ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[๑๕๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ แล้วเปลือย กายอาบน้ำท่าเดียวกันกับหญิงแพศยา ในแม่น้ำอจิรวดี. พวกหญิงแพศยาพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ให้ถอนขนในที่แคบเหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม เล่า ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินหญิงแพศยาพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่. บรรดาที่ เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ถอนขนใน ที่แคบ ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ ให้ถอนขนในที่แคบ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึงได้ให้ ถอนขนในที่แคบเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๕๗. ๒. อนึ่ง ภิกษุณีใด ให้ถอนขนในที่แคบ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๕๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ที่แคบ ได้แก่ รักแร้ทั้งสอง บริเวณทวารเบา. บทว่า ให้ถอน คือให้ถอนขนแม้เส้นเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ให้ถอนขนแม้หลาย เส้น ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๑๕๖] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๓๑๕-๒๓๔๖ หน้าที่ ๙๖-๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2315&Z=2346&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=154&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=154&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=154&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=154&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=154              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :