ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. กุมารลิจฉวีสูตร
[๕๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตร และจีวร เสด็จเข้าไปสู่เมืองเวสาลี เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสด็จกลับจากบิณฑบาต แล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จเข้าไปยังป่ามหาวัน ประทับนั่งพักผ่อนกลางวันที่โคน ต้นไม้ต้นหนึ่ง ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีกุมารหลายคนถือธนูที่ขึ้นสาย มีฝูงสุนัข แวดล้อม เดินเที่ยวไปในป่ามหาวัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคประทับนั่งอยู่ที่โคน ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วจึงวางธนูที่ขึ้นสาย ปล่อยฝูงสุนัขไป ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ต่างนั่งนิ่งประนม อัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ก็สมัยนั้น เจ้าลิจฉวีนามว่ามหานามะ เดินพักผ่อน อยู่ในป่ามหาวัน ได้เห็นเจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านั้นผู้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้ พระผู้มีพระภาค แล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้เปล่งอุทานว่า เจ้าวัชชีจักเจริญๆ พระผู้มี พระภาคตรัสถามว่า ดูกรมหานามะ ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า เจ้าวัชชีจักเจริญๆ ฯ ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ เป็นผู้ดุร้าย หยาบคาย กระด้าง ของขวัญต่างๆ ที่ส่งไปในตระกูลทั้งหลาย คือ อ้อย พุทรา ขนม ขนมต้ม หรือขนมแดกงา เจ้าลิจฉวีกุมารเหล่านี้ย่อมแย่งชิงกิน ย่อมเตะหลัง หญิงแห่งตระกูลบ้าง เตะหลังกุมารีแห่งตระกูลบ้าง แต่บัดนี้ เจ้าลิจฉวีกุมาร เหล่านี้ต่างนั่งนิ่งประนมอัญชลีอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค ฯ พ. ดูกรมหานามะ ธรรม ๕ ประการมีอยู่แก่กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง เป็น ขัตติยราช ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ตาม ผู้ปกครองรัฐ ซึ่งรับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม เป็นผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม หัวหน้าพวกก็ตาม ผู้เป็น ใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม กุลบุตรนั้นพึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรมหานามะ กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา มารดาบิดา ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลัง แขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม มารดาบิดา ผู้ได้รับการสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วย น้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันมารดาบิดาอนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา บุตร ภรรยา ทาส กรรมกร และคนใช้ ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดย ชอบธรรม บุตร ภริยา ทาส กรรมกร และคนใช้ ผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิต ยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันบุตร ภริยา ทาส กรรมกร และคนใช้ อนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงาน ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้น ด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานผู้ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อม อนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเพื่อนชาวนา และคนที่ร่วมงานอนุเคราะห์แล้ว พึงหวังได้รับความ เจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา เทวดาผู้รับ พลีกรรม ด้วยโภคทรัพย์ที่หามาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลัง แขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เทวดาผู้รับ พลีกรรม ได้รับสักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรผู้อันเทวดาอนุเคราะห์ แล้ว พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ อีกประการหนึ่ง กุลบุตรย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา สมณพราหมณ์ ด้วยโภคทรัพย์ที่หาได้ด้วยความหมั่น ความขยัน สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนของตน ได้มาโดยอาบเหงื่อต่างน้ำ ชอบธรรม ได้มาโดยธรรม สมณพราหมณ์ผู้ได้รับ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาแล้ว ย่อมอนุเคราะห์กุลบุตรนั้นด้วยน้ำใจอันงามว่า ขอจงมีชีวิตยืนนาน มีอายุยืนนาน กุลบุตรอันสมณพราหมณ์อนุเคราะห์แล้ว พึง หวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ดูกรมหานามะ ธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมมีอยู่แก่กุลบุตรคนใดคนหนึ่ง เป็นขัตติยราช ผู้ได้รับมูรธาภิเษกก็ตาม ผู้ปกครอง รัฐซึ่งได้รับมรดกจากบิดาก็ตาม เป็นอัครเสนาบดีก็ตาม ผู้ปกครองหมู่บ้านก็ตาม หัวหน้าพวกก็ตาม ผู้เป็นใหญ่เฉพาะตระกูลก็ตาม พึงหวังได้รับความเจริญส่วนเดียว ไม่มีเสื่อม ฯ กุลบุตรผู้โอบอ้อมอารี มีศีล ย่อมทำการงานแทนมารดาบิดา บำเพ็ญประโยชน์แก่บุตร ภริยา แก่ชนภายในครอบครัว แก่ผู้อาศัยเลี้ยงชีพ แก่ชนทั้งสองประเภท กุลบุตรผู้เป็น บัณฑิต เมื่ออยู่ครองเรือนโดยธรรม ย่อมยังความยินดีให้ เกิดขึ้นแก่ญาติทั้งที่ล่วงลับไปทั้งที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันแก่ สมณพราหมณ์ เทวดา กุลบุตรนั้นครั้นบำเพ็ญกัลยาณธรรม แล้ว เป็นผู้ควรบูชา ควรสรรเสริญ บัณฑิตทั้งหลายย่อม สรรเสริญเขาในโลกนี้ เขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใจ ในสวรรค์ ฯ
จบสูตรที่ ๘


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๑๗๔๒-๑๘๑๒ หน้าที่ ๗๕-๗๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=1742&Z=1812&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=58&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=58&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=58&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=58&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=58              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :