ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๒๑๕] ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาในความที่จิต
เป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณอย่างไร ฯ
             คำว่า ทสสนาธิปเตยฺยํ ความว่า อนิจจานุปัสนา ทุกขานุปัสนา
อนัตตานุปัสนา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง การพิจารณาเห็นความทุกข์
การพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตา ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ใน
วิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็นทัสนาธิปไตยแต่ละอย่างๆ ฯ
             [๒๑๖] คำว่า สนฺโต จ วิหาราธิคโม ความว่า สุญญตวิหาร
อนิมิตตวิหาร อัปปณิหิตวิหาร เป็นวิหาราธิคมอันสงบแต่ละอย่างๆ ฯ
             คำว่า ปณีตาธิมุตฺตตา ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันว่าง
เปล่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีนิมิต ความที่จิตเป็น
ธรรมชาติน้อมไปในธรรมอันไม่มีที่ตั้ง เป็นความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปใน
ผลสมาบัติอันประณีตแต่ละอย่างๆ ฯ
             คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
อากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เป็นอรณ-
*วิหารแต่ละอย่างๆ ฯ
             คำว่า อรณวิหาโร ความว่า ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่ากระไร
ชื่อว่าอรณวิหาร เพราะอรรถว่า นำเสียซึ่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน นำเสียซึ่งวิตก-
*วิจารด้วยทุติยฌาน นำเสียซึ่งปีติด้วยตติยฌาน นำเสียซึ่งสุขและทุกข์ด้วย
จตุตถฌาน นำเสียซึ่งรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญ-
*จายตนสมาบัติ นำเสียซึ่งอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ
นำเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ นำเสียซึ่ง
อากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ นี้ชื่อว่าอรณวิหาร ฯ
             ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทัสนาธิปไตย วิหาราธิคมอันสงบ และปัญญาใน
ความที่จิตเป็นธรรมชาติน้อมไปในผลสมาบัติอันประณีต เป็นอรณวิหารญาณ ฯ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๒๔๐๖-๒๔๓๐ หน้าที่ ๙๘-๙๙. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=2406&Z=2430&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=215&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=215&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=215&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=215&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=215              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :