ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

หน้าที่ ๓๐๐.

มหาวรรค วิปัลลาสกถา
นิทานบริบูรณ์
[๕๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการ นี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด (แปรปรวน) ความคิด ผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ใน สภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญา- *วิปลาส จิตวิปลาส ทิฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล ฯ [๕๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิป- *ลาส ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในสภาพที่เป็น ทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่ามิใช่ตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ นี้แล ฯ สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง มีความ สำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มีความสำคัญในสภาพ ที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความสำคัญในสภาพที่ไม่งามว่า งาม ถูกความเห็นผิดนำไป มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วงของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอด โปร่งจากกิเลส ต้องไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะ เมื่อใด พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่อง แสงสว่าง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้ อันให้ ถึงความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วกลับได้ความคิด ชอบ เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง เห็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๑.

สภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดย ความเป็นสภาพมิใช่ตัวตน และเห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฐิ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ วิปลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิละได้แล้ว ละทั่วแล้ว วิปลาสเหล่าใดละได้แล้ว เหล่าใดละทั่วแล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด ความ เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเกิดขึ้น ทิฐิวิปลาสละได้แล้ว ความสำคัญผิด ความคิด ผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น ทิฐิวิปลาสละได้แล้ว วิปลาส ๖ ใน วัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่ว แล้ว และวิปลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว ฯ
จบวิปัลลาสกถา ฯ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๒๗๔-๗๓๑๐ หน้าที่ ๓๐๐-๓๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7274&Z=7310&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=525&items=2&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=525&items=2&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=525&items=2&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=525&items=2&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=525              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :