ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[๒๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า มีความกำหนัด คือ มีความยินดียิ่ง มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า ผู้กำหนัด คือ กำหนัดนักแล้ว มีความเพ่งเล็ง มีจิตปฏิพัทธ์. ที่ชื่อว่า บุรุษบุคคล ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้ความ เป็นผู้สามารถเพื่อถึงความเคล้าคลึงด้วยกาย. บทว่า ยินดีการจับมือก็ดี ความว่า ที่ชื่อว่า มือ กำหนดตั้งแต่ข้อศอก ถึงปลายเล็บ ภิกษุณียินดีการจับอวัยวะเหนือรากขวัญขึ้นไป ใต้เข่าลงมา เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยินดีการจับชายผ้าสังฆาฏิก็ดี คือ ยินดีการจับผ้านุ่งก็ดี ผ้าห่มก็ดี เพื่อประสงค์ จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยืนด้วยก็ดี ความว่า ยืนอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะเสพ อสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า สนทนาด้วยก็ดี ความว่า ยืนพูดอยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ เพื่อประสงค์จะ เสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ไปสู่ที่นัดแนะกันก็ดี ความว่า บุรุษพูดนัดว่า โปรดมาสู่สถานที่ชื่อนี้ ดังนี้ ภิกษุณีไปเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ ก้าว พอย่างเข้าระยะช่วงมือของ บุรุษ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ยินดีการที่บุรุษมาหาตามนัดก็ดี ความว่า ยินดีการมาตามนัดของบุรุษ เพื่อ ประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติทุกกฏ พอย่างเข้าระยะช่วงมือ ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า เข้าไปสู่ที่มุงด้วยกันก็ดี ความว่า พอย่างเข้าสู่สถานที่อันมุงไว้ด้วยวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย. บทว่า ทอดกายเพื่อประโยชน์แก่บุรุษนั้นก็ดี ความว่า อยู่ในระยะช่วงมือของบุรุษ แล้ว ทอดกายเพื่อประสงค์จะเสพอสัทธรรมนั่น ต้องอาบัติถุลลัจจัย.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๕๕-๓๘๐ หน้าที่ ๑๖-๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=355&Z=380&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=27&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=27&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=27&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=27&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=27              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :