ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
             [๒๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย
อะไรเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว อนึ่ง อะไรเป็นส่วนแห่งการ
ตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย พระเจ้าข้า ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วน
แห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย เทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ย่อมได้ศรัทธา
ในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภที่เทวดาทั้งหลาย
ได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูลเกิดแล้วประดิษฐาน
มั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก พึงนำ
ไปไม่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดา
ทั้งหลาย ฯ
                          เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิกายเพราะความสิ้นอายุ
                          เมื่อนั้น เสียง ๓ อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี
                          ย่อมเปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจากเทวโลกนี้ไป
                          แล้วจงถึงสุคติ จงถึงความเป็นสหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิด
                          ท่านเป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งในพระสัทธรรม
                          ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็นคุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิดแล้ว
                          มั่นคงในพระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว อันใครๆ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๖๙.

พึงนำไปมิได้ตลอดชีพ ท่านจงละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และอย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบ ด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจาให้มาก กระทำกุศล ด้วยใจหาประมาณมิได้ หาอุปธิมิได้ แต่นั้นท่านจงกระทำบุญ อันให้เกิดสมบัตินั้นให้มาก ด้วยทาน แล้วยังสัตว์แม้เหล่า อื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด เทวดา พึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น ย่อมพลอยยินดีด้วยความ อนุเคราะห์นี้ว่า แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อยๆ ฯ
จบสูตรที่ ๔


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๖๐๘๓-๖๑๐๙ หน้าที่ ๒๖๘-๒๖๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6083&Z=6109&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=262&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=262&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=262&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=262&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=262              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :