ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[๓๖๑] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิด ในร่มผ้า. ครั้นแล้วบุรุษนั้นได้พยายามประทุษร้ายภิกษุณีรูปนั้น นางได้ส่งเสียงขึ้น. ภิกษุณีทั้งหลาย ได้พากันวิ่งเข้าไปถามภิกษุณีนั้นว่า แม่เจ้าส่งเสียงเรื่องอะไรกัน เมื่อถูกถาม นางได้เล่าเรื่องนั้นแก่ เหล่าภิกษุณี. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีกับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีกับบุรุษ หนึ่งต่อหนึ่ง ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้า จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีกับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง จึงได้ให้บ่งฝีอันเกิดในร่มผ้าเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยัง ไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๑๕. ๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่บอกกล่าวสงฆ์หรือคณะ กับบุรุษหนึ่งต่อหนึ่ง ให้ บ่งก็ดี ผ่าก็ดี ชะก็ดี ทาก็ดี พันก็ดี แกะก็ดี ซึ่งฝีหรือบาดแผลอันเกิดในร่มผ้า เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๒] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ร่มผ้า ได้แก่ อวัยวะใต้นาภีลงไป เหนือเข่าขึ้นมา. บทว่า เกิด คือ เกิดขึ้นในบริเวณนั้น. ที่ชื่อว่า ฝี ได้แก่ ฝีชนิดใดชนิดหนึ่ง. ที่ชื่อว่า แผล ได้แก่แผลชนิดใดชนิดหนึ่ง. บทว่า ไม่บอกกล่าว คือ ไม่แจ้งให้ทราบ. ที่ชื่อว่า สงฆ์ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์. ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีหลายรูป. ที่ชื่อว่า บุรุษ ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ผู้ชาย ไม่ใช่เปรตผู้ชาย ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้ เป็นผู้รู้เดียงสา เป็นผู้สามารถเพื่อประทุษร้ายได้. บทว่า กับ คือ ด้วยกัน. บทว่า หนึ่งต่อหนึ่ง คือ บุรุษผู้หนึ่ง ภิกษุณีรูปหนึ่ง. สั่งว่า จงบ่ง ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สั่งว่า จงผ่า ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สั่งว่า จงชะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สั่งว่า จงทา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สั่งว่า จงพัน ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. สั่งว่า จงแกะ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อนาปัตติวาร
[๓๖๓] บอกกล่าวแล้ว ให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะ ให้ทา ให้พัน หรือให้แกะ ๑ มีสตรี ผู้รู้ความอยู่เป็นเพื่อน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ.
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๖ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๘๔๗-๔๘๙๕ หน้าที่ ๒๑๘-๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4847&Z=4895&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=361&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=361&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=361&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=361&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=361              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :