ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
๑๑. นาคเปตวัตถุ
ว่าด้วยบุพกรรมของเปรตกินน้ำเลือดน้ำหนอง
สามเณรถามว่า [๙๖] คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่งขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดรไปท่ามกลาง นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทศทิศ ส่วน ท่านทั้งหลายมือถือค้อนเดินร้องไห้ มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัวเป็น แผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบาปอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกิน โลหิตของกันและกัน เพราะกรรมอะไร? เปรตทั้งสองได้ฟังสามเณรถามจึงตอบว่า ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชรมี ๔ เท้าไปข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของ ข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเป็นมนุษย์เขาได้ถวายทานแก่สงฆ์ จึงได้รับความสุข บันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยม้าอัสดร ๔ ม้า แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเขาเป็นมนุษย์เป็นคนไม่ ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งโรจน์อยู่ นารีที่มีปัญญา ดวงตากลมงาม รุ่งเรืองดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง ผู้นั้นเป็นธิดาคนสุดท้ายของข้าพเจ้า ทั้งสอง นางมีความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อ ก่อนเขาทั้งสามมีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วน ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขาทั้ง สามนี้ถวายทานแล้ว บำรุงบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้า ทั้งสองซูบซีดอยู่ ดุจไม้อ้ออันไฟไหม้ ฉะนั้น. สามเณรถามว่า อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรม อย่างยิ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไร เมื่อโภคะเป็นอันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านหน่ายสุข ได้เสวยทุกข์ในวันนี้? เปรตทั้งสองตอบว่า ข้าพเจ้าทั้งสองดีซึ่งกันและกัน แล้วกินหนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและเลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิวอยู่เป็น นิจ สัตว์ทั้งหลายไม่ให้ทาน ละไปแล้ว เกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้าทั้งสองฉะนั้น สัตว์เหล่าใด ได้ประสบโภคะต่างๆ แล้ว ไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้นจักต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความหิวแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรมทั้งหลาย มีผลเผ็ดร้อน มีทุกข์เป็นกำไรแล้ว ย่อมได้เสวยทุกข์ ก็บัณฑิตทั้งหลาย รู้ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษย์ โลกนี้เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์และข้าวเปลือกและชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่าง หนึ่ง จากสิ่งนอกนี้แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาด ในธรรม ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว มารู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่า นั้นย่อมไม่ประมาทในทาน.
จบ นาคเปตวัตถุที่ ๑๑.


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ บรรทัดที่ ๓๑๘๒-๓๒๑๙ หน้าที่ ๑๓๐-๑๓๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=26&A=3182&Z=3219&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=96&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=26&item=96&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=26&item=96&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=26&item=96&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=96              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ http://84000.org/tipitaka/read/?index_26

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :