ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๔. โมคคัลลานสูตร
[๓๐๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระมหา โมคคัลลานะหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เทวดา เหล่าไหนหนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ก็สมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าติสสะทำกาละ ไม่นาน ได้เข้าถึงพรหมโลกชั้นหนึ่ง ณ พรหมโลกแม้ชั้นนั้น เทวดา ทั้งหลาย ย่อมรู้จักพรหมผู้นั้นอย่างนี้ว่า ติสสพรหม เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้หายจากพระวิหารเชตวันไปปรากฏในพรหมโลก เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ติสสพรหมได้เห็นท่านพระโมคคัลลานะมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ นิมนต์มาเถิด ท่านมาดีแล้ว ท่านได้ทำ ปริยายในการมา ณ ที่นี้นานนักแล นิมนต์นั่งเถิดขอรับ นี้อาสนะปูลาดไว้แล้ว ท่าน พระมหาโมคคัลลานะได้นั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ แม้ติสสพรหมอภิวาทท่านพระ มหาโมคคัลลานะแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะได้ถามว่า ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นไหนหนอ ย่อมมีญาณ อย่างนี้ว่าเราเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็น เบื้องหน้า ติสสพรหมได้ตอบว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดา ชั้นจาตุมหาราชแล ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ม. ดูกรติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชทั้งปวงทีเดียวหรือหนอ ย่อม มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ติ. ข้าแต่ท่านโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นจาตุมหาราชมิใช่ทั้งปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้น จาตุมหาราชเหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ไม่ประกอบด้วยความ เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นจาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มี ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้น จาตุมหาราชเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้น จาตุมหาราชเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตก ต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ม. ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นจาตุมหาราชเท่านั้นหรือหนอ ย่อม มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า หรือว่าแม้เทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯลฯ แม้เทวดาชั้นยามา ฯลฯ แม้เทวดาชั้นดุสิต ฯลฯ แม้เทวดาชั้นนิมมานรดี ฯลฯ แม้เทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัสดี ก็มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ เป็นเบื้องหน้า ฯ ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ แม้เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี ก็ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้ เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ม. ดูกรท่านติสสพรหม เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีทั้งปวงทีเดียวหรือ หนอ ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ติ. ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดี มิใช่ทั้งปวง ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่าใด ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่น ไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ไม่ประกอบด้วยศีลที่พระ อริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่านั้น ย่อมไม่มีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็น พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า พอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่านั้น ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระ โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ฯ ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของ ติสสพรหมแล้วหายจากพรหมโลก ไปปรากฏ ณ พระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๔


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๗๘๐๖-๗๘๖๗ หน้าที่ ๓๔๒-๓๔๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=7806&Z=7867&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=305&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=305&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=305&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=305&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=305              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :