ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
วิธีสวดสมนุภาส
[๖๔] ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาส. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาสนั้น พึงสวดอย่างนี้ อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา ว่า ดังนี้:-
กรรมวาจาสมนุภาส
แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืน สิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณีจะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความ ละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก สมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวด สมนุภาสภิกษุณีผู้มีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ. แม่เจ้า เจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ โกรธ ขัดใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอบอกคืนพระพุทธเจ้า ขอบอกคืนพระธรรม ขอบอกคืนพระสงฆ์ ขอบอกคืนสิกขา ภิกษุณีที่ชื่อว่าสมณี จะมีเฉพาะสมณีศากยธิดาเหล่านี้เมื่อไร แม้สมณีเหล่าอื่นที่มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาก็ยังมี ข้าพเจ้าจักไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณีเหล่านั้น ดังนี้ นางยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การสวด สมนุภาสภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้านั้นพึงนิ่ง ไม่ชอบแก่ แม่เจ้าผู้ใด แม่เจ้าผู้นั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่สาม ... ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้นชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๙๖๑-๙๘๒ หน้าที่ ๓๙-๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=961&Z=982&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=64&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=3&item=64&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=3&item=64&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=3&item=64&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=64              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :