ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
มหาวรรค วิปัลลาสกถา
นิทานบริบูรณ์
[๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด (แปรปรวน) ความคิด ผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ใน สภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา- *วิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิป- *ลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในสภาพที่เป็น ทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่ามิใช่ตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ นี้แล ฯ สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง มีความ สำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มีความสำคัญในสภาพ ที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความสำคัญในสภาพที่ไม่งามว่า งาม ถูกความเห็นผิดนำไป มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วงของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอด โปร่งจากกิเลส ต้องไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะ เมื่อใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่อง แสงสว่าง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้ อันให้ ถึงความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วกลับได้ความคิด ชอบ เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เห็น สภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดย ความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน และเห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ วิปลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิละได้แล้ว ละทั่วแล้ว วิปลาสเหล่าใดละได้แล้ว เหล่าใดละทั่วแล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด ความ เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเกิดขึ้น ทิฐิวิปลาสละได้แล้ว ความสำคัญผิด ความคิด ผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น ทิฐิวิปลาสละได้แล้ว วิปลาส ๖ ใน วัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่ว แล้ว และวิปลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว ฯ
จบวิปัลลาสกถา ฯ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๒๗๔-๗๓๑๐ หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7274&Z=7310&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=525&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=525&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=525&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=525&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=525              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :