ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
อุรุเวลสูตรที่ ๒
[๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในคราวแรกตรัสรู้ เราอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ ครั้งนั้นแล พวกพราหมณ์มากด้วยกัน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๕.

เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว เข้าไปหาเรา ครั้นแล้วได้สนทนา ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควร ส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กล่าวกะเราว่า ท่านพระโคดม เราได้สดับมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่อภิวาท ไม่ลุกรับพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัย แล้ว ทั้งไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ ข้อนี้เป็นอย่างที่เราได้สดับมาหรือ การที่ท่าน พระโคดมไม่อภิวาท หรือไม่ลุกรับพวกพราหมณ์ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาล ผ่านวัยแล้ว หรือไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะ นั้นไม่สมควรเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปริวิตกนี้ได้มีแก่เราว่า ท่านเหล่านี้ย่อมไม่รู้ซึ่งเถระ หรือธรรมอันกระทำให้ เป็นเถระ ถ้าแม้บุคคลผู้เฒ่ามีอายุ ๘๐ ปี ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปี แต่เกิดมา แต่ เขามีปรกติพูดในกาลไม่สมควร พูดไม่จริง พูดไม่เป็นประโยชน์ พูดไม่เป็น ธรรม พูดไม่เป็นวินัย กล่าววาจาที่ไม่ควรจดจำไว้ ไม่มีหลักฐาน ไม่มีขอบเขต ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลไม่ควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระ ผู้เขลาโดยแท้ ถ้าแม้เด็กกำลังรุ่น มีผมดำสนิท ยังหนุ่มแน่น อยู่ในปฐมวัย แต่มีปรกติพูดในกาลอันควร พูดจริง พูดเป็นประโยชน์ พูดเป็นธรรม พูดเป็น วินัย กล่าววาจาที่ควรจดจำ มีหลักฐาน มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร เขาย่อมถึงซึ่งกาลนับว่า เป็นเถระผู้ฉลาดโดยแท้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ธรรมอันกระทำให้เป็นเถระ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ และโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขา บททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมซึ่งสุตะ เป็นผู้ได้สดับมา มาก ทรงจำไว้ คล่องปากขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฐิ ซึ่งธรรมอันงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้ง พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ๑ เป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดย ไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ๑

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖.

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔ ประการนี้แล ฯ ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน มีความดำริไม่มั่นคง เช่นกับมฤค ยินดี ในธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมกล่าวคำเพ้อเจ้อเป็นอันมาก ผู้ นั้นมีความเห็นลามก ปราศจากความเอื้อเฟื้อ ตั้งอยู่ไกล จากความเป็นผู้มั่นคง ส่วนผู้ใด สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ สดับ มีปฏิภาณ ประกอบในธรรมอันทำความมั่นคง ย่อม เห็นแจ้งอรรถแห่งอริยสัจด้วยปัญญา เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งธรรม ทั้งปวง ไม่มีกิเลสอันเป็นประดุจหลักตอ มีไหวพริบ มี ชาติและมรณะอันละได้แล้ว เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ สมบูรณ์ เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นเถระ อาสวะของภิกษุใดไม่มี เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนั้นว่าเถระ ฯ
จบสูตรที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๕๕๕-๕๙๕ หน้าที่ ๒๔-๒๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=555&Z=595&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=22&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=22&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=22&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=22&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=22              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :