ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
             [๒๖๗] คำว่า หมู่สัตว์ผู้ยินดีในกามคุณทั้งหลายย่อมรักใคร่ ... ผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว มี
ความว่า ปชา เป็นชื่อของสัตว์. หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ปรารถนา ยินดี ติดใจ ลุ่มหลง ข้อง เกี่ยว
พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์เหล่านั้นย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนา รักใคร่ ชอบใจ ต่อมุนี
ผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วง ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ทิฏฐิโอฆะ
อวิชชาโอฆะ และทางแห่งสงสารทั้งปวงแล้ว ผู้ไปสู่ฝั่งถึงฝั่งแล้ว ไปสู่ส่วนสุดถึงส่วนสุดแล้ว
ไปสู่ที่สุดถึงที่สุดแล้ว ไปสู่ส่วนสุดรอบถึงส่วนสุดรอบแล้ว ไปสู่ที่จบถึงที่จบแล้ว ไปสู่ที่ต้าน
ทานถึงที่ต้านทานแล้ว ไปสู่ที่ลี้ลับถึงที่ลี้ลับแล้ว ไปสู่ที่พึ่งถึงที่พึ่งแล้ว ไปสู่ที่ไม่มีภัยถึงที่ไม่
มีภัยแล้ว ไปสู่ที่ไม่เคลื่อนถึงที่ไม่เคลื่อนแล้ว ไปสู่อมตะถึงอมตะแล้ว ไปสู่นิพพานถึงนิพพาน
แล้ว. พวกลูกหนี้ย่อมปรารถนารักใคร่ความเป็นผู้หมดหนี้ ฉันใด พวกที่ป่วยไข้ย่อมปรารถนา
รักใคร่ความเป็นผู้หายโรค ฉันใด พวกที่ติดอยู่ในเรือนจำ ย่อมปรารถนารักใคร่ความพ้นจาก
เรือนจำ ฉันใด พวกที่เป็นทาส ย่อมปรารถนารักใคร่ความเป็นไท ฉันใด พวกที่เดินทางกันดาร
ย่อมปรารถนารักใคร่ภาคพื้นที่เกษม ฉันใด หมู่สัตว์ผู้กำหนัด ปรารถนายินดี ติดใจ ลุ่มหลุ่ง
ข้อง เกี่ยว พัวพันในกามทั้งหลาย หมู่สัตว์นั้นย่อมอยากได้ ยินดี ปรารถนารักใคร่ ชอบใจ
ต่อมุนีผู้ข้าม คือ ข้ามขึ้น ข้ามพ้น ก้าวล่วง ล่วงเลย เป็นไปล่วง ซึ่งกามโอฆะ ภวโอฆะ ฯลฯ
ไปสู่นิพพาน ถึงนิพพานแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า หมู่สัตว์ผู้ยินดีในกาม
ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ ... ผู้ข้ามโอฆะแล้ว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
                          หมู่สัตว์ผู้ยินดีในกามทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อมุนีผู้ประพฤติว่าง ไม่มี
                          อาลัยในกามทั้งหลาย ผู้ข้ามโอฆะได้แล้วดังนี้.
จบ ติสสเมตเตยยสุตตนิทเทสที่ ๗.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๓๕๔๘-๓๕๖๗ หน้าที่ ๑๔๙-๑๕๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=3548&Z=3567&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=267&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=267&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=267&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=29&item=267&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=267              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :