ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
             [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔
จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวจำพวก ๑ เป็นสมณะ-
*บุณฑริกจำพวก ๑ เป็นสมณะปทุมจำพวก ๑ เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่
สมณะจำพวก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตมรรค ปรารถนาความสิ้นโยคะ
อันยอดเยี่ยมอยู่ บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างไร ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ...
สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดขึ้นแห่ง
วิญญาณเป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ แต่เธอหาได้ถูกต้อง วิโมกข์ ๘
ด้วยนามกายไม่ บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดและความดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ...
สัญญาเป็นดังนี้ ... สังขารเป็นดังนี้ ... วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้ และเธอถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วยนาม
กายอยู่ บุคคลเป็นสมณะปทุมอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก ไม่ได้รับ
ขอร้องย่อมบริโภคแต่น้อย ฯลฯ บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
อย่างนี้แล ฯ
             ก็บุคคลเมื่อจะเรียกบุคคลใดโดยชอบว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ พึงเรียกบุคคลนั้น คือ เรานี่แหละว่า เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ เพราะเราได้รับขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคจีวรเป็นอันมาก ไม่ได้รับขอร้อง
ย่อมบริโภคแต่น้อย ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏ
อยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๑๐
จบมจลวรรคที่ ๔
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. มุสาวาทสูตร ๓. วัณณสูตร ๔. โกธ- *สูตร ๕. ตมสูตร ๖. โอณตสูตร ๗. ปุตตสูตร ๘. สังโยชนสูตร ๙. ทิฏฐิสูตร ๑๐. ขันธสูตร ฯ
-----------------------------------------------------
อสุรวรรคที่ ๕
อสุรสูตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๒๔๖๖-๒๕๐๒ หน้าที่ ๑๐๖-๑๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=2466&Z=2502&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=90&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=90&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=90&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=90&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=90              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :