ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์

หน้าที่ ๒๙๗.

ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๔๗๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้อง- *หน้าภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีทั้งหลายจึงได้ไม่ขอ โอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีทั้งหลายไม่ ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงได้ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุเล่า การกระทำของพวกนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๔๙. ๑๑. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไม่ขอโอกาส นั่งบนอาสนะเบื้องหน้าภิกษุ เป็น ปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. คำว่า เบื้องหน้าภิกษุ คือ ตรงหน้าอุปสัมบันภิกษุ.

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๒๙๘.

บทว่า ไม่ขอโอกาส คือ ไม่บอกกล่าวก่อน. คำว่า นั่งบนอาสนะ คือ โดยที่สุด แม้นั่งบนพื้นดิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
ติกะปาจิตตีย์
[๔๗๔] ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์. ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีมีความสงสัย นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. ยังไม่ได้ขอโอกาส ภิกษุณีสำคัญว่าขอโอกาสแล้ว นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ยังไม่ได้ขอโอกาส ต้องอาบัติทุกกฏ. ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีมีความสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ขอโอกาสแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่า ขอโอกาสแล้ว ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๔๗๕] ขอโอกาส นั่งบนอาสนะ ๑ อาพาธ ๑ มีเหตุจำเป็น ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ ๑๑ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๖๔๓๗-๖๔๗๘ หน้าที่ ๒๙๗-๒๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=6437&Z=6478&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=472&items=4&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=472&items=4&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=472&items=4&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=472&items=4&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=472              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :