ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๒๒๐๘] 	เทพบุตรผู้มีฤทธิ์มาก จุติจากพรหมโลกแล้วมาเกิดเป็นโอรสของพระราชา
                          ผู้ทรงดำรงอยู่ในพระราชสมบัติอันเพรียบพร้อมด้วยสรรพกามคุณก็ดี
                          ความสำคัญในกามก็ดี มิได้มีในพรหมโลก พระราชกุมารนั้นจึงเกลียด
                          ชังกามทั้งหลาย ด้วยสัญญาอันเกิดในพรหมโลกนั้น. พระราชบิดารับ
                          สั่งให้สร้างฌานาคารไว้ภายในพระราชฐาน สำหรับพระราชกุมารนั้นทรง
                          หลีกเร้นบำเพ็ญฌานในอาคารนั้นพระองค์เดียว. พระราชาทรงอัดอั้นตัน
                          พระทัยด้วยความโศกถึงพระโอรส ทรงปริเทวนาการว่า ลูกคนเดียว
                          ของเรานี้ ไม่บริโภคกามารมณ์เลย. อุบายที่จะทำให้ลูกเราบริโภค
                          กามารมณ์นี้ มีอยู่อย่างไรบ้างหนอ หรือว่าเราจะรู้เหตุที่จะทำให้ลูกเราพัว
                          พันอยู่ในอารมณ์ได้ หรือว่าผู้ใดจะประเล้าประโลมลูกเราให้ปรารถนา
                          กามารมณ์ได้อย่างไรบ้าง?
             [๒๒๐๙] 	ภายในพระราชฐานนั้นเอง มีกุมารีคนหนึ่งมีฉวีวรรณงดงาม รูปร่าง
                          สะสวย ฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และชำนาญในการดีดสีตีเป่า
                          เธอเข้าไปในพระราชฐานนั้นแล้วกราบทูลพระราชาว่า เกล้ากระหม่อมฉัน
                          พึงประเล้าประโลมพระราชกุมารนั้นได้ ถ้าพระราชกุมารนั้นจะเป็น
                          พระสวามีของเกล้ากระหม่อมฉัน.
             [๒๒๑๐] 	พระราชาจึงตรัสกะนางกุมาริกาผู้กล่าวยืนยันเช่นนี้ว่า เธอจงประเล้า
                          ประโลมลูกของเรา ลูกของเราจักเป็นสามีของเจ้า.
             [๒๒๑๑] 	นางกุมารีนั้นได้เข้าไปภายในพระราชฐานแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาหัวเราะ
                          จับจิตใจ ยั่วยวนชวนให้รักใคร่ เปลี่ยนแปลงขับรำอันประกอบด้วย
                          กามารมณ์มากอย่าง.
             [๒๒๑๒] 	กามฉันทะก็บังเกิดแก่พระราชกุมารนั้น เพราะได้ทรงสดับเสียงของ
                          นางกุมารีผู้ขับกล่อมอยู่ พระราชกุมารจึงตรัสถามคนที่อยู่ใกล้เคียงดูว่า
                          โอ นั่นเสียงใคร หรือใครนั่นมาขับร้องเสียงสูงต่ำจับจิตใจยั่วยวนชวน
                          ให้รักใคร่ เพราะหูของเรานัก?
             [๒๒๑๓] 	ขอเดชะเสียงนี้น่ายินดี ให้สนุกสนานได้มิใช่น้อย ถ้าพระองค์พึง
                          บริโภคกามคุณไซร้ กามทั้งหลายจะพึงพอพระทัยพระองค์เป็นอย่างยิ่ง.
             [๒๒๑๔] 	เชิญมาภายในนี้ จงมาขับร้องใกล้ๆ เรา เลื่อนเข้ามาขับใกล้ตำหนักของ
                          เรา จงขับกล่อมใกล้ที่บรรทมของเรา.
             [๒๒๑๕] 	นางกุมารีนั้น เข้าไปขับกล่อมภายนอกฝาห้องบรรทม แล้วเลื่อนเข้าไป
                          ณ ตำหนักฌานาคารโดยลำดับ จนผูกพระราชกุมารไว้ได้ เหมือนนาย
                          หัตถาจารย์จับคชสารป่ามัดไว้ ฉะนั้น.
             [๒๒๑๖] 	เพราะรู้กามรสแห่งนางกุมารีนั้น อธรรม คือ ความริษยา ได้เกิดขึ้นแก่
                          พระราชกุมารว่า เราเท่านั้นพึงได้บริโภคกาม อย่าได้มีบุรุษคนอื่นเลย.
                          ต่อแต่นั้นมา พระราชกุมารทรงถือเอาดาบเล่มหนึ่งแล้ว เสด็จไปเพื่อ
                          จะฆ่าบุรุษทั้งหลายเสีย ด้วยทรงคิดว่า เราจักบริโภคกามแต่คนเดียว
                          อย่าพึงมีบุรุษคนอื่นอยู่เลย.
             [๒๒๑๗] 	ต่อมานั้น ชาวชนบททั้งปวงจึงมาประชุม ถวายเรื่องราวร้องทุกข์ว่า
                          ข้าแต่พระมหาราชา พระราชโอรสของพระองค์นี้ ทรงเบียดเบียนผู้หา
                          โทษมิได้ พระเจ้าข้า.
             [๒๒๑๘] 	จอมขัตติยราชทรงเนรเทศพระราชกุมารออกไปจากรัฐสีมาของพระองค์
                          แล้ว มีพระราชโองการว่า อาณาเขตของเรามีอยู่เพียงใด เจ้าอย่าอยู่ใน
                          อาณาเขตของเราเพียงนั้น.
             [๒๒๑๙] 	ครั้งนั้น พระราชกุมารทรงพาชายาไปจนบรรลุถึงสมุทรนทีแห่งหนึ่ง ทรง
                          สร้างบรรณศาลาแล้ว จึงเสด็จเข้าไปสู่ป่าเพื่อแสวงหาผลาผล.
             [๒๒๒๐] 	ครั้งนั้น มีฤาษีตนหนึ่ง มาถึงบรรณศาลานั้น โดยทางเบื้องบนสมุทร
                          เข้าไปยังบรรณศาลาของพระราชกุมาร ในเวลาที่นางกุมารีจัดแจง
                          ภัตตาหารไว้แล้ว.
             [๒๒๒๑] 	ชายาของพระราชกุมาร ประเล้าประโลมฤาษีนั้น ดูเถิดกรรมที่นางกุมารี
                          กระทำนั้นหยาบช้าเพียงไร ฤาษีนั้นได้เคลื่อนจากพรหมจรรย์ เสื่อม
                          จากฤทธิ์.
             [๒๒๒๒] 	ฝ่ายพระราชโอรสแสวงหามูลและผลาผลในป่าได้จำนวนมากแล้ว จึง
                          หาบหามเข้ามายังอาศรมในเวลาเย็น.
             [๒๒๒๓] 	ฝ่ายฤาษีพอเห็นขัตติยราชกุมาร จึงรีบเข้าไปยังฝั่งสมุทร ด้วยตั้งใจไว้ว่า
                          เราจักไปทางเวหาสแต่ต้องจมลงในมหรรณพนั่นเอง.
             [๒๒๒๔] 	ฝ่ายว่าขัตติยราชกุมาร ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษีจมลงในมหรรณพ จึง
                          ได้ตรัสพระคาถานี้ ด้วยทรงพระอนุเคราะห์ต่อฤาษีนั้นว่า.
             [๒๒๒๕] 	ตัวท่านเองมาด้วยฤทธิ์บนน้ำอันไม่แตกแยก ครั้นถึงความระคนด้วยสตรี
                          แล้ว ต้องจมลงในมหรรณพ. ธรรมดาสตรีมีปกติหมุนเวียน มีมายา
                          มาก มักทำพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมทำนักพรตให้จมลง ท่านรู้แจ้ง
                          ฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. สตรีทั้งหลายมีวาจาไพเราะ มีสัมภาส
                          อ่อนหวาน ยากที่จะให้เต็มได้ เสมอด้วยแม่น้ำ ย่อมทำนักพรตให้จม
                          ลง ท่านจะรู้แจ้ง ฉะนี้แล้ว พึงเว้นเสียให้ห่างไกล. สตรีทั้งหลายย่อม
                          เข้าไปซ่องเสพบุรุษใด ด้วยความพอใจหรือด้วยทรัพย์ก็ตาม ย่อมพลัน
                          ตามเผาผลาญบุรุษนั้น เหมือนไฟป่าเผาสถานที่ตนเอง ฉะนั้น.
             [๒๒๒๖] 	ความเบื่อหน่ายได้เกิดมีแก่ฤาษี เพราะได้ฟังถ้อยคำของขัตติยราชกุมาร
                          ฤาษีนั้นกลับได้ทางเก่า แล้วก็เหาะขึ้นไปยังเวหาส.
             [๒๒๒๗] 	ฝ่ายขัตติยราชกุมารผู้ทรงพระปรีชา ได้ทอดพระเนตรเห็นฤาษีกำลังเหาะ
                          ไปยังเวหาส จึงได้ความสลดจิต น้อมพระทัยบรรพชา. ต่อแต่นั้น
                          ขัตติยราชกุมารก็ทรงบรรพชาสำรอกกามราคะแล้ว ได้เข้าถึงพรหมโลก.
จบ มหาปโลภชาดกที่ ๑๑.
๑๒. ปัญจปัณฑิตชาดก
ว่าด้วยความลับไม่ควรเปิดเผย


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๘๘๔๔-๘๙๑๖ หน้าที่ ๓๘๙-๓๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=8844&Z=8916&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=2208&items=20&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=2208&items=20              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=2208&items=20&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=27&item=2208&items=20&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=2208              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :