ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
รวมพระสูตรที่มีในสุตตนิบาตนี้ คือ
[๔๔๔] ๑. อุรคสูตร ๒. ธนิยสูตร ๓. ขัคควิสาณสูตร ๔. กสิภารทวาชสูตร ๕. จุนทสูตร ๖. ปราภวสูตร ๗. วสลสูตร ๘. เมตตสูตร ๙. เหมวตสูตร ๑๐. อาฬวกสูตร ๑๑. วิชยสูตร ๑๒. มุนีสูตร วรรคที่ ๑ นี้มีเนื้อความ ดีมาก รวมพระสูตรได้ ๑๒ สูตร พระผู้มีพระภาคผู้มี- พระจักษุหามลทินมิได้ ทรงจำแนกแสดงไว้ดีแล้ว บัณฑิต ทั้งหลายได้สดับกันมาว่า อุรควรรค ฯ ๑. รตนสูตร ๒. อามคันธสูตร ๓. หิริสูตร ๔. มังคลสูตร ๕. สุจิโลมสูตร ๖. ธรรมจริยสูตร ๗. พราหมณธรรม-

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๔๙๙.

มิกสูตร ๘. นาวาสูตร ๙. กึสีลสูตร ๑๐. อุฏฐานสูตร ๑๑. ราหุลสูตร ๑๒. วังคีสสูตร ๑๓. สัมมาปริพพาชนียสูตร ๑๔. ธรรมิกสูตร วรรคที่ ๒ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๔ สูตร พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ในวรรคที่ ๒ นั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววรรคที่ ๒ นั้นว่า จุฬกวรรค ฯ ๑. ปัพพัชชาสูตร ๒. ปธานสูตร ๓. สุภาษิตสูตร ๔. สุนทริกสูตร ๕. มาฆสูตร ๖. สภิยสูตร ๗. เสลสูตร ๘. สัลลสูตร ๙. วาเสฏฐสูตร ๑๐. โกกาลิกสูตร ๑๑. นาลกสูตร ๑๒. ทวยตานุปัสสนาสูตร วรรคที่ ๓ นี้ รวมพระสูตรได้ ๑๒ สูตร พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ ดีแล้วในวรรคที่ ๓ บัณฑิตได้สดับกันมามีชื่อว่า มหาวรรค ฯ ๑. กามสูตร ๒. คุหัฏฐกสูตร ๓. ทุฏฐัฏฐกสูตร ๔. สุทธัฏฐกสูตร ๕. ปรมัฏฐกสูตร ๖. ชราสูตร ๗. ติสสเมตเตยยสูตร ๘. ปสูรสูตร ๙. มาคันทิยสูตร ๑๐. ปุราเภทสูตร ๑๑. กลหวิวาทสูตร ๑๒. จูฬวิยูหสูตร ๑๓. มหาวิยูหสูตร ๑๔. ตุวฏกสูตร ๑๕. อัตตทัณฑสูตร ๑๖. สาริปุตตสูตร วรรคที่ ๔ นี้รวมพระสูตรได้ ๑๖ สูตร พระผู้มีพระภาคทรงจำแนกไว้ดีแล้วในวรรคที่ ๔ บัณฑิต- ทั้งหลายกล่าววรรคที่ ๔ นั้นว่า อัฏฐกวรรค ฯ พระผู้มีพระภาคผู้ประเสริฐในคณะ ประทับอยู่ ณ ปาสาณก- เจดีย์อันประเสริฐ อันบุคคลตกแต่งไว้ดีแล้ว ในมคธชนบท เป็นรัมณียสถาน เป็นประเทศอันสวยงาม เป็นที่อยู่อาศัย แห่งบุคคลผู้มีบุญอันได้กระทำไว้แล้ว อนึ่ง ได้ยินว่า พระผู้มี พระภาคอันพราหมณ์ ๑๖ คน ทูลถามปัญหาแล้ว ได้ทรง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๐๐.

ประกาศประทานธรรมกะชนทั้งสองพวกผู้มาประชุมกันเต็มที่ ณ ปาสาณกเจดีย์ ในบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ เพราะการ ถามโสฬสปัญหา พระผู้มีพระภาคผู้ทรงชนะ ผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงธรรมอันประกาศอรรถบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เป็นที่เกิดความเกษมอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก พระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันวิจิตร ด้วยธรรมเป็นอันมาก เป็นเหตุให้ปลดเปลื้องกิเลสทั้งปวง ได้ทรงแสดงพระสูตร อันประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ และ อรรถ มีความเปรียบเทียบซึ่งหมายรู้กันแล้วด้วยอักขระอัน มั่นคง เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก พระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันไม่มี มลทินเพราะมลทินคือราคะ มลทินคือโทสะ มลทินคือโมหะ เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน เป็นส่วนแห่งความ แจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก ได้ทรงแสดงพระสูตรอัน ประเสริฐ อันไม่มีมลทินเพราะมลทินคือกิเลส มลทินคือ ทุจริต เป็นส่วนแห่งธรรมปราศจากมลทิน เป็นส่วนแห่ง ความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก ได้ทรงแสดงพระสูตร อันประเสริฐเป็นเหตุปลดเปลื้องอาสวะ กิเลสเป็นเครื่องผูก กิเลสเป็นเครื่องประกอบ นิวรณ์ และมลทินทั้ง ๓ ของ โลกนั้น พระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตร อันประเสริฐหามลทินมิได้ เป็นเครื่องบรรเทาความเศร้า หมองทุกอย่าง เป็นเครื่องคลายความกำหนัด ไม่มีความ หวั่นไหว ไม่มีความโศก เป็นธรรมอันละเอียด ประณีตและ เห็นได้ยาก ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ อันหักราน

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๕๐๑.

ราคะและโทสะให้สงบ เป็นเครื่องตัดกำเนิด ทุคติ วิญญาณ ๕ ความยินดีในพื้นฐาน คือ ตัณหา เป็นเครื่องต้านทานและเป็น เครื่องพ้น ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ลึกซึ้งเห็น ได้ยากและละเอียดอ่อน มีอรรถอันละเอียดบัณฑิตควรรู้แจ้ง เป็นส่วนแห่งความแจ่มแจ้งแห่งวิจารณญาณของโลก ได้ทรง แสดงพระสูตรอันประเสริฐ ดุจดอกไม้เครื่องประดับอันยั่งยืน ๙ ชนิด อันจำแนกอินทรีย์ ฌานและวิโมกข์ มีมรรคมีองค์ ๘ เป็นยานอย่างประเสริฐ พระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรง แสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปราศจากมลทิน บริสุทธิ์ เปรียบด้วยห้วงน้ำวิจิตรด้วยรตนะ เสมอด้วยดอกไม้ มีเดช อันเปรียบด้วยพระอาทิตย์ พระผู้มีพระภาคผู้เลิศกว่าสัตว์ ได้ทรงแสดงพระสูตรอันประเสริฐ ปลอดโปร่ง เกษม ให้สุข เย็นสงบ มีประโยชน์อย่างยิ่งในการต่อต้านมัจจุ เป็นเหตุ ให้เห็นนิพพานอันดับกิเลสสนิทดีแล้วของโลกนั้น ฯ
จบสุตตนิบาต
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๕๔๐-๑๑๖๑๓ หน้าที่ ๔๙๘-๕๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=11540&Z=11613&bgc=seashell&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=444&items=1&bgc=seashell&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=25&item=444&items=1&bgc=seashell&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=25&item=444&items=1&bgc=seashell&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=25&item=444&items=1&bgc=seashell&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=444&bgc=seashell              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_25

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :