ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อานันทสูตร
[๔๗๑] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกายอันมีวิญญาณนี้และใน สรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุ พึงเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุหรือหนอ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๕๑.

อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อยู่ ภิกษุพึงเข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วย ประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้ ฯ อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกายอันมีวิญญาณนี้และในสรรพนิมิต ภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้าเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุพึงเข้า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วยประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมี แก่ภิกษุได้อย่างไร ฯ ภ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมคิดเช่นนี้ว่า คุณชาตินี้ เป็นที่สงบระงับ ประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิทั้งมวล ธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับสนิท นิพพาน ดูกรอานนท์ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในสรรพนิมิตภายนอก ไม่พึงมีอหังการ มมังการ และมานานุสัย อนึ่ง อหังการ มมังการ และมานานุสัย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้เข้า เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอยู่ ภิกษุพึงเข้าเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตินั้นอยู่ด้วย ประการใด การได้สมาธิด้วยประการนั้น พึงมีแก่ภิกษุได้ด้วยประการฉะนี้แล ก็แหละเราหมายเอาเช่นนี้ ได้ภาษิตไว้แล้วในปุณณกปัญหาในปารายนสูตร ดังนี้ว่า บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่น และอัตภาพของตนเป็นต้นในโลก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่า บุคคลนั้น สงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริตอันทำให้จิตกลุ้มมัวดุจ ควันไฟ ไม่มีกิเลสอันกระทบใจ หาความทะเยอทะยานมิได้ ห้ามชาติและชราได้แล้ว ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๘๒-๓๕๑๑ หน้าที่ ๑๕๐-๑๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=3482&Z=3511&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=471&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=471&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=471&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=471&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=471              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :