ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา

หน้าที่ ๒๙๕.

เถรคาถา นวกนิบาต
๑. ภูตเถรคาถา
คาถาสุภาษิตของพระภูตเถระ
[๓๖๙] เมื่อใด บัณฑิตกำหนดรู้ทุกข์ในเบญจขันธ์ที่ปุถุชนทั้งหลายไม่รู้แจ้งว่า ความแก่และความตายนี้เป็นทุกข์ แล้วจมอยู่ เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ประสบความยินดีในเบญจขันธ์นั้น ยิ่งไปกว่าความยินดี ในวิปัสสนาและในมรรคผล เมื่อใด บัณฑิตละตัณหาอันนำทุกข์มา ให้ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ นำมาซึ่งทุกข์อันเกิดเพราะความต่อเนื่อง แห่งธรรม เป็นเครื่องเนิ่นช้า เป็นผู้มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อม ไม่ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตถูกต้อง ทางอันสูงสุดเป็นทางปลอดโปร่ง ให้ถึงองค์ ๒ และองค์ ๔ เป็นที่ชำระ กิเลสทั้งปวง ด้วยปัญญา มีสติเพ่งพินิจอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบ ความยินดียิ่งไปกว่าการเพ่งพินิจพิจารณานั้น เมื่อใด บัณฑิตเจริญ สันตบทอันไม่ทำให้เศร้าโศก ปราศจากธุลีอันปัจจัยอะไรๆ ปรุงแต่ง ไม่ได้ ให้หมดจดจากกิเลสทั้งปวง เป็นเครื่องตัดกิเลสเครื่องผูกพัน คือสังโยชน์ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดียิ่งไปกว่าการเจริญ สันตบทนั้น เมื่อใด กลอง คือ เมฆอันเกลื่อนกล่นด้วยสายฝน ย่อม คำรนร้องอยู่ในนภากาศ อันเป็นทางไปแห่งฝูงนกอยู่โดยรอบ และภิกษุ ไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดี อย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการเพ่งธรรมนั้น เมื่อใด บัณฑิตมีจิตเบิกบาน นั่งเพ่ง พิจารณาธรรมอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำทั้งหลาย อันดารดาษไปด้วยดอกโกสุม และดอกมะลิที่เกิดในป่า อันวิจิตรงดงาม ย่อมไม่ได้ประสบ ความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการนั่งเพ่งพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๖.

มีฝนฟ้าร้องในเวลาราตรี ฝูงสัตว์ที่มีเขี้ยว ก็พากันยินดีอยู่ใน ป่าใหญ่ และภิกษุไปเพ่งพิจารณาธรรมอยู่ที่เงื้อมเขา เมื่อนั้น ย่อม ไม่ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณาธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุกำจัดวิตกทั้งหลายของตน เข้าไปสู่ถ้ำภายในภูเขา ปราศจาก ความกระวนกระวายใจ ปราศจากกิเลสอันตรึงใจ เพ่งพิจารณาธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการพิจารณา ธรรมนั้น เมื่อใด ภิกษุมีความสุข ยังมลทินกิเลสอันตรึงจิตและความ โศกให้พินาศ ไม่มีกลอนประตู คือ อวิชชา ไม่มีป่า คือ ตัณหา ปราศจากลูกศร คือ กิเลส เป็นผู้ทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้นไป เพ่งพิจารณา ธรรมอยู่ เมื่อนั้น ย่อมไม่ได้ประสบความยินดีอย่างอื่น ยิ่งไปกว่าการ เพ่งพิจารณาธรรมนั้น.
-----------------------------------------------------
พระภูตเถระผู้เห็นธรรมโดยถ่องแท้ เป็นผู้เดียวดุจนอแรด ได้ ภาษิตคาถา ๙ คาถานี้ไว้ในนวกนิบาต ฉะนี้แล.
จบ นวกนิบาต.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๖๘๗๔-๖๙๑๒ หน้าที่ ๒๙๕-๒๙๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=6874&Z=6912&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=369&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=369&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=369&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=26&item=369&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=369              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :