ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๓๕๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ถามอุโบสถก็มี ไม่ขอโอวาทก็มี. ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอ โอวาทเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีทั้งหลาย ไม่ถามอุโบสถและไม่ขอโอวาท จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ถาม อุโบสถ ไม่ขอโอวาท การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๔. ๙. อนึ่ง ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน ภิกษุณีพึงหวังเฉพาะธรรม ๒ ประการ จาก ภิกษุสงฆ์ คือการถามอุโบสถ ๑ การเข้าไปขอโอวาท ๑ เมื่อฝ่าฝืนธรรม ๒ อย่างนั้น เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๕๙] บทว่า ทุกๆ ระยะกึ่งเดือน คือ ทุกๆ วันที่มีอุโบสถ. ที่ชื่อว่า อุโบสถ ได้แก่ อุโบสถ ๒ อย่าง คือ อุโบสถมีในวัน ๑๔ ค่ำ ๑ อุโบสถมี ในวัน ๑๕ ค่ำ ๑ ที่ชื่อว่า โอวาท ได้แก่ ครุธรรม ๘ พอทอดธุระว่า จักไม่ถามอุโบสถก็ดี จักไม่ขอโอวาทก็ดี ดังนี้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๖๐] ในเมื่ออันตรายมี ๑ แสวงหาภิกษุณีเป็นเพื่อนไม่ได้ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุขัดข้อง ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๘๑๖-๔๘๔๖ หน้าที่ ๒๑๖-๒๑๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4816&Z=4846&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=358&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=358&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=358&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=358&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=358              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :