ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๕๖] ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่เข้ามาประชุมในขณะนั้น
เป็นปัจจเวกขณญาณอย่างไร ฯ
             ในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ชื่อว่าสัมมาวาจา เพราะอรรถว่า
กำหนดเอา ชื่อว่าสัมมากัมมันตะ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าสัมมาอาชีวะ
เพราะอรรถว่าขาวผ่อง ชื่อว่าสัมมาวายามะ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่า
สัมมาสติ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมาสมาธิ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน
ชื่อว่าสติสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ เพราะ
อรรถว่าเลือกเฟ้น ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าปีติ-
*สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าแผ่ซ่านไป ชื่อว่าปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า
สงบระงับ ชื่อว่าสมาธิสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าอุเบกขา-
*สัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าพิจารณาหาทาง ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่
หวั่นไหวเพราะความไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะ
ความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความประมาท
ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะความฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญาพละ
เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา ชื่อว่าสัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าน้อมใจเชื่อ
ชื่อว่าวิริยินทรีย์ เพราะอรรถว่าประคองไว้ ชื่อว่าสตินทรีย์ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น
ชื่อว่าสมาธินทรีย์ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าปัญญินทรีย์ เพราะอรรถว่าเห็น
ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว
ชื่อว่าสัมโพชฌงค์ เพราะอรรถว่านำออก ชื่อว่ามรรค เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ
ชื่อว่าสติปัฏฐาน เพราะอรรถว่าตั้งมั่น ชื่อว่าสัมมัปปธาน เพราะอรรถว่าตั้งไว้
ชื่อว่าอิทธิบาท เพราะอรรถว่าสำเร็จ ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าจริงแท้ ชื่อว่า
สมถะ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าวิปัสสนา เพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น
ชื่อว่าสมถวิปัสสนา เพราะอรรถว่ามีกิจอย่างเดียวกัน ชื่อว่าเป็นคู่ เพราะอรรถว่า
ไม่ล่วงเกินกัน ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าสำรวม ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะ
อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเห็น ชื่อว่าวิโมกข์เพราะอรรถ
ว่าหลุดพ้น ชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่าแทงตลอด ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าปล่อย
ชื่อว่าขยญาณ เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ชื่อว่า
มนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่าผัสสะ เพราะอรรถว่าเป็นที่รวม
ชื่อว่าเวทนา เพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม ชื่อว่าสมาธิ เพราะอรรถว่าเป็นประธาน
ชื่อว่าสติ เพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรมนั้นๆ
ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะ
อรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจร
ออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่าธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
             [๑๕๗] ในขณะแห่งโสดาปัตติผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถ
ว่าเห็น ชื่อว่าสัมมาสังกัปปะ เพราะอรรถว่าดำริออก ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ
(ญาณในความไม่เกิดขึ้น) เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล
ชื่อว่ามนสิการ เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ... ชื่อว่าวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็น
แก่นสาร ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้)
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
             [๑๕๘] ในขณะแห่งสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งสกทาคามิผล
ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะแห่งอนาคามิผล ฯลฯ ในขณะ
แห่งอรหัตมรรค ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ ชื่อว่าขยญาณ
เพราะอรรถว่าตัดขาด ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็นมูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพาน
อันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่านี้) เข้ามาประชุมกัน
ในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณาเห็นว่า ธรรมเหล่านี้
เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
             [๑๕๙] ในขณะแห่งอรหัตผล ญาณชื่อว่าสัมมาทิฐิ เพราะอรรถว่าเห็น
ฯลฯ ชื่อว่าอนุปปาทญาณ เพราะอรรถว่าระงับ ชื่อว่าฉันทะ เพราะอรรถว่าเป็น
มูล ฯลฯ ชื่อว่านิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด (ธรรมเหล่า
นี้) เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น พระโยคาวจรออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมพิจารณา
เห็นว่า ธรรมเหล่านี้เข้ามาประชุมกันในขณะนั้น ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการพิจารณาเห็นธรรมที่มาประชุมกันใน
ขณะนั้น เป็นปัจจเวกขณญาณ ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๗๕๙-๑๘๑๔ หน้าที่ ๗๒-๗๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1759&Z=1814&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=156&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=156&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=156&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=156&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=156              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :