ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. โกสัมพิยชาดก
อยู่คนเดียวดีกว่าร่วมกับคนพาล
[๑๒๑๖] คนพาลมีเสียงอื้ออึงเหมือนกันหมด สักคนหนึ่งก็ไม่รู้สึกตนว่าเป็นคน พาล เมื่อสงฆ์แตกกัน ก็ไม่รู้เหตุอื่นโดยยิ่งกว่าสงฆ์แตกกันเพราะเรา. [๑๒๑๗] เพราะเป็นคนมีสติหลงลืม ยังพูดว่าตนเป็นบัณฑิต มีวาจาเป็นโคจร ช่าง พูด ย่อมปรารถนาจะให้เสียงออกจากปากอยู่เพียงใด ก็พูดไปเพียงนั้น เขาถูกความทะเลาะนำไปแล้ว ยังไม่รู้ว่าการทะเลาะนั้นเป็นโทษ. [๑๒๑๘] ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตี เรา คนโน้นได้ชำนะเรา คนโน้นได้ลักของๆ เรา เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่ระงับเลย. [๑๒๑๙] ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า คนโน้นด่าเรา คนโน้น ได้ตีเรา คนโน้นได้ชำนะเรา คนโน้นได้ลักของๆ เรา เวรของชน เหล่านั้นย่อมระงับไป. [๑๒๒๐] ในกาลไหนๆ เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย แต่ย่อมระงับ เพราะความไม่มีเวร ธรรมนี้เป็นของเก่า. [๑๒๒๑] ก็ชนเหล่าอื่นย่อมไม่รู้สึกว่า พวกเราจะพากันยุบยับในท่ามกลางสงฆ์นี้ ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้นย่อมรู้สึกได้ ความหมายมั่นกันย่อมสงบระงับ ไป เพราะการทำไว้ในใจโดยแยบคายของชนเหล่านั้น. [๑๒๒๒] คนที่ปล้นแว่นแคว้น ชิงทรัพย์สมบัติตัดกระดูกกัน ปลงชีวิตกัน ก็ ยังกลับสามัคคีกันได้ เหตุไรเธอทั้งหลายจึงไม่สามัคคีกันเล่า? [๑๒๒๓] ถ้าจะพึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงครอบงำอันตรายทั้งปวงเสีย แล้วดีใจ มีสติเที่ยวไป กับสหายนั้น. [๑๒๒๔] ถ้าไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา เป็นนักปราชญ์เที่ยวไปร่วมกัน ผู้มีปกติ อยู่ด้วยกรรมดี พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนพระราชาทรงสละ แว่นแคว้นเสด็จไปแต่พระองค์เดียว หรือเหมือนช้างมาตังคะเที่ยวไปใน ป่าแต่เชือกเดียว ฉะนั้น. [๑๒๒๕] การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องความเป็นสหายย่อมไม่ มีในคนพาล ควรเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแต่ไม่ควรทำบาป เหมือนช้างมาตังคะ มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปในป่า ไม่ทำกรรมชั่ว ฉะนั้น.
จบ โกสัมพิยชาดกที่ ๒.


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๕๑๒๗-๕๑๕๗ หน้าที่ ๒๓๘-๒๓๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=5127&Z=5157&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=1216&items=10              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=1216&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1216&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=27&item=1216&items=10              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1216              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :