ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๕๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบ
ด้วยองค์ ๓ ประการ ย่อมควรแก่พระราชาเป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้ องค์ ๓ ประการเป็นไฉน คือม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา
ในโลกนี้ เป็นสัตว์สมบูรณ์ด้วยสี ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยฝีเท้า
วิ่งเร็ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วย
องค์ ๓ ประการนี้แล ย่อมควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น นับว่าเป็นราชพาหนะ
โดยแท้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ก็ฉัน
นั้นเหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควร
ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า องค์ ๓ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีลสำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์
ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทาน
ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะ
อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึง
พร้อม มีเรี่ยวแรง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมอยู่ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ
เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของ
ต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ
อาชานิยสูตรที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๖๔๕๕-๖๔๗๘ หน้าที่ ๒๗๕-๒๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=6455&Z=6478&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=536&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=536&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=536&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=536&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=536              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :