ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
             [๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด มีการงานอย่างใด มีชาติอย่างใด
มีชื่ออย่างใด มีโคตรอย่างใด มีปกติอย่างใด มีธรรมเครื่องอยู่อย่างใด มีอารมณ์อย่างใด เป็น
เถระก็ตาม เป็นนวกะก็ตาม เป็นมัชฌิมะก็ตาม นี้พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง ... ใด.
             บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ชื่อว่า ภิกษุณี
เพราะอรรถว่า ประพฤติภิกขาจริยวัตร ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าทรงผืนผ้าที่ถูกทำลายแล้ว
ชื่อว่า ภิกษุณี โดยสมญา ชื่อ ภิกษุณี โดยปฏิญญา ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็น
เอหิภิกษุณี ชื่อ ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้อุปสมบทแล้วด้วยไตรสรณคมน์ ชื่อว่า ภิกษุณี
เพราะอรรถว่าเป็นผู้เจริญ ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่ามีสารธรรม ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถ
ว่าเป็นพระเสขะ. ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นพระอเสขะ ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่า
เป็นผู้อันสงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุถกรรม อันไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ
บรรดาภิกษุณีเหล่านั้น ภิกษุณีอันสงฆ์สองฝ่ายพร้อมเพรียงกันอุปสมบทให้ด้วยญัตติจตุตถกรรม อัน
ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
             ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด ได้แก่หญิงหรือชายมีความกำหนัดมาก มีความเพ่งเล็ง มี
จิตปฏิพัทธ์.
             ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่
สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นคนรู้ความ เป็นผู้สามารถ เพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย.
             บทว่า ใต้รากขวัญลงไป คือ เบื้องต่ำแห่งรากขวัญลงไป.
             บทว่า เหนือเข่าขึ้นมา คือ เบื้องบนแห่งมณฑลเข่าขึ้นมา.
             ที่ชื่อว่า ลูบ คือ เพียงลูบไป.
             ที่ชื่อว่า คลำ คือ จับเบาๆ ไปข้างโน้นข้างนี้.
             ที่ชื่อว่า จับ คือ เพียงจับตัว
             ที่ชื่อว่า ต้อง คือ เพียงถูกต้องตัว.
             บทว่า ยินดี ... การบีบเคล้นก็ดี คือยินดีการจับต้องอวัยวะแล้วบีบเคล้น.
             บทว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน.
             คำว่า เป็นปาราชิก อธิบาย บุรุษถูกตัดศีรษะแล้วไม่อาจมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ชื่อ
แม้ฉันใด ภิกษุณีก็ฉันเหมือนกัน มีความกำหนัด ยินดีการลูบก็ดี คลำก็ดี จับก็ดี ต้องก็ดี บีบเคล้น
ก็ดี ของบุรุษบุคคลผู้กำหนัด ใต้รากขวัญลงไป เหนือเข่าขึ้นมา ย่อมไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นธิดาของ
พระศากยบุตร เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก.
             บทว่า หาสังวาสมิได้ ความว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่กรรมที่พึงกระทำร่วมกัน อุเทศ
ที่พึงสวดร่วมกัน ความเป็นผู้มีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีร่วมกับภิกษุณีนั้น
เพราะเหตุนั้นจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้.
บทภาชนีย์


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๘๖-๑๑๗ หน้าที่ ๔-๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=86&Z=117&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=2&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=2&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=2&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=2&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :