ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๖๒] พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า
หูเกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดหูเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
             พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า จมูก
เกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดจมูกเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
             พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ลิ้นเกิด
เพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดลิ้นเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
             พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า กาย
เกิดเพราะอวิชชา ฯลฯ พระโยคาวจรย่อมกำหนดกายเป็นภายในอย่างนี้ ฯ
             พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่างไร ย่อมกำหนดว่า ใจเกิด
เพราะอวิชชา เกิดเพราะตัณหา เกิดเพราะกรรม เกิดเพราะอาหาร อาศัย
มหาภูตรูป ๔ เกิดแล้ว เข้ามาประชุมกันแล้ว ใจไม่มี (ใจเดี๋ยวนี้ไม่เป็นเหมือน
เมื่อก่อน) มีแล้วจักไม่มี (บัดนี้เป็นอย่างนี้ ต่อไปจักไม่เป็นเหมือนบัดนี้) ย่อม
กำหนดใจโดยความเป็นของมีที่สุด กำหนดว่า ใจไม่ยั่งยืน ไม่เที่ยง มีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา ใจไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น
มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เสื่อมไปเป็นธรรมดาคลายไปเป็นธรรมดา ดับไปเป็น
ธรรมดา กำหนดใจโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่กำหนดโดยความเป็นของเที่ยง
กำหนดโดยความเป็นทุกข์ ไม่กำหนดโดยความเป็นสุข กำหนดโดยความเป็น
อนัตตา ไม่กำหนดโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด
ไม่กำหนัด ย่อมยังราคะให้ดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ยึดถือ เมื่อกำหนด
โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละความสำคัญว่าเป็นของเที่ยงได้ เมื่อกำหนด
โดยความเป็นทุกข์ ย่อมละความสำคัญว่าเป็นสุขได้ เมื่อกำหนดโดยความเป็น
อนัตตา ย่อมละความสำคัญว่าเป็นตัวตนได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้
เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละราคะได้ เมื่อยังราคะให้ดับ ย่อมละเหตุให้เกิดได้
เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ พระโยคาวจรย่อมกำหนดใจเป็นภายในอย่าง
นี้ ย่อมกำหนดธรรมเป็นภายในอย่างนี้
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรมเป็นภายใน เป็นวัตถุ
นานัตตญาณ ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๘๓๖-๑๘๖๓ หน้าที่ ๗๕-๗๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1836&Z=1863&bgc=2&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=162&items=1&bgc=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=162&items=1&bgc=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=162&items=1&bgc=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=162&items=1&bgc=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=162&bgc=2              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :