทลึก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ ฯ [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่แยกออกเป็นพวก ๑ บริษัทที่สามัคคีกัน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๐.

แยกออกเป็นพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุ หมายมั่นทะเลาะวิวาทกัน ต่างเอาหอก คือปากทิ่มแทงกันและกันอยู่ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่แยกกันเป็นพวก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่สามัคคีกันเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุพร้อมเพรียงกัน ชื่นชมกัน ไม่วิวาทกัน เป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ ต่างมองดูกันและกันด้วยนัยน์ตาเป็นที่รักอยู่ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่สามัคคีกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่สามัคคีกันเป็นเลิศ ฯ [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ไม่มีอัครบุคคล ๑ บริษัทที่มีอัครบุคคล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ไม่ มีอัครบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุ เถระเป็นคนมักมาก เป็นคนย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้ง ธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างถือเอา ภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้นก็เป็นผู้มักมาก ย่อหย่อน เป็น หัวหน้าในการก้าวไปสู่ทางต่ำ ทอดทิ้งธุระในปวิเวก ไม่ปรารภความเพียรเพื่อ ถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทไม่มีอัครบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ใดในธรรมวินัยนี้ มีพวกภิกษุเถระเป็นคนไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระ ในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้าในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้ แจ้ง ประชุมชนภายหลังต่างถือเอาภิกษุเถระเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ถึงประชุมชนนั้น ก็เป็นผู้ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดทิ้งธุระในการก้าวไปสู่ทางต่ำ เป็นหัวหน้า ในปวิเวก ปรารภความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๑.

บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท เช่นนี้ เรียกว่าบริษัทมีอัครบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่มีอัครบุคคลเป็นเลิศ ฯ [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่มิใช่อริยะ ๑ บริษัทที่เป็นอริยะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่มิใช่ อริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตาม เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความ ดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทที่มิใช่อริยะ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็บริษัทที่เป็นอริยะเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดใน ธรรมวินัยนี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้เรียกว่า บริษัทที่ เป็นอริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เป็นอริยะเป็นเลิศ ฯ [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทหยากเยื่อ ๑ บริษัทใสสะอาด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทหยากเยื่อเป็น ไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัท หยากเยื่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทใสสะอาดเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทเช่นนี้ เรียกว่าบริษัทใสสะอาด ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทใส สะอาดเป็นเลิศ ฯ [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๒.

ไม่ดื้อด้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ เป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิต ไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่า นั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้ รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวก ได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้น เรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้ อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการ สอบถามแนะนำ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อ ด้านเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวก- *ภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่น กล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุต ด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุ เหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้ อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำ อรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย หลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถาม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๓.

แนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อ ด้าน เป็นเลิศ ฯ [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ๑ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนัก ในอามิส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม เป็นไฉน ภิกษุบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างสรรเสริญคุณของกันและกันต่อหน้า คฤหัสถ์ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้นเป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้น เป็นธรรมานุสารี รูปโน้นเป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้น ทุศีล มีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้ว ต่างก็กำหนัด ยินดี หมกมุ่น ไม่เห็นโทษ ไร้ปัญญาเป็นเหตุออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในอามิส ไม่หนักในสัทธรรม ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นไฉน ภิกษุใน บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ต่างไม่พูดสรรเสริญคุณของกันและกัน ต่อหน้าคฤหัสถ์ ผู้นุ่งห่มผ้าขาวว่า ภิกษุรูปโน้นเป็นอุภโตภาควิมุต รูปโน้นเป็นปัญญาวิมุต รูปโน้น เป็นกายสักขี รูปโน้นเป็นทิฏฐิปัตตะ รูปโน้นเป็นสัทธาวิมุต รูปโน้น เป็นธรรมานุสารี เป็นสัทธานุสารี รูปโน้นมีศีล มีกัลยาณธรรม รูปโน้นทุศีล มีธรรมเลวทราม เธอต่างได้ลาภด้วยเหตุนั้น ครั้นได้แล้วก็ไม่กำหนัด ไม่ยินดี ไม่หมกมุ่น มักเห็นโทษ มีปัญญาเป็นเหตุออกไปจากภพบริโภคอยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิส ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่หนักในสัทธรรม ไม่หนักในอามิสเป็นเลิศ ฯ [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทไม่เรียบร้อย ๑ บริษัทเรียบร้อย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทไม่เรียบร้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๔.

เป็นไฉน ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมฝ่ายอธรรมเป็นไป กรรมฝ่ายธรรมไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมฝ่ายอธรรม รุ่งเรือง กรรมฝ่ายธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยไม่ รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทไม่เรียบร้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะบริษัทเป็นผู้ไม่เรียบร้อย กรรมฝ่ายอธรรมจึงเป็นไป กรรมฝ่ายธรรมจึงไม่ เป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงเป็นไป กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่เป็นไป กรรมฝ่าย อธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมที่เป็นธรรมจึงไม่รุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงรุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงไม่รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทเรียบร้อยเป็นไฉน ใน บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ กรรมฝ่ายธรรมเป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมไม่เป็นไป กรรม ที่เป็นวินัยเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมรุ่งเรือง กรรม ฝ่ายอธรรมไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยไม่รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทเรียบร้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ บริษัทเรียบร้อย กรรมฝ่ายธรรมจึงเป็นไป กรรมฝ่ายอธรรมจึงไม่เป็นไป กรรมที่ เป็นวินัยจึงเป็นไป กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงไม่เป็นไป กรรมฝ่ายธรรมจึงรุ่งเรือง กรรมฝ่ายอธรรมจึงไม่รุ่งเรือง กรรมที่เป็นวินัยจึงรุ่งเรือง กรรมที่ไม่เป็นวินัยจึงไม่ รุ่งเรือง ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดา บริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่เรียบร้อยเป็นเลิศ ฯ [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ไร้ธรรม ๑ บริษัทที่ประกอบด้วยธรรม ๑ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ ประกอบด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ [๒๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ อธรรมวาทีบริษัท ๑ ธรรมวาทีบริษัท ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรมวาที บริษัทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๕.

ถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์ นั้นแล้ว ไม่ยังกันและกันให้ยินยอม ไม่เข้าถึงความตกลงกัน ไม่ยังกันและกัน ให้เพ่งโทษตน และไม่เข้าถึงการเพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมีการไม่ตกลงกันเป็น กำลัง มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิดไม่สละคืน ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นแหละด้วย กำลัง ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "อธรรมวาทีบริษัท" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ก็ตาม ภิกษุเหล่านั้นครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ยังกันและกันให้ยินยอม เข้าถึง ความตกลงกัน ยังกันและกันให้เพ่งโทษ เข้าถึงการเพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมี ความตกลงกันเป็นกำลัง มีการเพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิดสละคืน ไม่ยึดมั่น อธิกรณ์นั้นด้วยกำลัง ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "ธรรมวาทีบริษัท" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ ธรรมวาที บริษัทเป็นเลิศ ฯ
จบปริสวรรคที่ ๕
จบปฐมปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๖.

ทุติยปัณณาสก์
[๒๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ๒ จำ พวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูลของชนมาก เพื่อสุขของชนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูลแก่ ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ [๒๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ฯ [๒๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้ เป็นความ เดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ของ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล ๒ จำพวกนี้แล เป็นความเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก ฯ [๓๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ถูปารหบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็น ไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พระพุทธเจ้า ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๗.

พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ช้างอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ ม้าอาชาไนย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้ เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ๒ จำ พวกเป็นไฉน คือ พระภิกษุขีณาสพ ๑ สีหมฤคราช ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๒ จำพวกนี้แล เมื่อฟ้าผ่าย่อมไม่สะดุ้ง ฯ [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑ เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์ ฯ [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการ ทำกาลกิริยา ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ การเสพเมถุนธรรม ๑ การคลอด บุตร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มาตุคามไม่อิ่ม ไม่ระอาต่อธรรม ๒ ประการนี้แล ทำกาลกิริยา ฯ [๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอยู่ร่วมของอสัตบุรุษ ๑ การอยู่ร่วมของสัตบุรุษ ๑ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เรา จักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ก็การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นอย่างไร และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึง ภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึง ภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุ ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๘.

ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เรา พึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้หากภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็ พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว เรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง แม้เรา เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะ จะพึงว่ากล่าวเรา ไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่า กล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะ เห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่มัชฌิมะก็คิดอย่างนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่ นวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็ไม่ ควรว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็ไม่ควรว่ากล่าวเรา แม้เราก็ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุที่ เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ก็ ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่ ปรารถนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า จักไม่ทำละ ดังนี้ แม้เราก็ พึงเบียดเบียนเขาบ้าง เราแม้จะเห็นอยู่ ก็ไม่พึงทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้ง- *หลาย การอยู่ร่วมของอสัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และอสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของสัตบุรุษเป็นอย่างไร และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วม อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เป็นเถระในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุ ที่เป็นเถระก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็น นวกะก็พึงว่ากล่าวเรา แม้เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาสิ่งที่ เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๘๙.

เขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตาม ถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็น นวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ไม่พึง เบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา แม้ภิกษุที่เป็นมัชฌิมะ ก็คิดเช่นนี้ ฯลฯ แม้ภิกษุที่เป็นนวกะก็คิดเช่นนี้ว่า ถึงภิกษุที่เป็นเถระก็พึงว่า กล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นมัชฌิมะก็พึงว่ากล่าวเรา ถึงภิกษุที่เป็นนวกะก็พึงว่า กล่าวเรา เราก็พึงว่ากล่าวภิกษุที่เป็นเถระ ที่เป็นมัชฌิมะ ภิกษุที่เป็นนวกะ ถ้าแม้ ภิกษุที่เป็นเถระจะพึงว่ากล่าวเรา ก็พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ปรารถนา สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าวเรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราก็ ไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้เห็นอยู่ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ถ้าแม้ภิกษุที่ เป็นมัชฌิมะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ... ถ้าแม้ภิกษุที่เป็นนวกะจะพึงว่ากล่าวเราไซร้ ก็ พึงปรารถนาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ไม่ใช่ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ว่ากล่าว เรา เราพึงพูดกะเขาว่า ดีละ ดังนี้ แม้เราไม่พึงเบียดเบียนเขา เราแม้ เห็นอยู่ ก็ควรทำตามถ้อยคำของเขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยู่ร่วมของ สัตบุรุษเป็นเช่นนี้แล และสัตบุรุษย่อมอยู่ร่วมเช่นนี้ ฯ [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความ แข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบ ระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็น อธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็งร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก ฯ
จบปุคคลวรรคที่ ๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๐.

[๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ของคฤหัสถ์ ๑ สุขเกิดแต่บรรพชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดแต่บรรพชาเป็นเลิศ ฯ [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กามสุข ๑ เนกขัมมสุข ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เนกขัมมสุขเป็นเลิศ ฯ [๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข เจือกิเลส ๑ สุขไม่เจือกิเลส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่เจือกิเลสเป็นเลิศ ฯ [๓๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข มีอาสวะ ๑ สุขไม่มีอาสวะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่มีอาสวะเป็นเลิศ ฯ [๓๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข อิงอามิส ๑ สุขไม่อิงอามิส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขไม่อิงอามิสเป็นเลิศ ฯ [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ของพระอริยเจ้า ๑ สุขของปุถุชน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขของพระอริยเจ้าเป็นเลิศ ฯ [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ เจตสิกสุขเป็นเลิศ ฯ [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข อันเกิดแต่ฌานที่ยังมีปีติ ๑ สุขอันเกิดแต่ฌานที่ไม่มีปีติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขอันเกิดแต่ฌาน ไม่มีปีติเป็นเลิศ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๑.

[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข เกิดแต่ความยินดี ๑ สุขเกิดแต่ความวางเฉย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิดจากการวางเฉย เป็นเลิศ ฯ [๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ที่ถึงสมาธิ ๑ สุขที่ไม่ถึงสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ถึงสมาธิเป็นเลิศ ฯ [๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข เกิดแต่ฌานมีปีติเป็นอารมณ์ ๑ สุขเกิดแต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขเกิด แต่ฌานไม่มีปีติเป็นอารมณ์เป็นเลิศ ฯ [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ที่มีความยินดีเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่มีความวางเฉยเป็นอารมณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่มีความวางเฉย เป็นอารมณ์เป็นเลิศ ฯ [๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุข ที่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สุข ๒ อย่าง นี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสุข ๒ อย่างนี้ สุขที่ไม่มีรูปเป็นอารมณ์ เป็นเลิศ ฯ
จบสุขวรรคที่ ๒
[๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิมิตจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิมิตไม่เกิดขึ้น เพราะละนิมิตนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๒.

[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีนิทานจึงเกิดขึ้น ไม่มีนิทานไม่เกิดขึ้น เพราะละนิทานนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเหตุจึงเกิดขึ้น ไม่มีเหตุไม่เกิดขึ้น เพราะละเหตุนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเครื่องปรุง จึงเกิดขึ้น ไม่มีเครื่องปรุงไม่เกิดขึ้น เพราะละเครื่องปรุงนั้นเสีย ธรรมที่เป็น บาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีปัจจัยจึงเกิดขึ้น ไม่มีปัจจัยไม่เกิดขึ้น เพราะละปัจจัยนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีรูปจึงเกิดขึ้น ไม่ มีรูปไม่เกิดขึ้น เพราะละรูปนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วย ประการดังนี้ ฯ [๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีเวทนาจึงเกิดขึ้น ไม่มีเวทนาไม่เกิดขึ้น เพราะละเวทนานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสัญญาจึงเกิดขึ้น ไม่มีสัญญาไม่เกิดขึ้น เพราะละสัญญานั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึง ไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ [๓๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีวิญญาณจึงเกิด ขึ้น ไม่มีวิญญาณไม่เกิดขึ้น เพราะละวิญญาณนั้นเสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๓.

[๓๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เป็นบาปอกุศล มีสังขตธรรมเป็น อารมณ์จึงเกิดขึ้น ไม่มีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ไม่เกิดขึ้น เพราะละสังขตธรรมนั้น เสีย ธรรมที่เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นจึงไม่มี ด้วยประการดังนี้ ฯ
จบสนิมิตตวรรคที่ ๓
[๓๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เจโตวิมุติ ๑ ปัญญาวิมุติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเพียร ๑ ความไม่ฟุ้งซ่าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ นาม ๑ รูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ วิชชา ๑ วิมุตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ภวทิฏฐิ ๑ วิภวทิฏฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๓๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนว่าง่าย ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๔.

[๓๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในธาตุ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในอาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบธรรมวรรคที่ ๔
[๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่มาถึงไป ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่นำภาระที่มาถึงไป ๑ คนที่ไม่นำเอาภาระที่ยังไม่มาถึงไป ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ คนที่เข้าใจว่าควรในของที่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติใน ข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติใน ข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๕.

[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมใน ข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นธรรมใน ข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อ ที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ คนที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ คนที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่ไม่รังเกียจสิ่งที่ไม่น่ารังเกียจ ๑ ผู้ที่รังเกียจสิ่งที่น่ารังเกียจ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่ควรในของที่ไม่ควร ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าควร ในของที่ควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๖.

เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็น อาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก นี้แล ฯ [๓๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นอาบัติในข้อที่ไม่เป็นอาบัติ ๑ ผู้ที่ เข้าใจว่าเป็นอาบัติในข้อที่เป็นอาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญ แก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็น ธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก นี้แล ฯ [๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นธรรมในข้อที่ไม่เป็นธรรม ๑ ผู้ที่เข้าใจ ว่าเป็นธรรมในข้อที่เป็นธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัย ในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมเจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ [๓๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ ผู้ที่เข้าใจว่าไม่เป็นวินัยในข้อที่ไม่เป็นวินัย ๑ ผู้ที่เข้าใจ ว่าเป็นวินัยในข้อที่เป็นวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะย่อมไม่เจริญแก่คน ๒ จำพวกนี้แล ฯ
จบพาลวรรคที่ ๕
จบทุติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๗.

ตติยปัณณาสก์
[๓๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้ละได้ยาก ๒ อย่างเป็น ไฉน คือ ความหวังในลาภ ๑ ความหวังในชีวิต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหวัง ๒ อย่างนี้แลละได้ยาก ฯ [๓๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุพพการีบุคคล ๑ กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก ฯ [๓๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้หาได้ยากในโลก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ คนที่พอใจ ๑ คนที่อิ่มหนำ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลหาได้ยากในโลก ฯ [๓๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ยาก ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลผู้เก็บสิ่งที่ได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้สละสิ่งที่ได้แล้วๆ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ยาก ฯ [๓๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้ให้อิ่มได้ง่าย ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ บุคคลผู้ไม่เก็บสิ่งที่ตนได้ไว้แล้วๆ ๑ บุคคลผู้ไม่สละสิ่งที่ตนได้ แล้วๆ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๒ จำพวกนี้แลให้อิ่มได้ง่าย ฯ [๓๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สุภนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งราคะ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ปฏิฆนิมิต ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งโทสะ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฐิ ๒ อย่าง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๘.

นี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ อโยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งมิจฉาทิฐิ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การโฆษณาแต่บุคคลอื่น ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฐิ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ลหุกาบัติ ๑ ครุกาบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติชั่วหยาบ ๑ อาบัติไม่ชั่วหยาบ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อาบัติที่มีส่วนเหลือ ๑ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาบัติ ๒ อย่าง นี้แล ฯ
จบอาสาวรรคที่ ๑
[๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึง อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุ สาวกของเรา ฯ [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมาและอุบลวัณณาเถิด ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวัณณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกา ของเรา ฯ [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมือง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๙.

อาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล ฯ [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันท- *มารดาเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกาสาวิกาของเรา ฯ [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัต- *บุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบ บาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๐.

ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่ เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่ เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติ ผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็น อันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน บุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มี โทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก ทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๑.

[๓๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติ ผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหาร ตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑ การไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การกำจัดความโกรธ ๑ การกำจัดความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบอายาจนวรรคที่ ๒
[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๒.

[๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็น เลิศ ฯ [๓๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสละอามิส ๑ การสละธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสละ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสละ ๒ อย่างนี้ การสละธรรมเป็นเลิศ ฯ [๓๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริจาคอามิส ๑ การบริจาคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริจาค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริจาค ๒ อย่างนี้ การบริจาคธรรม เป็นเลิศ ฯ [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การบริโภคอามิส ๑ การบริโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบริโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบริโภค ๒ อย่างนี้ การบริโภคธรรม เป็นเลิศ ฯ [๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสมโภคอามิส ๑ การสมโภคธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสมโภค ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสมโภค ๒ อย่างนี้ การสมโภคธรรม เป็นเลิศ ฯ [๓๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การจำแนกอามิส ๑ การจำแนกธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การจำแนก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการจำแนก ๒ อย่างนี้ การจำแนกธรรม เป็นเลิศ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๓.

[๓๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การสงเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การสงเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการสงเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การสงเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ [๓๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ [๓๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเอื้อเฟื้อด้วยอามิส ๑ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเอื้อเฟื้อ ๒ อย่างนี้ ความเอื้อเฟื้อด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ
จบทานวรรคที่ ๓
[๓๙๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสสันถาร ๑ ธรรมสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมสันถารเป็นเลิศ ฯ [๓๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปฏิสันถาร ๑ ธรรมปฏิสันถาร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปฏิสันถาร ๒ อย่างนี้ ธรรมปฏิสันถาร เป็นเลิศ ฯ [๓๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสเอสนา การเสาะหาอามิส ๑ ธรรมเอสนาการเสาะหาธรรม ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย เอสนา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาเอสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมเอสนาเป็นเลิศ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๔.

[๓๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยสนา การแสวงหาอามิส ๑ ธรรมปริเยสนา การแสวงหาธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยสนา ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริ- *เยสนา ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยสนาเป็นเลิศ ฯ [๔๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสปริเยฏฐิ การแสวงหาอามิสอย่างสูง ๑ ธรรมปริเยฏฐิ การแสวงหา ธรรมอย่างสูง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาปริเยฏฐิ ๒ อย่างนี้ ธรรมปริเยฏฐิเป็นเลิศ ฯ [๔๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ อามิสบูชา ๑ ธรรมบูชา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การบูชา ๒ อย่างนี้แล ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย บรรดาการบูชา ๒ อย่างนี้ ธรรมบูชาเป็นเลิศ ฯ [๔๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ของต้อนรับ คือ อามิส ๑ ของต้อนรับ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาของต้อนรับแขก ๒ อย่างนี้ ของต้อนรับแขก คือ ธรรมเป็นเลิศ ฯ [๔๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสำเร็จ คือ อามิส ๑ ความสำเร็จ คือ ธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำเร็จ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสำเร็จ ๒ อย่างนี้ ความสำเร็จ คือ ธรรมเป็นเลิศ ฯ [๔๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเจริญ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเจริญด้วยอามิส ๑ ความเจริญด้วยธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความ เจริญ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความเจริญ ๒ อย่างนี้ ความเจริญ ด้วยธรรมเป็นเลิศ ฯ [๔๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๕.

คือ รัตนะคืออามิส ๑ รัตนะคือธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดารัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะคือธรรมเป็นเลิศ ฯ [๔๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความสะสมอามิส ๑ ความสะสมธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสะสม ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสะสม ๒ อย่างนี้ ความสะสมธรรม เป็นเลิศ ฯ [๔๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๑ ความไพบูลย์แห่งธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาความไพบูลย์ ๒ อย่างนี้ ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ ฯ
จบสันถารวรรคที่ ๔
[๔๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่เบียดเบียน ๑ ความเป็นคนสะอาด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๖.

[๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน การบริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการ บริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือการพิจารณา ๑ กำลังคือการอบรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลสมบัติ ๑ ทิฐิสมบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลบริสุทธิ์ ๑ ทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ความเพียรที่สมควรแก่ทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยังไม่พอในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ๑ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๗.

[๔๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนหลงลืมสติ ๑ ความไม่รู้สึกตัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๘.

พระสูตรที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์
[๔๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความ ไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม อยู่เป็นทุกข์ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ลบหลู่คุณท่าน ๑ ตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ฯ [๔๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อม อยู่เป็นสุข ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธ ไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ฯ [๔๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๙.

ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ฯ [๔๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ เสื่อมแก่ภิกษุที่ยังเป็นเสขะ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ความไม่มายา ๑ ความไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุที่ ยังเป็นเสขะ ฯ [๔๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการตั้งอยู่ ในนรกเหมือนดังถูกนำมาฝังไว้ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ตั้งอยู่ในนรก เหมือนถูกนำมาฝังไว้ ฯ [๔๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ตั้งอยู่ ในสวรรค์เหมือนดังถูกนำมาตั้งลงไว้ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความไม่ โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอต- *ตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล ตั้งอยู่ใน สวรรค์เหมือนถูกนำมาตั้งลงไว้ ฯ [๔๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธไว้ ๑ ... ความลบหลู่คุณ ท่าน ๑ ความตีเสมอ ๑ ... ความริษยา ๑ ความตระหนี่ ๑ ... มายา ๑ โอ้อวด ๑ ... ความไม่ละอาย ๑ ความไม่เกรงกลัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๐.

ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ฯ [๔๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบ ด้วยธรรม ๒ อย่าง เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความไม่ลบหลู่ คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่ มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒ อย่างนี้แล เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ฯ [๔๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นอกุศล ... ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นกุศล ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ มีโทษ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ไม่มีโทษ ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นกำไร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็น กำไร ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีทุกข์เป็นวิบาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้มีสุขเป็นวิบาก ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้เป็นไปกับ ด้วยความเบียดเบียน ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ไม่มีความเบียดเบียน ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความไม่โกรธ ๑ ความไม่ผูกโกรธไว้ ๑ ... ความ ไม่ลบหลู่คุณท่าน ๑ ความไม่ตีเสมอ ๑ ... ความไม่ริษยา ๑ ความไม่ตระหนี่ ๑ ... ไม่มายา ๑ ไม่โอ้อวด ๑ ... หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ไม่มีความเบียดเบียน ฯ [๔๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง นี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก อำนาจประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความข่มบุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๑.

ผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ ... เพื่อป้องกันอาสวะอัน จักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้อง กันเวรอันจักเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดเวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อ ป้องกันโทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจัก บังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของ ภิกษุผู้มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อ ความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระตถาคตจึงได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวก ฯ [๔๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่าง นี้ พระตถาคตจึงทรงบัญญัติปาติโมกข์แก่สาวก ... ทรงบัญญัติปาติโมกข์ขุทเทส ... ทรงบัญญัติการตั้งปาติโมกข์ ... ทรงบัญญัติปวารณา ... ทรงบัญญัติการตั้งปวารณา ... ทรงบัญญัติตัชชนียกรรม ... ทรงบัญญัตินิยัสสกรรม ... ทรงบัญญัติปัพพาชนียกรรม ... ทรงบัญญัติปฏิสารณียกรรม ... ทรงบัญญัติอุกเขปนียกรรม ... ทรงบัญญัติการ ให้ปริวาส ... ทรงบัญญัติการชักเข้าหาอาบัติเดิม ... ทรงบัญญัติการให้มานัต ... ทรงบัญญัติอัพภาน ... ทรงบัญญัติการเรียกเข้าหมู่ ... ทรงบัญญัติการขับออกจากหมู่ ... ทรงบัญญัติการอุปสมบท ... ทรงบัญญัติญัตติกรรม ... ทรงบัญญัติญัตติทุติยกรรม ... ทรงบัญญัติญัตติจตุตถกรรม ... ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ยังไม่ได้ทรงบัญญัติ ... ทรงบัญญัติเพิ่มเติมในสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว ... ทรงบัญญัติสัมมุขาวินัย ... ทรงบัญญัติสติวินัย ... ทรงบัญญัติอมุฬหวินัย ... ทรงบัญญัติปฏิญญาตกรณะ ... ทรงบัญญัติเยภุยยสิกา ... ทรงบัญญัติตัสสปาปิยสิกา ... ทรงบัญญัติติณวัตถารกวินัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๒.

อำนาจประโยชน์ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ เพื่อความดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญ แห่งสงฆ์ ๑ ... เพื่อความข่มขู่บุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่ออยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รัก ๑ ... เพื่อป้องกันอาสวะอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะ อันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันเวรอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัด เวรอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันโทษอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อ กำจัดโทษอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันภัยอันจักบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดภัยอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่อป้องกันอกุศลธรรมอันจักบังเกิดใน ปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอกุศลธรรมอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ ... เพื่ออนุเคราะห์แก่ คฤหัสถ์ ๑ เพื่อเข้าไปตัดรอนฝักฝ่ายของภิกษุที่มีความปรารถนาลามก ๑ ... เพื่อ ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ๑ ... เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่ออนุเคราะห์พระวินัย ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างนี้แล พระตถาคตจึงทรงบัญญัติติณ วัตถารกวินัยไว้แก่สาวก ฯ [๔๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควร อบรมธรรม ๒ อย่าง ธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งราคะ จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้ แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพื่อกำหนดรู้ราคะ ... เพื่อความสิ้นไปรอบแห่งราคะ ... เพื่อละราคะเด็ดขาด ... เพื่อความสิ้นไปแห่งราคะ ... เพื่อความเสื่อมไปแห่งราคะ ... เพื่อความสำรอกราคะ ... เพื่อความดับสนิทแห่งราคะ ... เพื่อสละราคะ ... เพื่อปล่อยราคะเสีย จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๓๙] เพื่อรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง ... เพื่อกำหนดรู้ ... เพื่อความ สิ้นไปรอบ ... เพื่อสละ ... เพื่อความสิ้นไป ... เพื่อความเสื่อมไป ... เพื่อความ สำรอก ... เพื่อความดับสนิท ... เพื่อสละ ... เพื่อปล่อยวางซึ่งโทสะ ... ซึ่งโมหะ ... ซึ่งความโกรธ ... ซึ่งความผูกโกรธไว้ ... ซึ่งการลบหลู่คุณท่าน ... ซึ่งการตี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๓.

เสมอ ... ซึ่งความริษยา ... ซึ่งความตระหนี่ ... ซึ่งมายา ... ซึ่งความโอ้อวด ... ซึ่งความหัวดื้อ ... ซึ่งความแข่งดี ... ซึ่งการถือตัว ... ซึ่งการดูหมิ่นท่าน ... ซึ่ง ความมัวเมา ... ซึ่งความประมาท ... จึงควรอบรมธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบทุกนิบาต
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๔.

ปฐมปัณณาสก์
พาลวรรคที่ ๑
ภยสูตร
[๔๔๐] ๑. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิด ขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิด ขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิด ขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิตไม่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฟอันลุกลามมาจาก เรือนไม้อ้อหรือเรือนหญ้า ย่อมไหม้แม้ซึ่งเรือนยอดที่เขาโบกทั้งภายในภายนอก ลมพัดเข้าไม่ได้ มีบานประตูมิดชิด มีหน้าต่างปิดแน่น แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภัยที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิต ไม่ อันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิต ไม่ อุปสรรคที่จะเกิดขึ้นทั้งสิ้นนั้น ย่อมเกิดขึ้นแต่คนพาล หาเกิดขึ้นแต่บัณฑิต ไม่ ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า บัณฑิตหา ภัยเฉพาะหน้ามิได้ คนพาลมีอันตราย บัณฑิตหาอันตรายมิได้ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตหาอุปสรรคมิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัยไม่มีมาแต่บัณฑิต อันตรายไม่มีมา แต่บัณฑิต อุปสรรคไม่มีมาแต่บัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อัน เขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทาน ธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๕.

ลักขณสูตร
[๔๔๑] ๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องกำหนด บัณฑิต มีกรรมเป็นเครื่องกำหนด ปัญญางดงามในความประพฤติเนืองๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจัก ประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้แล ฯ
จินตาสูตร
[๔๔๒] ๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความ ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าคนพาลจักไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดชั่ว ๑ พูดคำที่พูดชั่ว ๑ ทำกรรมที่ทำชั่ว ๑ เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาด้วยเหตุอย่างไร ว่า ผู้นี้เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะคนพาลย่อมเป็นผู้คิด เรื่องที่คิดชั่ว พูดคำที่พูดชั่ว ทำกรรมที่ทำชั่ว ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้ เป็นคนพาล ไม่ใช่คนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะคนพาล นิมิตคนพาล ความ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๖.

ประพฤติไม่ขาดสายของคนพาล ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต นิมิตบัณฑิต ความประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น ไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่คิดดี ๑ พูดคำที่ พูดดี ๑ ทำกรรมที่ทำดี ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าบัณฑิตไม่เป็นคนคิดเรื่องที่คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี เช่นนั้น บัณฑิตจะพึงรู้เขาได้ด้วยเหตุอะไรว่า ผู้นี้เป็นบัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะบัณฑิตย่อมเป็นผู้คิดเรื่องที่ คิดดี พูดคำที่พูดดี และทำกรรมที่ทำดี ฉะนั้น บัณฑิตจึงรู้จักเขาว่า ผู้นี้เป็น บัณฑิต เป็นคนดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลักษณะบัณฑิต นิมิตบัณฑิต ความ ประพฤติไม่ขาดสายของบัณฑิต ๓ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติเว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขารู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติ สมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
อัจจยสูตร
[๔๔๓] ๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ไม่เห็นโทษโดยความเป็น โทษ ๑ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว แต่ไม่ทำคืนตามธรรม ๑ เมื่อผู้อื่นชี้โทษ อยู่ ไม่รับรู้ตามธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ เห็นโทษโดยความ เป็นโทษ ๑ เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้ว ย่อมทำคืนตามธรรม ๑ เมื่อผู้อื่นชี้ โทษอยู่ ย่อมรับรู้ตามธรรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๗.

อโยนิโสสูตร
[๔๔๔] ๕. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยไม่แยบคาย ๑ ไม่อนุโมทนาปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวย เข้ารูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ ตั้งปัญหาโดยแยบคาย ๑ เฉลยปัญหาโดยแยบคาย ๑ อนุโมทนา ปัญหาที่ผู้อื่นเฉลยโดยแยบคาย ด้วยบทพยัญชนะที่เหมาะสม สละสลวยเข้ารูป ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ฯ
อกุสลสูตร
[๔๔๕] ๖. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมเป็นอกุศล ๑ วจีกรรมเป็นอกุศล ๑ มโนกรรมเป็นอกุศล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ ด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ กายกรรมเป็นกุศล ๑ วจีกรรมเป็นกุศล ๑ มโนกรรมเป็นกุศล ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ฯ
สาวัชชสูตร
[๔๔๖] ๗. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๘.

พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็นโทษ ๑ วจีกรรมที่เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่เป็นโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ กายกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ วจีกรรมที่ไม่เป็นโทษ ๑ มโนกรรมที่ ไม่เป็นโทษ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯ
สัพยาปัชชสูตร
[๔๔๗] ๘. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่เป็นการเบียด เบียน ๑ วจีกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่เป็นการเบียดเบียน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคน พาล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบว่าเป็น บัณฑิต ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ วจีกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ มโนกรรมที่ไม่เป็นการเบียดเบียน ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า บุคคล ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึงรู้ว่าเป็นคนพาล เราจักประพฤติ เว้นธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใด อันเขาพึง รู้ว่าเป็นบัณฑิต เราจักประพฤติสมาทานธรรม ๓ ประการนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
ขตสูตร
[๔๔๘] ๙. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๑๙.

ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสบบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนพาลไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหาร ตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เป็นผู้เป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน และประสบ บาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และประสบบุญ เป็นอันมาก ฯ
มลสูตร
[๔๔๙] ๑๐. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ไม่ละมลทิน ๓ ประการ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก เหมือนถูกขังฉะนั้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้ทุศีล และไม่ละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็น ผู้ริษยา และไม่ละมลทินแห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ตระหนี่ และไม่ละมลทินแห่ง ความตระหนี่ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่ละมลทิน ๓ ประการนี้ จะต้องถูกเก็บไว้ในนรก เหมือนถูกขังฉะนั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ละมลทิน ๓ ประการเสีย ย่อมจะประดิษฐานบนสวรรค์ เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ เป็นไฉน คือ เป็นผู้มีศีล และละมลทินแห่งความเป็นผู้ทุศีล ๑ เป็นผู้ไม่ริษยา และละมลทินแห่งความริษยา ๑ เป็นผู้ไม่ตระหนี่ และละมลทินแห่งความตระหนี่

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๐.

๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ และละมลทิน ๓ ประการนี้แล ย่อมจะประดิษฐานอยู่บนสวรรค์ เหมือนถูกนำเอามาวางไว้ ฉะนั้น ฯ
จบพาลวรรคที่ ๑
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ภยสูตร ๒. ลักขณสูตร ๓. จินตาสูตร ๔. อัจจยสูตร ๕. อโยนิโสสูตร ๖. อกุสลสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. สัพยาปัชชสูตร ๙. ขตสูตร ๑๐. มลสูตร
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๑.

รถการวรรคที่ ๒
ญาตกสูตร
[๔๕๐] ๑๑. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อมิใช่สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมที่ไม่ สมควร ๑ ชักชวนในวจีกรรมที่ไม่สมควร ๑ ชักชวนในธรรมที่ไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อม ปฏิบัติเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อมิใช่สุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความพินาศ แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อม ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์แก่ชนหมู่ มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ ชักชวนในกายกรรมที่สมควร ๑ ชักชวนในวจีกรรมที่สมควร ๑ ชักชวนใน ธรรมที่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีชื่อเสียงประกอบด้วยธรรม ๓ ประ การนี้แล ย่อมปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประ โยชน์แก่ชนหมู่มาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ฯ
สรณียสูตร
[๔๕๑] ๑๒. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้ ย่อมเป็นสถานที่ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงทรงระลึกถึงตลอดพระชนม์ชีพ สถาน ที่ ๓ แห่งเป็นไฉน คือ กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ประสูติ ณ ที่ใด ที่นี้เป็นสถานที่ ๑ อันกษัตราธิราชพึงทรงระลึกตลอดพระชนม์ชีพ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๒.

อีกประการหนึ่ง กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ณ ที่ใด ที่นี้เป็น สถานที่ ๒ อันกษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงทรงระลึกถึงตลอดพระชนม์ ชีพ ฯ อีกประการหนึ่ง กษัตราธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว ทรงชำนะสงคราม ครั้งใหญ่ มีชัย ทรงครอบครองสนามรบ ณ ที่ใด ที่นี้เป็นสถานที่ ๓ อันกษัตรา ธิราชผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงทรงระลึกถึงตลอดพระชนม์ชีพ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล เป็นสถานที่อันกษัตราธิราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พึงทรงระลึกถึงตลอดพระชนม์ชีพ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้ เป็นสถานที่อันภิกษุพึงระลึกถึง ตลอดชีวิต ฉันนั้นเหมือนกันแล สถานที่ ๓ แห่งเป็นไฉน คือ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ณ ที่ใด ที่นี้เป็นสถานที่ ๑ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ณ ที่ใด ที่นี้เป็นสถานที่ ๒ อันภิกษุพึง ระลึกถึงตลอดชีวิต ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ณ ที่ใด ที่นี้เป็น สถานที่ ๓ อันภิกษุพึงระลึกถึงตลอดชีวิต ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สถานที่ ๓ แห่งนี้แล เป็นสถานที่อันภิกษุพึงระลึกถึง ตลอดชีวิต ฯ
ภิกขุสูตร
[๔๕๒] ๑๓. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้หมดหวัง ๑ บุคคลผู้มีหวัง ๑ บุคคล ผู้ปราศจากความหวัง ๑ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๓.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้หมดหวังเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ บังเกิดในสกุลต่ำ คือ สกุลจัณฑาล สกุลคนเป่าปี่ (ขอทาน) สกุลนายพรานป่า สกุลช่างรถ หรือสกุลกุลีเทหยากเยื่อ ซึ่งเป็นสกุลที่ยากจน มี ข้าวน้ำโภชนาหารน้อย มีความเป็นไปฝืดเคือง มีของกินและเครื่องนุ่งห่มหาได้ โดยฝืดเคือง และเขาเป็นคนมีผิวพรรณหม่นหมองไม่น่าดู ต่ำเตี้ย มากด้วยความ ป่วยไข้ เป็นคนบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นโรคอัมพาต หาข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องตาม ประทีปไม่ได้ เขาได้ฟังข่าวว่า กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ ถูกพวกกษัตริย์อภิเษก แล้วด้วยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์ เขาหาคิดอย่างนี้ไม่ว่า ถึงตัวเราก็จักถูกพวก กษัตริย์อภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักครั้งหนึ่งแน่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้หมดหวัง" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีหวังเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระโอรส ของพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นผู้ควรอภิเษก แต่ยัง ไม่ได้รับการอภิเษก ถึงความไม่หวั่นไหว เขาได้ฟังข่าวว่า กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ ถูกพวกกษัตริย์อภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์ เขาย่อมคิดดังนี้ว่า ถึงตัวเรา ก็จักถูกพวกกษัตริย์อภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราวหนึ่งโดยแท้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้มีหวัง" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ปราศจากความหวังเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พระราชาในโลกนี้ เป็นกษัตริย์ได้รับมูรธาภิเษกแล้ว พระองค์ได้สดับ ข่าวว่า กษัตริย์ผู้มีพระนามอย่างนี้ ถูกพวกกษัตริย์อภิเษกด้วยการอภิเษกให้เป็น กษัตริย์ พระองค์หาทรงพระดำริดังนี้ไม่ว่า ถึงตัวเราก็จักถูกพวกกษัตริย์อภิเษกด้วย การอภิเษกให้เป็นกษัตริย์สักคราวหนึ่ง ข้อนั้นเพราะเหตุใด เพราะพระองค์ซึ่ง แต่ก่อนยังมิได้รับการอภิเษก ได้มีการอภิเษกสงบไปแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้ปราศจากความหวัง" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก แม้ฉันใด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๔.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุก็มีบุคคลอยู่ ๓ จำพวก ปรากฏฉันนั้น เหมือนกันแล บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลผู้หมดหวัง ๑ บุคคล ผู้มีหวัง ๑ บุคคลผู้ปราศจากความหวัง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้หมดหวังเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีสมาจารที่พึงระลึกด้วยความรังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่ใช่สมณะ แต่ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารี แต่ ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี เน่าในภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นดังหยากเยื่อ เธอได้ สดับข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอหาคิดดังนี้ไม่ว่า แม้เราก็จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้หมดหวัง" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มีหวังเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เธอได้สดับข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมคิดดังนี้ว่า แม้เราก็จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อัน หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ สักคราวหนึ่งโดยแท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้มีหวัง" ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปราศจากความหวังเป็นไฉน ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ เธอได้สดับข่าวว่า ภิกษุชื่อนี้ทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เธอย่อมไม่คิดดังนี้ว่า ถึงเราก็จักทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน ยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ สักคราวหนึ่งโดยแท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ ความหวังในวิมุติของเธอผู้ยังไม่หลุดพ้นในก่อนนั้นระงับแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า "บุคคลผู้ปราศจากความหวัง" ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๕.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในหมู่ภิกษุ มีบุคคล ๓ จำพวกนี้แล ปรากฏอยู่ ฯ
จักกวัตติสูตร
[๔๕๓] ๑๔. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชา ทรงยังจักรมิใช่ของพระราชาอื่นให้เป็นไป เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสดังนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเล่า เป็น ราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรภิกษุ ธรรมเป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาดั่งนี้ แล้ว ได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชาในโลกนี้ ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกันและคุ้มครองที่ ประกอบด้วยธรรมไว้ในอันโตชน ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ ประกอบด้วยธรรมไว้ในพวกกษัตริย์ ผู้ที่ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และ คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนก ดูกรภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระองค์นั้นแล ซึ่งอาศัย ธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรม เป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบ ด้วยธรรมไว้ในอันโตชน ในพวกกษัตริย์ผู้ตามเสด็จ ในหมู่พล ในพราหมณ์และ คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท ในสมณะและพราหมณ์ ในเนื้อและนก แล้ว ย่อมทรงใช้จักรให้เป็นไปโดยธรรมเท่านั้น จักเป็นอันมนุษย์ ข้าศึกหรือ สัตว์ไรๆ ให้เป็นไปไม่ได้ ฉันใด ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๖.

ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงธรรม เป็นธรรม ราชาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรง ธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในกายกรรม ว่ากายกรรมเช่นนี้ ควรเสพ กายกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรง ธรรม ทรงมีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในวจีกรรมว่า วจีกรรมเช่นนี้ควรเสพ วจีกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรง ธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในมโนกรรมว่า มโนกรรมเช่นนี้ควร เสพ มโนกรรมเช่นนี้ไม่ควรเสพ ฯ ดูกรภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมนั่นเอง สักการะธรรม เคารพธรรม ยำเกรงธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นใหญ่ ครั้นทรงจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครองที่ประกอบด้วยธรรมไว้ในกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมแล้ว ทรง ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมเท่านั้น จักรนั้น อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปด้วยไม่ได้ ฯ
ปเจตนสูตร
[๔๕๔] ๑๕. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ป่าอิสิปตนมฤค- *ทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๗.

ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มี พระภาคได้ตรัสว่า ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาพระองค์หนึ่งพระนามว่า ปเจตนะ ครั้งนั้น พระเจ้าปเจตนะได้รับสั่งกะนายช่างรถว่า ดูกรนายช่างรถผู้สหาย แต่นี้ไปอีก ๖ เดือน ฉันจักทำสงคราม ท่านสามารถจะทำล้อคู่ใหม่ของฉันได้ไหม นายช่างรถได้ทูลรับรองต่อพระเจ้าปเจตนะว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์สามารถจะทำ ถวายได้ ครั้งนั้นแล นายช่างรถได้ทำล้อสำเร็จข้างหนึ่ง โดย ๖ เดือน หย่อน ๖ ราตรี ครั้งนั้นแล พระเจ้าปเจตนะตรัสเรียกนายช่างรถมาถามว่า ดูกรชายช่าง รถผู้สหาย แต่นี้ไปอีก ๖ วัน ฉันจักทำสงคราม ล้อคู่ใหม่สำเร็จแล้วหรือ ฯ นายช่างรถกราบทูลว่า ขอเดชะ โดย ๖ เดือน หย่อนอยู่อีก ๖ ราตรีนี้ แล ล้อได้เสร็จไปแล้วข้างหนึ่งฯ พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า ดูกรนายช่างรถผู้สหาย ๖ วันนี้ท่านสามารถ จะทำล้อข้างที่สองของฉันให้เสร็จได้หรือ ฯ นายช่างรถได้กราบทูลรับรองต่อพระเจ้าปเจตนะว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์ สามารถจะทำให้เสร็จได้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล นายช่างรถทำล้อข้างที่สองเสร็จโดย ๖ วัน แล้ว นำเอาล้อคู่ใหม่เข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเจตนะถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะล้อคู่ใหม่ของพระองค์นี้สำเร็จแล้ว พระเจ้าปเจตนะรับสั่งถามว่า ดูกรนายช่างรถผู้สหาย ล้อของท่านข้างที่ เสร็จโดย ๖ เดือนหย่อน ๖ ราตรี กับอีกข้างหนึ่งเสร็จโดย ๖ วันนี้ เหตุอะไร เป็นเครื่องทำให้แตกต่างกัน ฉันจะเห็นความแตกต่างของมันได้อย่างไร ฯ นายช่างรถกราบทูลว่า ขอเดชะ ความแตกต่างของมันมีอยู่ ขอพระองค์ จงทรงทอดพระเนตรความแตกต่างกันของมัน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล นายช่างรถยังล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ วัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๘.

ให้หมุนไป ล้อนั้นเมื่อนายช่างรถหมุนไป ก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่างรถหมุนไป แล้วหมุนเวียนล้มลงบนพื้นดิน นายช่างรถได้ยังล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ เดือนหย่อน อยู่ ๖ ราตรีให้หมุนไป ล้อนั้น เมื่อนายช่างรถหมุนไป ก็หมุนไปได้เท่าที่นายช่าง รถหมุนไป แล้วตั้งอยู่เหมือนอยู่ในเพลา ฉะนั้น ฯ พระเจ้าปเจตนะตรัสถามว่า ดูกรนายช่างรถผู้สหาย อะไรหนอเป็นเหตุ เป็น ปัจจัย ล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ วันนี้ เมื่อถูกท่านหมุนไปแล้ว จึงหมุนไปเพียงเท่า ท่านหมุนไปได้ แล้วหมุนเวียนล้มลงบนพื้นดิน ก็อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย ล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ เดือนหย่อนอยู่ ๖ ราตรีนี้ เมื่อท่านหมุนไป จึงหมุนไปเท่าที่ ท่านหมุนไปได้ แล้วได้ตั้งอยู่เหมือนกับอยู่ในเพลา ฉะนั้น ฯ นายช่างรถกราบทูลว่า ขอเดชะ กงก็ดี กำก็ดี ดุมก็ดี ของล้อข้างที่ เสร็จแล้วโดย ๖ วันนี้ มันคดโค้ง มีโทษ มีรสฝาด เพราะกงก็ดี กำก็ดี ดุม ก็ดี คดโค้ง มีโทษ มีรสฝาด ฉะนั้นเมื่อข้าพระองค์หมุนไป จึงหมุนไป เท่าที่ข้าพระองค์หมุนไป แล้วหมุนเวียนล้มบนพื้นดิน ขอเดชะ ส่วนกงก็ดี กำก็ดี ดุมก็ดี ของล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ เดือนหย่อนอยู่อีก ๖ ราตรีนี้ ไม่คดโค้ง หมดโทษ ไม่มีรสฝาด ฉะนั้น เมื่อข้าพระองค์หมุนไป จึงหมุนไปได้เท่าที่ ข้าพระองค์หมุนไป แล้วได้ตั้งอยู่เหมือนกับอยู่ในเพลา ฉะนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลายจะพึงคิดอย่างนี้ว่า สมัยนั้น คนอื่นได้ เป็นนายช่างรถ แต่ข้อนี้ไม่ควรเห็นดังนั้น สมัยนั้น เราได้เป็นนายช่างรถ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวนั้น เราเป็นคนฉลาดในความคดโค้งแห่งไม้ ในโทษ แห่งไม้ ในรสฝาดแห่งไม้ แต่บัดนี้เราเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ฉลาดใน ความคดโกงแห่งกาย ในโทษแห่งกาย ในรสฝาดแห่งกาย ฉลาดในความคดโกง แห่งวาจา ในโทษแห่งวาจา ในรสฝาดแห่งวาจา ฉลาดในความคดโกงแห่งใจ ในโทษแห่งใจ ในรสฝาดแห่งใจ ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๒๙.

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละความคดโกง แห่งกาย โทษแห่งกาย รสฝาดแห่งกาย ไม่ละความคดโกงแห่งวาจา โทษแห่ง วาจา รสฝาดแห่งวาจา ไม่ละความคดโกงแห่งใจ โทษแห่งใจ รสฝาดแห่งใจ เขาได้พลัดตกไปจากธรรมวินัยนี้ เหมือนกับล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ วัน ฉะนั้น ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง ละความคดโกงแห่งกาย โทษแห่งกาย รสฝาดแห่งกาย ละความคดโกงแห่งวาจา โทษแห่งวาจา รสฝาดแห่งวาจา ละความคดโกงแห่งใจ โทษแห่งใจ รสฝาดแห่งใจ ได้ เขาดำรงมั่นอยู่ในธรรมวินัยนี้ เหมือนกับล้อข้างที่เสร็จโดย ๖ เดือนหย่อน อยู่ ๖ ราตรี ฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษา อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักละความคดโกงแห่งกาย โทษแห่งกาย รสฝาดแห่งกาย จักละความคดโกงแห่งวาจา โทษแห่งวาจา รสฝาดแห่งวาจา จักละความ คดโกงแห่งใจ โทษแห่งใจ รสฝาดแห่งใจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
อปัณณกสูตร
[๔๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้ม ครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ เป็นผู้ประกอบ ความเพียร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ทั้งหลายอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้วจะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ครอบงำได้ ย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๐.

ด้วยหูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมไม่ถือเอาโดย นิมิต โดยอนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะพึงเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำได้ ย่อม รักษามนินทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ฉันอาหารไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อจะมัวเมา ไม่ใช่เพื่อ จะประดับ ไม่ใช่เพื่อจะประเทืองผิว เพียงเพื่อกายนี้ตั้งอยู่ เพื่อจะให้กายนี้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความเบียดเบียนลำบาก เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ด้วยคิดเห็นว่า เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย และจักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น ความที่กายจักเป็นไป ได้นาน ความเป็นผู้ไม่มีโทษและความอยู่สำราญจักเกิดมีแก่เรา ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการ นั่งตลอดวัน ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่งตลอดยามต้นแห่งราตรี ตลอดยามกลางแห่งราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำความหมายในอัน จะลุกขึ้นไว้ในใจ ย่อมลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณิยธรรม ด้วยการเดิน จงกรม ด้วยการนั่งตลอดปัจฉิมยาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ประกอบ ความเพียรอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แลย่อมชื่อว่าเป็น ผู้ปฏิบัติไม่ผิด และชื่อว่าเธอปรารภปัญญาเพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๑.

อัตตสูตร
[๔๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ เป็นไปทั้งเพื่อเบียด เบียนตนเอง เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนและคน อื่นทั้งสองฝ่าย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโน ทุจริต ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตน เอง เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น เป็นไปทั้งเพื่อเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทั้งสองฝ่าย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่นทั้งสองฝ่าย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตนเอง ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและคนอื่น ทั้งสองฝ่าย ฯ
เทวสูตร
[๔๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ จะพึงถาม ท่านทั้งหลายเช่นนี้ว่า ดูกรอาวุโส พระสมณโคดมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ จะเข้าถึงพรหมโลกหรือ ท่านทั้งหลายเมื่อถูกถามเช่นนี้ พึงอึดอัด ระอา รังเกียจ มิใช่หรือ เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า จึงได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายอึดอัด ระอา รังเกียจ ด้วยอายุทิพย์ ด้วยวรรณะทิพย์ ด้วยสุขทิพย์ ด้วยยศทิพย์ ด้วยอธิปไตยทิพย์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แต่ท่านทั้งหลายควรอึดอัด ระอา รังเกียจ ด้วยกายทุจริต ด้วยวจี ทุจริต ด้วยมโนทุจริตก่อนทีเดียว ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๒.

ปาปณิกสูตรที่ ๑
[๔๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ไม่ ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เวลาเช้าไม่จัดแจงการงาน โดยเอื้อเฟื้อ เวลาเที่ยงไม่จัดแจงการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเย็นไม่จัดแจงการงาน โดยเอื้อเฟื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ไม่ ควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีขึ้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็น ผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้ว ให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เวลาเช้าไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ เวลาเที่ยงไม่อธิษฐานสมาธิ นิมิตโดยเคารพ เวลาเย็นไม่อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ เป็นผู้ไม่ควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้ บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือ เพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เวลาเช้าจัดแจงการงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเที่ยงจัดแจง การงานโดยเอื้อเฟื้อ เวลาเย็นจัดแจงการงานโดยเอื้อเฟื้อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล สมควรจะได้โภคทรัพย์ที่ยังไม่ได้ หรือเพื่อทำโภคทรัพย์ที่ได้แล้วให้ทวีมากขึ้น ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วย ธรรม ๓ ประการ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สมควรจะได้บรรลุ กุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เวลาเช้า อธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ เวลาเที่ยงอธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ เวลา

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๓.

เย็นอธิษฐานสมาธินิมิตโดยเคารพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล สมควรจะบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่บรรลุ หรือเพื่อทำกุศลธรรมที่ ได้บรรลุแล้วให้เจริญมากขึ้น ฯ
ปาปณิกสูตรที่ ๒
[๔๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อม ถึงความมีโภคทรัพย์มากมายเหลือเฟือไม่นานเลย องค์ ๓ ประการเป็นไฉน ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนที่มีตาดี ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยบุคคล ที่จะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีตาดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ย่อมรู้สิ่งที่จะพึงซื้อขายว่า สิ่งที่พึงขายนี้ ซื้อมาเท่านี้ ขายไป เท่านี้ จักได้ทุนเท่านี้ มีกำไรเท่านี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น คนมีตาดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่ามีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ เป็นคนฉลาดที่จะซื้อและขายสิ่งที่ตนจะพึง ซื้อขาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นคนมีธุระดี ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคนซึ่งจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกร ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าในโลกนี้ อันคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีผู้มั่งคั่ง ผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ทราบได้เช่นนี้ว่าท่านพ่อค้าผู้นี้แล เป็นคนมีตาดี มีธุระดี สามารถ ที่จะเลี้ยงบุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลาได้ เขาต่างก็เชื้อเชิญพ่อค้า นั้นด้วยโภคะว่า แน่ะท่านพ่อค้าผู้สหาย แต่นี้ไปท่านจงนำเอาโภคะไปเลี้ยงดู บุตรภรรยา และใช้คืนให้แก่เราตามเวลา ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าชื่อว่าเป็น ผู้ถึงพร้อมด้วยบุคคลซึ่งเป็นที่พึ่งได้ด้วยอาการอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย พ่อค้า ผู้ประกอบด้วยองค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมจะถึงความมีโภคะมากมายเหลือเฟือไม่ นานเลย ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ฉันนั้น เหมือนกัน ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศลธรรมไม่นานเลย ธรรม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๔.

๓ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีจักษุ ๑ มีธุระดี ๑ ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้ ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึง พร้อมแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่น ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศล- *ธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้มีธุระดีอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เธอเข้าไปหาภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต เรียนจบคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามเวลา แล้วไต่ถาม สอบสวนว่า ท่านผู้เจริญ พระพุทธพจน์นี้ อย่างไร ความแห่งพระพุทธพจน์นี้อย่างไร ท่านเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยธรรมที่ยัง ไม่เปิดเผย ย่อมทำธรรมที่ยังมิได้ทำให้ตื้นแล้วให้ตื้น และย่อมบรรเทาความสงสัย ในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยมิใช่น้อยแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภิกษุพอจะเป็นที่พึ่งได้อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมถึงความเป็นผู้มากมูนไพบูลย์ในกุศล ธรรมทั้งหลายไม่นานเลย ฯ
จบรถการวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ญาตกสูตร ๒. สรณียสูตร ๓. ภิกขุสูตร ๔. จักกวัตติสูตร ๕. ปเจตนสูตร ๖. อปัณณกสูตร ๗. อัตตสูตร ๘. เทวสูตร ๙. ปาปณิก สูตรที่ ๑ ๑๐. ปาปณิกสูตรที่ ๒ ฯ
-----------------------------------------------------

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๕.

ปุคคลวรรคที่ ๓
สวิฏฐสูตร
[๔๖๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่าน พระสวิฏฐะกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้พากันไปหาท่านพระสารีบุตรจนถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ สวิฏฐะว่า ดูกรอาวุโสสวิฏฐะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวก เป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ ดูกร ท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวก นี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหนซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ท่านพระสวิฏฐะ ได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตต บุคคล ๑ ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดา บุคคล ๓ จำพวกนี้ กระผมชอบใจบุคคลผู้สัทธาวิมุตต ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและ ประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะสัทธินทรีย์ของบุคคลนี้มีประมาณยิ่ง ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรอาวุโสโกฏฐิตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ ดูกรท่านผู้มีอายุ บุคคล ๓ จำพวก นี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจบุคคลจำพวกไหน ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระ สารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กาย สักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ กระผมชอบใจบุคคลกายสักขี

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๖.

ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมาธินทรีย์ของ บุคคลนี้มีประมาณยิ่ง ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโกฏฐิตะได้ถามท่านพระสารีบุตร บ้างว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวก เป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ บุคคล ๓ จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ท่านชอบใจ บุคคลจำพวกไหน ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ท่านพระสารีบุตรได้ตอบว่า ดูกรท่านโกฏฐิตะ บุคคล ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ กายสักขีบุคคล ๑ ทิฏฐิปัตตบุคคล ๑ สัทธาวิมุตตบุคคล ๑ บุคคล ๓ จำพวก นี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ ผมชอบใจบุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ ซึ่งเป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปัญญินทรีย์ของบุคคล นี้มีประมาณยิ่ง ครั้งนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระสวิฏฐะและ ท่านพระมหาโกฏฐิตะว่า ดูกรอาวุโส เราทั้งหมดด้วยกันต่างได้พยากรณ์ตาม ปฏิภาณของตน มาไปด้วยกันเถอะ เราจักเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ แล้วกราบทูลข้อความนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงพยากรณ์แก่เราอย่างไร เราจัก ทรงจำพระพุทธพยากรณ์นั้นไว้อย่างนั้น ท่านพระสวิฏฐะกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตร ท่านพระ สวิฏฐะ และท่านพระมหาโกฏฐิตะ ได้พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลการเจรจาปราศรัยกับท่านพระสวิฏฐะและท่านมหา- *โกฏฐิตะทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้ เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลผู้สัทธาวิมุตตนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระ- *อรหันต์ บุคคลผู้เป็นกายสักขี ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ ก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๗.

พระอนาคามี ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดา บุคคล ๓ จำพวกนี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่า ดังนี้ ไม่ใช่จะทำ ได้โดยง่ายเลย เพราะข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ บุคคลผู้ทิฏฐิปัตตะ เป็นผู้ ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ บุคคลผู้สัทธาวิมุตตเป็นพระสกทาคามี หรือ พระอนาคามี และแม้บุคคลผู้กายสักขีก็พึงเป็นพระสกทาคามี หรือพระอนาคามี ดูกรสารีบุตร การที่จะพยากรณ์ในข้อนี้โดยส่วนเดียวว่า บรรดาบุคคล ๓ จำพวก นี้ บุคคลนี้เป็นผู้งามกว่าและประณีตกว่าไม่ใช่จะทำได้โดยง่ายเลย ฯ
จบสูตรที่ ๑
คิลานสูตร
[๔๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือไม่ได้ก็ ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมไม่หายจากอาพาธนั้นได้เลย คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายหรือ ไม่ได้ก็ตาม ได้เภสัชที่สบายหรือไม่ได้ก็ตาม ได้อุปัฏฐากที่สมควรหรือไม่ได้ก็ตาม ย่อมหายจากอาพาธนั้นได้ คนไข้บางคนในโลกนี้ ได้โภชนะที่สบายจึงหายจาก อาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อ ไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐากที่สมควรจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่ หาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาคนไข้ ๓ จำพวกนั้น เพราะอาศัยคนไข้ผู้ที่ได้ โภชนะที่สบายจึงหายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้เภสัชที่สบายจึง หายจากอาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย ได้อุปัฏฐากที่สมควรจึงจะหายจาก อาพาธนั้น เมื่อไม่ได้ย่อมไม่หาย นี้เราจึงอนุญาตคิลานภัต อนุญาตคิลาน เภสัช อนุญาตคิลานุปัฏฐากไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยคนไข้ เช่นนี้ ถึงคนไข้อื่นก็ควรได้รับการบำรุง ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนไข้ ๓ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลซึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๘.

เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลผู้เปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวกนั้นเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้ เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อม ไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรคได้เลย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคตหรือไม่ได้เห็นก็ตาม ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคต ประกาศแล้วหรือไม่ได้ฟังก็ตาม ย่อมหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค บุคคลบางคนในโลกนี้ ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลงสู่ความเห็น ชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบ ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลงสู่ความเห็นชอบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบุคคลทั้ง ๓ จำพวกนั้น เพราะอาศัยบุคคลผู้ที่ได้เห็นพระตถาคต จึงหยั่งลง สู่ความเห็นชอบในกุศลธรรม คือจตุรมรรค เมื่อไม่ได้เห็นย่อมไม่หยั่งลงสู่ความ เห็นชอบ ได้ฟังธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศแล้ว จึงหยั่งลงสู่ความเห็น ชอบในกุศลธรรม คือ จตุรมรรค เมื่อไม่ได้ฟังย่อมไม่หยั่งลง นี้แล เราจึง อนุญาตการแสดงธรรมไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย และก็เพราะอาศัยบุคคลนี้ จึงควร แสดงธรรมแม้แก่บุคคลอื่นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลซึ่งเปรียบด้วยคนไข้ ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๒
สังขารสูตร
[๔๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่ง กายสังขารที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่ง มโนสังขารที่มีความเบียดเบียน ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๓๙.

ผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกที่มีความ เบียดเบียนนั้น เขาผู้อันผัสสะที่เป็นไปกับด้วยความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อม เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียวเหมือนพวกสัตว์นรก ฉะนั้น บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งวจีสังขารที่ไม่มีความเบียดเบียน ปรุงแต่งมโนสังขารที่ไม่มีความเบียด เบียน ครั้นแล้วเขาย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มีความ เบียดเบียน ย่อมถูกต้องบุคคลผู้เข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียนนั้น เขาผู้อัน ผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมเสวยเวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทวดาสุภกิณหะ ฉะนั้น บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่งวจีสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ปรุงแต่ง มโนสังขารที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วเขาย่อม เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะที่มีความ เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น บุคคลนั้นผู้อัน ผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมเสวย เวทนาอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เจือปนด้วยสุขและ ทุกข์เหมือนมนุษย์ เทวดาบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก ฉะนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
พหุการสูตร
[๔๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า ... พระธรรม ... พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ บุคคลผู้อาศัย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๐.

อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุ- ทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้อาศัย อีกประการหนึ่ง บุคคลอาศัยบุคคลใดแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคลผู้ อาศัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เป็นผู้มีอุปการะมากแก่บุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า บุคคลอื่นจากบุคคล ๓ จำพวกนี้ จะเป็นผู้มี อุปการะมากแก่บุคคลนี้ หามิได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวว่า บุคคลนี้ทำ การตอบแทน คือ ด้วยการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือไหว้ สามีจิกรรม การให้ผ้านุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค แก่บุคคล ๓ จำพวกนี้ มิใช่ง่ายแล ฯ
จบสูตรที่ ๔
วชิรสูตร
[๔๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลที่มีจิตเหมือนแผลเก่า ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนฟ้า แลบ ๑ บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือน แผลเก่าเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ แผลเก่าถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ เข้า ย่อมให้ความหมักหมมมากกว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกเขาว่าแม้เล็กน้อย

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๑.

ก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และ ความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนแผล เก่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลมีจิตเหมือนฟ้าแลบเป็นไฉน บุคคลบางคนใน โลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา บุรุษผู้มีจักษุเห็นรูปในขณะฟ้าแลบ ในเวลากลางคืนซึ่ง มืดมิด ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลผู้มีจิตเหมือนฟ้าแลบ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่มีจิตเหมือนเพชรเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แก้วมณีหรือว่าหินชนิดใดที่เพชรจะทำลายไม่ได้ ไม่มี แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่าบุคคลมีจิตเหมือนเพชร ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๕
เสวิสูตร
[๔๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑. บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้า ไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๒. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๓. บุคคลที่จะต้องสักการะเคารพ แล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวโดยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคล

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๒.

เห็นปานนี้ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ นอกจากจะเอ็นดู อนุเคราะห์กัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเช่นเดียวกับตน โดยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะ เหตุไร เพราะการสนทนา ปรารภศีล จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดยศีล ด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความสำราญ ของเราด้วย การสนทนาปรารภสมาธิ จักมีแก่พวกเราซึ่งเป็นคนเสมอกันโดย สมาธิด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็นความ สำราญของเราด้วย การสนทนา ปรารภปัญญา จักมีแก่เราซึ่งเป็นคนเสมอกัน โดยปัญญาด้วย การสนทนาของเรานั้น จักเป็นถ้อยคำเป็นไปด้วย และจักเป็น ความสำราญของเราด้วย ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควร เข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลที่จะต้องสักการะ เคารพแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยิ่งโดยศีล สมาธิ ปัญญา บุคคลเห็นปานนี้ จักต้องสักการะเคารพแล้วจึงเสพ คบหา เข้าไปนั่ง ใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะอาการเช่นนี้ จักบำเพ็ญศีลขันธ์ที่ยังไม่สมบูรณ์ ให้สมบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์ศีลขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ จักบำเพ็ญ สมาธิขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจักอนุเคราะห์สมาธิขันธ์บริบูรณ์ด้วย ปัญญาในที่นั้นๆ จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือจัก อนุเคราะห์ปัญญาขันธ์ที่บริบูรณ์ด้วยปัญญาในที่นั้นๆ ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรสักการะเคารพ แล้วเสพ คบหา เข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคผู้สุคตพระศาสดา ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลง แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๓.

ในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๖
ชิคุจฉสูตร
[๔๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน โลก ๓ จำพวกเป็นไฉน คือ ๑. บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๒. บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ๓. บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่น่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควร เข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีธรรมเลวทราม ไม่สะอาด มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีการงานลึกลับ ไม่ใช่สมณะ แต่ ปฏิญาณตนว่าเป็นสมณะ ไม่ใช่พรหมจารีบุคคล แต่ปฏิญาณตนว่าเป็นพรหมจารี บุคคล เน่าในภายใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเหมือนหยากเยื่อ บุคคลเห็นปานนี้ ควรเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดี ของเขา ก็ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็นสหาย มีคนชั่ว เป็นเพื่อน เปรียบเหมือนงูที่จมอยู่ในคูถ ถึงแม้จะไม่กัดแต่ก็ทำให้เปื้อนได้ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน แม้บุคคลจะไม่ถึงทิฏฐานุคติ ของบุคคลเห็นปานนี้ก็จริง แต่กิตติศัพท์ที่ไม่ดีของเขา ย่อมระบือไปว่า เป็นผู้มีคนชั่วเป็นมิตร มีคนชั่วเป็น สหาย มีคนชั่วเป็นเพื่อน ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงน่าเกลียด ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรวางเฉย ไม่ควร เสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๔.

เปรียบเหมือนแผลเก่า ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมให้ความหมักหมมยิ่ง กว่าประมาณ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือน ถ่านไม้มะพลับ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบเข้า ย่อมแตกเสียงดังจิๆ แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ เมื่อถูกว่าแม้เพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ และความโทมนัสให้ปรากฏ เปรียบเหมือนหลุมคูถ ถูกไม้หรือกระเบื้องกระทบ เข้าย่อมมีกลิ่นเหม็นฟุ้งขึ้น แม้ฉันใด บุคคลบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้โกรธ มากด้วยความแค้นใจ แม้ถูกว่าเพียงเล็กน้อยก็ข้องใจ โกรธเคือง พยาบาท ขึ้งเคียด ทำความโกรธ ความขัดเคือง และความโทมนัสให้ปรากฏ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเห็นปานนี้ ควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาพึงด่าบ้าง บริภาษบ้าง ทำความ พินาศให้เราบ้าง ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรวางเฉย ไม่ควรเสพ ไม่ควร คบ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ควรเสพ ควรคบ ควร เข้าไปนั่งใกล้ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม บุคคลเห็นปานนี้ ควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะแม้จะไม่ถึงทิฏฐานุคติของบุคคลเห็นปานนี้ก็ตาม ถึงกระนั้น ชื่อเสียงที่ดีงาม ของเขาก็จะระบือไปว่า เป็นผู้มีคนดีเป็นมิตร มีคนดีเป็นสหาย มีคนดีเป็นเพื่อน ฉะนั้น บุคคลเห็นปานนี้ จึงควรเสพ ควรคบ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ บุรุษคบคนเลว ย่อมเลวลง คบคนที่เสมอกัน ย่อมไม่เสื่อม ในกาลไหนๆ คบคนที่สูงกว่า ย่อมพลันเด่นขึ้น เพราะ ฉะนั้น จึงควรคบคนที่สูงกว่าตน ฯ
จบสูตรที่ ๗


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๕๖๔-๓๓๔๘ หน้าที่ ๖๘-๑๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=1564&Z=3348&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=267&items=333&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=267&items=333&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=267&items=333&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=267&items=333&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=267              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :