ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
๘. คณิกาสูตร
[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาป- *สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยาคนหนึ่ง เกิดความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ประหัตประหารกันและกัน ด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดิน บ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาตราบ้าง นักเลงเหล่านั้นถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้าภิกษุมากรูปด้วยกัน นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตใน พระนครราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ในพระนคร ราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยาคนหนึ่ง ... ถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง พระเจ้าข้า ฯ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทาน นี้ในเวลานั้นว่า เบญจกามคุณ ที่บุคคลถึงแล้วและที่บุคคลจะพึงถึง ทั้งสอง นี้เกลื่อนกล่นแล้วด้วยธุลี คือ ราคะ แต่บุคคลผู้เร่าร้อน สำเหนียกตามอยู่ อนึ่ง การศึกษาอันเป็นสาระ ศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ การอุปัฏฐากอันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุดที่ ๑ อนึ่ง การประกอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม ของบุคคลผู้ที่ กล่าวอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี นี้เป็นส่วนสุดที่ ๒ ส่วนสุด ทั้งสองนี้เป็นที่เจริญแห่งตัณหาและอวิชชาอย่างนี้ ตัณหาและ อวิชชาย่อมยังทิฐิให้เจริญ สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ส่วน สุดทั้งสองนั้น ย่อมจมอยู่ (ในสงสารด้วยอำนาจการถือมั่น สัสสตทิฐิ) สมณพราหมณ์บางพวกย่อมแล่นไป (ด้วยอำนาจ การถือมั่นอุจเฉททิฐิ) ส่วนท่านผู้ที่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น และได้สำคัญด้วยการ ละส่วนสุดทั้งสองนั้น วัฏฏะของท่านผู้ที่ดับไม่มีเชื้อเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติ ฯ
จบสูตรที่ ๘


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๓๖๘๙-๓๗๑๙ หน้าที่ ๑๖๐-๑๖๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=3689&Z=3719&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=144&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=144&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=144&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=144&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=144              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :