ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๓. โจรสูตร
[๑๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อม ตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อมทำการปล้น เฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ มหาโจรในโลกนี้เป็นผู้อาศัย ที่ไม่ราบเรียบ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็นผู้ใช้จ่าย โภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างไร คือ มหา- *โจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่ลุ่มแห่งแม่น้ำ หรือที่ไม่ราบเรียบแห่งภูเขา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่ไม่ราบเรียบอย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏแห่งหญ้าบ้าง ที่รกชัฏแห่ง ต้นไม้บ้าง ฝั่งน้ำบ้าง ป่าใหญ่บ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ ย่อม อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจะกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา เหล่านี้จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา พระราชาหรือ มหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้นก็ช่วยว่าความให้แก่เขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหา- *โจรเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล ก็มหาโจรย่อมแจกจ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เขาย่อมมีความคิดอย่าง นี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา เราจักจ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่อง นั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเขา เขาย่อมใช้จ่ายโภคทรัพย์กลบเกลื่อนเรื่อง นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็มหาโจรเป็น ผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ มหาโจรในโลกนี้ เป็นผู้ทำโจรกรรมคนเดียว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขาย่อมปรารถนาว่า เรื่องลับของเราอย่าได้แพร่งพราย ไปภายนอก ดูกรภิกษุทั้งหลาย มหาโจรเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างนี้แล มหาโจรผู้ ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการนี้แล ย่อมตัดที่ต่อบ้าง ย่อมปล้นทำลายบ้าง ย่อม ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้น เหมือนกันแล ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูก กำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึงติเตียน และย่อมประสบ บาปเป็นอันมาก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ ๑ เป็นผู้อาศัยที่รกชัฏ ๑ เป็นผู้อาศัยคนมีกำลัง ๑ เป็น ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ๑ เป็นผู้เที่ยวไปคนเดียว ๑ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่ไม่ สม่ำเสมอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยกรรมที่ไม่สม่ำเสมออย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นมิจฉาทิฐิ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฐิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยที่รกชัฏอย่างนี้ แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น ผู้อาศัยพระราชาบ้าง มหาอำมาตย์แห่งพระราชาบ้าง เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบางอย่างกะเรา พระราชาหรือมหาอำมาตย์แห่งพระราชา เหล่านี้ จักช่วยว่าความให้ ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่างแก่เธอ พระราชาหรือ มหาอำมาตย์แห่งพระราชาเหล่านั้น ย่อมช่วยว่าความให้แก่เธอ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้อาศัยคนมีกำลังอย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างไร คือ ปาปภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เธอย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าใครจักกล่าวหาเรื่องบาง อย่างกะเรา เราจักแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ถ้าใครกล่าวหาเรื่องบางอย่าง กะเธอ เธอย่อมแจกจ่ายลาภกลบเกลื่อนเรื่องนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุ เป็นผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์อย่างนี้แล ก็ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวอย่างไร คือ ปาป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอยู่ชนบทชายแดนรูปเดียว เธอเข้าไปหาสกุล (บ้าน ญาติโยม) ในชนบทนั้น ย่อมได้ลาภ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุเป็นผู้เที่ยวไป คนเดียวอย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาปภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ มีข้อที่วิญญูชนจะพึง ติเตียน และประสบบาปเป็นอันมาก ฯ
จบสูตรที่ ๓


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๒๙๕๐-๓๐๐๒ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=2950&Z=3002&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=103&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=103&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=103&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=103&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=103              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :