ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
ปุณณิยสูตร
[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยเครื่องให้พระธรรม เทศนาแจ่มแจ้งกะพระตถาคตในกาลบางคราว ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว พระผู้มี- *พระภาคตรัสว่า ดูกรปุณณิยะ ภิกษุมีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา พระธรรมเทศนา จึงไม่แจ่มแจ้งกะพระตถาคตก่อน แต่ในกาลใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงจะแจ่มแจ้งกะพระตถาคต ดูกรปุณณิยะ ภิกษุ มีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้านั่งใกล้ ... เข้านั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ... สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตฟังธรรม ... เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้วไม่ทรงจำ ธรรมไว้ ... ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ ... พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ... รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มี วาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่ หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ... เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง แต่ไม่เป็นผู้ชี้แจงเพื่อน- *พรหมจรรย์ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง พระธรรม เทศนาจึงไม่แจ่มแจ้งกะพระตถาคตก่อน ดูกรปุณณิยะ แต่ในกาลใด ภิกษุเป็น ผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้านั่งใกล้ สอบถามเงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำ ธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง เป็นผู้ชี้แจงเพื่อนพรหมจรรย์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงแจ่มแจ้งกะพระตถาคต ดูกร ปุณณิยะ พระธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงแจ่มแจ้งกะ พระตถาคตโดยส่วนเดียว ฯ
จบสูตรที่ ๓


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๓๕๘๙-๓๖๑๔ หน้าที่ ๑๕๕-๑๕๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=3589&Z=3614&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=83&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=83&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=83&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=24&item=83&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=83              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :