ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต

หน้าที่ ๑๔๔.

ภยวรรคที่ ๓
ภยสูตรที่ ๑
[๑๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ อัตตานุวาทภัย ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง ๑ ปรานุวาทภัย ภัยเกิดแต่ผู้อื่น ติเตียน ๑ ทัณฑภัย ภัยเกิดแต่อาญา ๑ ทุคติภัย ภัยเกิดแต่ทุคติ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ก็อัตตานุวาทภัย เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริต ด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนตัวเราจะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้เล่า ดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่การติเตียนตัวเอง จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมรักษาตน ให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าอัตตานุวาทภัย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปรานุวาทภัยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล บางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนคนอื่นจะไม่พึงติเตียน เราโดยศีลได้เล่า ดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่คนอื่นติเตียน จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต บำเพ็ญ มโนสุจริต ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าปรานุวาทภัย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทัณฑภัยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ เห็นเจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้ามาลงกรรมกรณ์ต่างๆ คือโบยด้วย แส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้าง ตัด ทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง ลงกรรมกรณ์ วิธีหม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีปากราหูบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีมาลัยไฟบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีคบมือบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่าย บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีนุ่งเปลือกไม้บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธียืนกวางบ้าง ลงกรรมกรณ์

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๔๕.

วิธีเหยื่อเกี่ยวเบ็ดบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีเหรียญกษาปณ์บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีแปรง แสบบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีถางเวียนบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีตั่งฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมัน กำลังเดือดบ้าง ให้สุนัขกัดบ้าง ให้นอนหงายบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะด้วย ดาบบ้าง บุคคลนั้นจึงมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า เจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้า มาลงกรรมกรณ์ต่างๆ คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เพราะ เหตุแห่งกรรมอันลามกเห็นปานใด ถ้าเราจะพึงทำกรรมอันลามกเห็นปานนั้นบ้าง เจ้านายจะพึงจับเราไปลงกรรมกรณ์ต่างๆ เห็นปานนั้น คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เขากลัวต่อภัยคืออาญา ไม่กล้าฉกชิงทรัพย์ของผู้อื่น นี้เรียกว่าทัณฑภัย ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุคติภัยเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคน ในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริต ในภายหน้า ชั่วร้าย วิบากของวจีทุจริตในภายหน้า ชั่วร้าย วิบากของมโนทุจริตในภายหน้า ชั่วร้าย ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริต ด้วยใจ ข้อนั้นอะไรเล่า เมื่อกายแตกตายไป เราจะพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เขากลัวต่อทุคติภัย ย่อมละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ย่อม ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมบริหาร ตนให้หมดจดได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าทุคติภัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๑


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๓๓๓๘-๓๓๘๐ หน้าที่ ๑๔๔-๑๔๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=3338&Z=3380&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=121&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=121&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=121&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=121&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=121              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :