ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๒
วิภังคปกรณ์
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. ขันธวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๑] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์
[๒] ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ รูปอดีต รูปอนาคต รูปปัจจุบัน รูป ภายใน รูปภายนอก รูปหยาบ รูปละเอียด รูปทราม รูปประณีต รูปไกล รูปใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่ารูปขันธ์ [๓] ในรูปขันธ์นั้น รูปอดีต เป็นไฉน รูปใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความดับ แล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูปอดีต รูปอนาคต เป็นไฉน รูปใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปอนาคต รูปปัจจุบัน เป็นไฉน รูปใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่ เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่ อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปปัจจุบัน [๔] รูปภายใน เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายใน รูปภายนอก เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่มหาภูตรูป ๔ และ อุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่ารูปภายนอก [๕] รูปหยาบ เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ นี้เรียกว่ารูปหยาบ รูปละเอียด เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสธาตุ รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ รูปชรตา รูปอนิจจตา กวฬิงการาหาร นี้เรียกว่ารูปละเอียด [๖] รูปทราม เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่น่าดูหมิ่น น่าเหยียดหยาม น่าเกลียด น่า ตำหนิ ไม่น่ายกย่อง ทราม รู้กันว่าทราม สมมติกันว่าทราม ไม่น่าปรารถนา ไม่น่ารัก ไม่น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้เรียกว่า รูปทราม รูปประณีต เป็นไฉน รูปใด ของสัตว์นั้นๆ ที่ไม่น่าดูหมิ่น ไม่น่าเหยียดหยาม ไม่น่าเกลียด ไม่น่าตำหนิ น่ายกย่อง ประณีต รู้กันว่าประณีต สมมติกันว่าประณีต น่า ปรารถนา น่ารัก น่าชอบใจ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นี้ เรียกว่ารูปประณีต หรือพึงทราบรูปทรามรูปประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๗] รูปไกล เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กวฬิงการาหาร หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ไม่ใกล้ ใน ที่ไม่ใกล้ชิด ในที่ไกล ในที่ไม่ใช่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปไกล รูปใกล้ เป็นไฉน จักขายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ หรือรูปแม้อื่นใดมีอยู่ในที่ใกล้เคียง ในที่ใกล้ชิด ในที่ไม่ไกล ในที่ใกล้ นี้เรียกว่ารูปใกล้ หรือพึงทราบรูปไกลรูปใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงรูปนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
เวทนาขันธ์
[๘] เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ เวทนาอดีต เวทนาอนาคต เวทนา ปัจจุบัน เวทนาภายใน เวทนาภายนอก เวทนาหยาบ เวทนา ละเอียด เวทนาทราม เวทนาประณีต เวทนาไกล เวทนาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ [๙] ในเวทนาขันธ์นั้น เวทนาอดีต เป็นไฉน เวทนาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาอดีต เวทนาอนาคต เป็นไฉน เวทนาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาอนาคต เวทนาปัจจุบัน เป็นไฉน เวทนาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่ง แล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาปัจจุบัน [๑๐] เวทนาภายใน เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายใน เวทนาภายนอก เป็นไฉน เวทนาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน มีเฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา นี้เรียกว่าเวทนาภายนอก [๑๑] เวทนาหยาบ เวทนาละเอียด เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด ทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาหยาบ อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ละเอียด เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาหยาบ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาละเอียด เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาหยาบ เวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาละเอียด หรือพึงทราบเวทนาหยาบเวทนาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๒] เวทนาทราม เวทนาประณีต เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม กุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ประณีต กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาทราม อัพยากตเวทนาเป็นเวทนา ประณีต ทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ประณีต สุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นเวทนาทราม อทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนา ประณีต เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาทราม เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็น เวทนาประณีต เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาทราม เวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาประณีต หรือพึงทราบเวทนาทรามเวทนาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๓] เวทนาไกล เป็นไฉน อกุศลเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา กุศลเวทนาและ อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจาก อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนา อกุศลเวทนาและอัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกล จากกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาไกลจากกุศลเวทนาและอกุศลเวทนา กุศลเวทนาและอกุศลเวทนาเป็นเวทนาไกลจากอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็น เวทนาไกลจากสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น เวทนาไกลจากทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากทุกขเวทนาและอทุกขม สุขเวทนา ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนา อทุกขม- *สุขเวทนาเป็นเวทนาไกลจากสุขเวทนาและทุกขเวทนา สุขเวทนาและทุกขเวทนา เป็นเวทนาไกลจากอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจาก เวทนาของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาไกลจากเวทนาของผู้ไม่ เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาไกลจากเวทนาที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาไกล เวทนาใกล้ เป็นไฉน อกุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอกุศลเวทนา กุศลเวทนาเป็นเวทนาใกล้ กับกุศลเวทนา อัพยากตเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอัพยากตเวทนา ทุกขเวทนาเป็น เวทนาใกล้กับทุกขเวทนา สุขเวทนาเป็นเวทนาใกล้กับสุขเวทนา อทุกขมสุข- *เวทนาเป็นเวทนาใกล้กับอทุกขมสุขเวทนา เวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นเวทนา ใกล้กับเวทนาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ เวทนาของผู้เข้าสมาบัติเป็นเวทนาใกล้กับเวทนา ของผู้เข้าสมาบัติ เวทนาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่เป็น อารมณ์ของอาสวะ เวทนาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นเวทนาใกล้กับเวทนาที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าเวทนาใกล้ หรือพึงทราบเวทนาไกลเวทนาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงเวทนานั้นๆ เป็น ชั้นๆ ไป
สัญญาขันธ์
[๑๔] สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สัญญาอดีต สัญญาอนาคต สัญญาปัจจุบัน สัญญาภายใน สัญญาภายนอก สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด สัญญาทราม สัญญาประณีต สัญญาไกล สัญญาใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าสัญญาขันธ์ [๑๕] ในสัญญาขันธ์ นั้น สัญญาอดีต เป็นไฉน สัญญาใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์เข้า กับส่วนอดีต ได้แก่จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชา สัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอดีต สัญญาอนาคต เป็นไฉน สัญญาใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุ- *สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาอนาคต สัญญาปัจจุบัน เป็นไฉน สัญญาใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาปัจจุบัน [๑๖] สัญญาภายใน เป็นไฉน สัญญาใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา- *สัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายใน สัญญาภายนอก เป็นไฉน สัญญาใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา นี้เรียกว่าสัญญาภายนอก [๑๗] สัญญาหยาบ สัญญาละเอียด เป็นไฉน สัญญาอันเกิดแต่ปฏิฆสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่ปัญจทวาร) เป็นสัญญา หยาบ สัญญาอันเกิดแต่อธิวจนสัมผัส (คือสัญญาเกิดแต่มโนทวาร) เป็นสัญญา ละเอียด อกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น สัญญาละเอียด กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาหยาบ อัพยากตสัญญา เป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาหยาบ สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนาเป็นสัญญาละเอียด สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาหยาบ สัญญา ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาละเอียด สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญา หยาบ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาละเอียด หรือพึงทราบสัญญาหยาบสัญญาละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญา นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๘] สัญญาทราม สัญญาประณีต เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม กุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญา ประณีต กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาทราม อัพยากตสัญญาเป็น สัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา เป็นสัญญาทราม สัญญาที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสัญญาทราม สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนาเป็นสัญญาประณีต สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาทราม สัญญาของ ผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาประณีต สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาทราม สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาประณีต หรือพึงทราบสัญญาทรามสัญญาประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๑๙] สัญญาไกล เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา กุศล สัญญาและอัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา ไกลจากอกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญา อกุศลสัญญาและอัพยากตสัญญาเป็น สัญญาไกลจากกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาไกลจากกุศลสัญญาและ อกุศลสัญญา กุศลสัญญาและอกุศลสัญญาเป็นสัญญาไกลจากอัพยากตสัญญา สัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น สัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกข- *เวทนาเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สัญญาของผู้ไม่ เข้าสมาบัติเป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นสัญญาไกลจากสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสัญญาไกล สัญญาใกล้ เป็นไฉน อกุศลสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอกุศลสัญญา กุศลสัญญาเป็นสัญญา ใกล้กับกุศลสัญญา อัพยากตสัญญาเป็นสัญญาใกล้กับอัพยากตสัญญา สัญญาที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สัญญา ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สัญญา ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข เวทนา สัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สัญญาของผู้เข้าสมาบัติเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาของผู้เข้าสมาบัติ สัญญาที่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สัญญาที่ ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสัญญาใกล้กับสัญญาที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้ เรียกว่าสัญญาใกล้ หรือพึงทราบสัญญาไกลสัญญาใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสัญญานั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
สังขารขันธ์
[๒๐] สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือ สังขารอดีต สังขารอนาคต สังขาร ปัจจุบัน สังขารภายใน สังขารภายนอก สังขารหยาบ สังขารละเอียด สังขารทราม สังขารประณีต สังขารไกล สังขารใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็น กองเดียวกัน นี้เรียกว่าสังขารขันธ์ [๒๑] ในสังขารขันธ์นั้น สังขารอดีต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึง ความดับแล้ว ถึงความสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์ เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชาเจตนา ฆานสัม- *ผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชา เจตนา นี้เรียกว่าสังขารอดีต สังขารอนาคต เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่พร้อม ยังไม่บังเกิด ยังไม่ บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยังไม่ตั้งขึ้น พร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารอนาคต สังขารปัจจุบัน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารปัจจุบัน [๒๒] สังขารภายใน เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ของสัตว์นั้นๆ เอง ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุสัมผัสสชา- *เจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายใน สังขารภายนอก เป็นไฉน สังขารเหล่าใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา นี้เรียกว่าสังขารภายนอก [๒๓] สังขารหยาบ สังขารละเอียด เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขาร ละเอียด กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารหยาบ อัพยากตสังขารเป็น สังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารหยาบ สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนาเป็นสังขารละเอียด สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารหยาบ สังขาร ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารละเอียด สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร หยาบ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารละเอียด หรือพึงทราบสังขารหยาบสังขารละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงสังขาร นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๒๔] สังขารทราม สังขารประณีต เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารทราม กุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขาร ประณีต กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารทราม อัพยากตสังขารเป็น สังขารประณีต สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่ สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นสังขารทราม สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนาเป็นสังขารประณีต สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารทราม สังขาร ของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารประณีต สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขาร ทราม สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารประณีต หรือพึงทราบสังขารทรามสังขารประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๒๕] สังขารไกล เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร กุศล สังขารและอัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขาร ไกลจากอกุศลสังขารและอัพยากตสังขาร อกุศลสังขารและอัพยากตสังขารเป็น สังขารไกลจากกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารไกลจากกุศลสังขารและ อกุศลสังขาร กุศลสังขารและอกุศลสังขารเป็นสังขารไกลจากอัพยากตสังขาร สังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็น สังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา เป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขาร ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนา สังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและ ทุกขเวทนาเป็นสังขารไกลจากสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา สังขารของ ผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติ เป็นสังขารไกลจากสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็น สังขารไกลจากสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นสังขารไกลจากสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าสังขารไกล สังขารใกล้ เป็นไฉน อกุศลสังขารเป็นสังขารใกล้กับอกุศลสังขาร กุศลสังขารเป็นสังขารใกล้ กับกุศลสังขาร อัพยากตสังขารเป็นสังขารใกล้กับอัพยากตสังขาร สังขารที่ สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา สังขาร ที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข- *เวทนา สังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้ไม่เข้าสมาบัติ สังขารของผู้เข้าสมาบัติเป็นสังขารใกล้กับสังขารของผู้เข้าสมาบัติ สังขารที่เป็น อารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ สังขารที่ไม่ เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นสังขารใกล้กับสังขารที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียก ว่าสังขารใกล้ หรือพึงทราบสังขารไกลสังขารใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงสังขารนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
วิญญาณขันธ์
[๒๖] วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน วิญญาณภายใน วิญญาณภายนอก วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด วิญญาณทราม วิญญาณประณีต วิญญาณไกล วิญญาณใกล้ ประมวลย่อเข้าเป็นกองเดียวกัน นี้เรียกว่าวิญญาณขันธ์ [๒๗] ในวิญญาณขันธ์นั้น วิญญาณอดีต เป็นไฉน วิญญาณใด ล่วงไปแล้ว ดับแล้ว ปราศไปแล้ว แปรไปแล้ว ถึงความ ดับแล้ว ถึงความดับสิ้นแล้ว ที่เกิดขึ้นแล้วปราศไปแล้ว ที่เป็นอดีตสงเคราะห์ เข้ากับส่วนอดีต ได้แก่จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา- *วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอดีต วิญญาณอนาคต เป็นไฉน วิญญาณใด ยังไม่เกิด ยังไม่เป็น ยังไม่เกิดพร้อม ยังไม่บังเกิด ยัง ไม่บังเกิดยิ่ง ยังไม่ปรากฏ ยังไม่เกิดขึ้น ยังไม่เกิดขึ้นพร้อม ยังไม่ตั้งขึ้น ยัง ไม่ตั้งขึ้นพร้อม ที่เป็นอนาคตสงเคราะห์เข้ากับส่วนอนาคต ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณอนาคต วิญญาณปัจจุบัน เป็นไฉน วิญญาณใด เกิดแล้ว เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิด ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นพร้อมแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นพร้อม แล้ว ที่เป็นปัจจุบันสงเคราะห์เข้ากับส่วนปัจจุบัน ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโน- *วิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณปัจจุบัน [๒๘] วิญญาณภายใน เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์นั้นๆ เองซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิดในตน เฉพาะ บุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายใน วิญญาณภายนอก เป็นไฉน วิญญาณใด ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นนั้นๆ ซึ่งมีในตน เฉพาะตน เกิด ในตน เฉพาะบุคคล อันกรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฐิยึดครอง ได้แก่จักขุ- *วิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่าวิญญาณภายนอก [๒๙] วิญญาณหยาบ วิญญาณละเอียด เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็น วิญญาณละเอียด กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณหยาบ อัพยากต- *วิญญาณเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ หยาบ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณละเอียด วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นวิญญาณหยาบ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณละเอียด หรือพึงทราบวิญญาณหยาบวิญญาณละเอียด โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๐] วิญญาณทราม วิญญาณประณีต เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็น วิญญาณประณีต กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณทราม อัพยากต- *วิญญาณเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณ ที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่สัมปยุตด้วย อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ทราม วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณประณีต วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะเป็นวิญญาณทราม วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณประณีต หรือพึงทราบวิญญาณทรามวิญญาณประณีต โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณ นั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป [๓๑] วิญญาณไกล เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ และอัพยากตวิญญาณ กุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณ เป็นวิญญาณไกลจากอกุศลวิญญาณและอัพยากตวิญญาณ อกุศลวิญญาณและ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณไกลจากกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณ ไกลจากกุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณและอกุศลวิญญาณเป็น วิญญาณไกลจากอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุต ด้วยสุขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วย ทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุต ด้วยทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาและ อทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา วิญญาณที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนา และทุกขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาและทุกขเวทนาเป็นวิญญาณไกล จากวิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็น วิญญาณไกลจากวิญญาณของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณ ไกลจากวิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ เป็นวิญญาณไกลจากวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าวิญญาณไกล วิญญาณใกล้ เป็นไฉน อกุศลวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอกุศลวิญญาณ กุศลวิญญาณเป็น วิญญาณใกล้กับกุศลวิญญาณ อัพยากตวิญญาณเป็นวิญญาณใกล้กับอัพยากตวิญญาณ วิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วยทุกข- *เวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่สัมปยุตด้วย สุขเวทนา วิญญาณที่สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนาเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุขเวทนา วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับ วิญญาณของผู้ไม่เข้าสมาบัติ วิญญาณของผู้เข้าสมาบัติเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณ ของผู้เข้าสมาบัติ วิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับวิญญาณที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะเป็นวิญญาณใกล้กับ วิญญาณที่ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่าวิญญาณใกล้ หรือพึงทราบวิญญาณไกลวิญญาณใกล้ โดยอาศัยเทียบเคียงวิญญาณนั้นๆ เป็นชั้นๆ ไป
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์
ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน [๓๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑ คือ รูปทั้งหมด เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากฤต เป็นอนารัมมณะ เป็นอเจตสิกะ เป็นจิตตวิปปยุต เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม เป็นอสังกิลิฏฐ- *สังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ เป็นนอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกอวิจาระ เป็นนปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ เป็นเนวทัสสนนภาวนา ปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขนาเสกขะ เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ เป็นนอปริยาปันนะ เป็นอนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เป็นอุป- *ปันนฉวิญญาณวิญเญยยะ เป็นอนิจจะ เป็นชราภิภูตะ รูปขันธ์หมวดละ ๑ ด้วย ประการฉะนี้ [๓๔] รูปขันธ์หมวดละ ๒ คือ รูปเป็นอุปาทา รูปเป็นอนุปาทา รูป เป็นอุปาทินนะ รูปเป็นอนุปาทินนะ รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็น อนุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็นสนิทัสสนะ รูปเป็นอนิทัสสนะ รูปเป็นสัปปฏิฆะ รูปเป็นอัปปฏิฆะ รูปเป็นอินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปเป็นมหาภูต รูปไม่เป็น มหาภูต รูปเป็นวิญญัตติ รูปไม่เป็นวิญญัตติ รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน รูปไม่เป็น จิตตสมุฏฐาน รูปเป็นจิตตสหภู รูปไม่เป็นจิตตสหภู รูปเป็นจิตตานุปริวัตติ รูป ไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ รูปเป็นอัชฌัตติกะ รูปเป็นพาหิระ รูปเป็นโอฬาริกะ รูป เป็นสุขุมะ รูปเป็นทูเร รูปเป็นสันติเก ฯลฯ รูปเป็นกวฬิงการาหาร รูปไม่เป็น กวฬิงการาหาร รูปขันธ์หมวดละ ๒ ด้วยประการฉะนี้ [๓๕] รูปขันธ์หมวดละ ๓ คือ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทา พาหิรรูปเป็น อุปาทา พาหิรรูปเป็นอนุปาทา อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนะ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ พาหิรรูปเป็นอุปา- *ทินนุปาทานิยะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ฯลฯ อัชฌัตติกรูปไม่เป็น กวฬิงการาหาร พาหิรรูปเป็นกวฬิงการาหาร พาหิรรูปไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูป ขันธ์หมวดละ ๓ ด้วยประการฉะนี้ [๓๖] รูปขันธ์หมวดละ ๔ คือ อุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อุปาทารูปเป็น อนุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทินนะ อุปาทารูป เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อนุปาทารูปเป็น อุปาทินนุปาทานิยะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นอัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็นอัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นโอฬาริกะ อุปาทารูปเป็นสุขุมะ อนุปาทารูปเป็นโอฬาริกะ อนุปาทา- *รูปเป็นสุขุมะ อุปาทารูปเป็นทูเร อุปาทารูปเป็นสันติเก อนุปาทารูปเป็นทูเร อนุปาทารูปเป็นสันติเก ฯลฯ ทิฏฐรูป สุตรูป มุตรูป วิญญาตรูป รูปขันธ์ หมวดละ ๔ ด้วยประการฉะนี้ [๓๗] รูปขันธ์หมวดละ ๕ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย- *ธาตุ อุปาทารูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ ด้วยประการฉะนี้ [๓๘] รูปขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญเญยยรูป โสตวิญเญยยรูป ฆานวิญเญยยรูป ชิวหาวิญเญยยรูป กายวิญเญยยรูป มโนวิญเญยยรูป รูปขันธ์ หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้ [๓๙] รูปขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ มโนธาตุวิญเญยย รูป มโนวิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ [๔๐] รูปขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ สุขสัมผัสส- *กายวิญเญยยรูป ทุกขสัมผัสสกายวิญเญยยรูป มโนธาตุวิญเญยยรูป มโนวิญญาณ- *ธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้ [๔๑] รูปขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ [๔๒] รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่ เป็นอินทรีย์เป็นสัปปฏิฆะ รูปไม่เป็นอินทรีย์เป็นอัปปฏิฆะ รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๔๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ คือ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้นับเนื่องในธัมมายตนะ รูปขันธ์ หมวดละ ๑๑ ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า รูปขันธ์
เวทนาขันธ์
เวทนาขันธ์ เป็นไฉน
[ทุกมูลกวาร]
[๔๔] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น อัพยากฤต เวทนาขันธ์หมวดละ ๔ คือ เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็น อรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๕ คือ เวทนาขันธ์เป็นสุขินทรีย์ เป็นทุกขินทรีย์ เป็นโสมนัสสินทรีย์ เป็นโทมนัสสินทรีย์ เป็นอุเปกขินทรีย์ เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโน- *สัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชา เวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกายสัมผัสสชา- *เวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา มโนวิญญาณ- *ธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชา- *เวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อกุสล- *มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ สุขกายสัมผัสสชา- *เวทนา ทุกขกายสัมผัสสชาเวทนา มโนธาตุสัมผัสสชาเวทนา กุสลมโน- *วิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา อัพยากต- *มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๔๕] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัมผัสสสัมปยุต. เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุ- *ปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนา ปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ เวทนาขันธ์ เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ เวทนาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ เวทนาขันธ์ เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที เวทนาขันธ์ เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน เวทนาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตา- *รัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็น อัชฌัตตพหิทธา เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๔๖] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต เวทนาขันธ์ เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ เวทนาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต เวทนาขันธ์เป็น อาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญ- *ชนิยะ เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถ- *นิยะ เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆ- *นิยะ เวทนาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็น โยควิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ เวทนาขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ เวทนาขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็น นีวรณวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวร- *ณิยะ เวทนาขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ เวทนาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาส- *วิปปยุตตอปรามัฏฐะ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ เวทนาขันธ์เป็น อุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ เวทนาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ เวทนาขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต เวทนาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลส- *วิปปยุตตอสังกิเลสิกะ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ เวทนาขันธ์ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ เวทนาขันธ์เป็นทัสสน ปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ เวทนาขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ เวทนาขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ เวทนาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ เวทนาขันธ์เป็นกามาวจร เป็น นกามาวจร เวทนาขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร เวทนาขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เวทนาขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เป็น นิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ เวทนาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยต เวทนาขันธ์เป็น สอุตตระ เป็นอนุตตระ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๔๗] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา- *รัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ทุกมูลกวาร จบ
[ติกมูลกวาร]
[๔๘] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา- *รัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมม- *ธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต- *พหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ติกมูลกวาร จบ
[อุภโตวัฑฒกวาร]
[๔๙] เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนา ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปาก- *ธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น อสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ เวทนา- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสน นภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น เนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชน วิปปยุตตอสัญโญชนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็น มัคคาธิปติ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ เวทนาขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปป- *ยุตตอโนฆนิยะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
[พหุวิธวาร]
[๕๐] เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เป็นวิบาก เป็น วิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์ เป็น อัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการ ฉะนี้ [๕๑] เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์ เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหา- *สัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ [๕๒] เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้ [๕๓] เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ เวทนาขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา- *รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ เวทนาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะ ฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนา ขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ เวทนาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็น อัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เวทนาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า เวทนาขันธ์
พหุวิธวาร จบ
สัญญาขันธ์
สัญญาขันธ์ เป็นไฉน
[ทุกมูลกวาร]
[๕๔] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น อัพยากฤต สัญญาขันธ์หมวดละ ๔ คือ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๕ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็น ทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชา- *สัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหาสัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา นโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชา- *สัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคต- *กายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชา- *สัญญา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๘ ด้วย ประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ กายสัมผัสสชา- *สัญญา มโนธาตุสัมผัสสชาสัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชา- *สัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ สุขสหคต- *กายสัมผัสสชาสัญญา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาสัญญา มโนธาตุสัมผัสสชา- *สัญญา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา อกุสลมโนวิญญาณธาตุ สัมผัสสชาสัญญา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๕๕] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็น เนววิปากนวิปากธัมมธรรม สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุ- *ปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักก- *สวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น ภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสน- *ปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี สัญญาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ สัญญาขันธ์ เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ สัญญาขันธ์ เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนา รัมมณะ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา สัญญาขันธ์ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๕๖] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต สัญญา ขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ สัญญาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต สัญญาขันธ์เป็น อาสววิปปยุตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญช- *นิยะ สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ สัญญาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ สัญญาขันธ์เป็นคันถ- *วิปปยุตตอคันถนิยะ สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ สัญญาขันธ์เป็น โอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็น โอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ สัญญาขันธ์ เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็น โยควิปปยุตตอโยคนิยะ สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณียะ สัญญาขันธ์ เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ สัญญาขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ สัญญาขันธ์เป็นปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นปรามาส- *วิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ สัญญาขันธ์ เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตต- *อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ สัญญาขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ สัญญาขันธ์ เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต สัญญาขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น นทัสสนปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ สัญญาขันธ์ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ สัญญาขันธ์เป็น สวิตักกะ เป็นอวิตักกะ สัญญาขันธ์เป็นสวิจาระ เป็นอวิจาระ สัญญาขันธ์ เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคะ สัญญาขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ สัญญาขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร สัญญาขันธ์ เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร สัญญาขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร สัญญาขันธ์ เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ สัญญาขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ สัญญาขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตตระ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้ [๕๗] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา- *รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้
ทุกมูลกวาร จบ
[ติกมูลกวาร]
[๕๘] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวด ละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกข- *มสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุข- *เวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ติกมูลกวาร จบ
[อุภโตวัฑฒกวาร]
[๕๙] สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ. สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปาก- *นวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็น อนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ. สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเล- *สิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกา- *วิจาระ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขา- *สหคตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต- *อนาสวะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น ภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวด ละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น เนวาจยคามินาปจยคามี ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชน- วิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. สัญญาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็น อัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตต- *อคันถนิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. สัญญาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆะสัมปยุต เป็นโอฆะวิปปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตต- *อโนฆนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็น ปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตต- *อโยคนิยะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ. สัญญาขันธ์หมวดละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต- *พหิทธารัมมณะ ฯลฯ สัญญาขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
[พหุวิธวาร]
[๖๐] สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สัญญาขันธ์เป็นสุขเวทนา- *สัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็น กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ [๖๑] สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะ ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุ- *สัมผัสสชาสัญญา โสตสัมผัสสชาสัญญา ฆานสัมผัสสชาสัญญา ชิวหา- *สัมผัสสชาสัญญา กายสัมผัสสชาสัญญา มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือสัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนา- *สัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา- *รัมมณะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆาน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์ เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็น อัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุ- *สัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วย ประการฉะนี้ [๖๒] สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์ เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็น ปัจจัย สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็น อรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้ [๖๓] สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะมโน- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็น รูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโน- *สัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ สัญญาขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สัญญาขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะกาย สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สัญญาขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาสัญญา สัญญาขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า สัญญาขันธ์
พหุวิธวาร จบ
สังขารขันธ์
สังขารขันธ์ เป็นไฉน
[ทุกมูลกวาร]
[๖๔] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น อัพยากฤต สังขารขันธ์หมวดละ ๔ คือ สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็น อรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๕ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็น ทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต สังขารขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา โสตสัมผัสสชา- *เจตนา ฆานสัมผัสสชาเจตนา ชิวหาสัมผัสสชาเจตนา กายสัมผัสสชาเจตนา มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ กาย- *สัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคต- *กายสัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา มโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนธาตุ- *สัมผัสสชาเจตนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณ- *ธาตุสัมผัสสชาเจตนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์ หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ สุขสหคต- *กายสัมผัสสชาเจตนา ทุกขสหคตกายสัมผัสสชาเจตนา มโนธาตุสัมผัสสชาเจตนา กุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อกุสลมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา อัพยากตมโนวิญญาณธาตุสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการ ฉะนี้ [๖๕] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็น เนววิปากนวิปากธัมมธรรม สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุ- *ปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สังขารขันธ์เป็นสวิตักก- *สวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็น ภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ สังขารขันธ์เป็นทัสสน- *ปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี สังขารขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ สังขารขันธ์เป็น ปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ สังขารขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็น มหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ สังขารขันธ์ เป็นหีนะเป็นมัชฌิมะ เป็น ปณีตะ สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ สังขาร- *ขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที สังขารขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน สังขาร- *ขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ สังขารขันธ์ เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๖๖] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขาร- *หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นเหตุ สัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ สังขารขันธ์เป็นนเหตุ- *สเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ สังขารขันธ์ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ สังขารขันธ์เป็นอาสวะ เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ สังขารขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสว- *วิปปยุต สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ สังขารขันธ์เป็น อาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ สังขารขันธ์เป็นอาสววิปปยุตต- *สาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชน- *สัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็น สัญโญชนิยโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็น สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ สังขารขันธ์เป็นคันถะ เป็นโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ สังขารขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็น คันถวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถวิปปยุตต- *คันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ สังขารขันธ์เป็นโอฆะ เป็นโนโอฆะ สังขารขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ สังขารขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็น โอฆวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นโอฆโอฆนิยะ เป็นโอฆนิยโนโอฆะ สังขารขันธ์ เป็นโอฆโอฆสัมปยุต เป็นโอฆสัมปยุตตโนโอฆะ สังขารขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตต- *โอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ สังขารขันธ์เป็นโยคะ เป็นโนโยคะ สังขารขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ สังขารขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็น โยควิปปยุต สังขารขันธ์เป็นโยคโยคนิยะ เป็นโยคนิยโนโยคะ สังขารขันธ์เป็น โยคโยคสัมปยุต เป็นโยคสัมปยุตตโนโยคะ สังขารขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณะ เป็นโนนีวรณะ สังขารขันธ์ เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณ- *นีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ สังขารขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตต- *นีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะ สังขารขันธ์เป็นปรามาสะ เป็นโน- *ปรามาสะ สังขารขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ สังขารขันธ์เป็นปรามาส- *สัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโน- *ปรามาสะ สังขารขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรา- *มัฏฐะสังขารขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็นอนุปาทินนะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานะ เป็น โนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ สังขารขันธ์เป็น อุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็น อุปาทานิยโนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทาน สัมปยุตตโนอุปาทานะ สังขารขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ เป็น อุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสะ เป็นโนกิเลสะ สังขาร- *ขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ สังขารขันธ์เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ สังขารขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ สังขารขันธ์เป็น ทัสสนปหาตัพพะ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ สังขารขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นนทัสสน- *ปหาตัพพเหตุกะ สังขารขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ สังขารขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ สังขารขันธ์เป็นสวิจาระ เป็น อวิจาระ สังขารขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ สังขารขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ สังขารขันธ์ เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ สังขารขันธ์เป็นกามาวจร เป็น นกามาวจร สังขารขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร สังขารขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร สังขารขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เป็น นิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ สังขารขันธ์เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ สังขารขันธ์เป็น สอุตตระ เป็นอนุตตระ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๖๗] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขาร- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ทุกมูลกวาร จบ
[ติกมูลกวาร]
[๖๘] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขาร- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนา- *สัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุข- *เวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ติกมูลกวาร จบ
[อุภโตวัฑฒกวาร]
[๖๙] สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกข- *มสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็นเนววิปาก- *นวิปากธัมมธรรม ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือสังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสัง- *กิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ. สังขาร- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ. สังขารขันธ์หมวด ละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวะ เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการ ฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตต- *อนาสวะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็น ปณีตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนะ เป็นโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ. สังขารขันธ์ หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็น อุปปาที ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโน- *สัญโญชนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชน- *สัมปยุตตโนสัญโญชนะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอตีตา- *รัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวด ละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตสัญโญชนิยะ เป็น สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์ เป็นอัชฌัตตะ เป็นพหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นคันถะ เป็นโนคันถะ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธา- *รัมมณะ ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
[พหุวิธวาร]
[๗๐] สังขารขันธ์หมวดละ ๗ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เป็นสุขเวทนา- *สัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ สังขาร- *ขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็น กามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ [๗๑] สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุข- *เวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตต- *พหิทธารัมมณะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์ เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ [๗๒] สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ กายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้ [๗๓] สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ มโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สังขารขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ สังขารขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยา- *ปันนะ สังขารขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะฆานสัมผัส เป็นปัจจัย สังขารขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะ กายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ สังขารขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตา- *รัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็น รูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุสัมผัสสชาเจตนา ฯลฯ มโน- *สัมผัสชาเจตนา สังขารขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า สังขารขันธ์
พหุวิธวาร จบ
วิญญาณขันธ์
วิญญาณขันธ์ เป็นไฉน
[ทุกมูลกวาร]
[๗๔] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็น อัพยากฤต วิญญาณขันธ์หมวดละ ๔ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๕ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขินทริยสัมปยุต เป็น ทุกขินทริยสัมปยุต เป็นโสมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นโทมนัสสินทริยสัมปยุต เป็นอุเปกขินทริยสัมปยุต วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๖ ด้วย ประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโน- *ธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุวิญญาณ ฯลฯ สุขสหคตกายวิญญาณ ทุกขสหคตกายวิญญาณ มโนธาตุ กุสลมโนวิญญาณธาตุ อกุสลมโนวิญญาณธาตุ อัพยากตมโนวิญญาณธาตุ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๗๕] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนา สัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมม- *ธรรม เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็น อนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสัง- *กิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ วิญญาณขันธ์ เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกาวิจาระ วิญญาณขันธ์ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสน- *ปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนน- *ภาวนาปหาตัพพเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น เนวาจยคามีนาปจยคามี วิญญาณขันธ์เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกข- *นาเสกขะ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นหีนะ เป็นมัชฌิมะ เป็นปณีตะ วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็น สัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็นมัคคาธิปติ วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็นอนุปปันนะ เป็นอุปปาที วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน วิญญาณขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็น พหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธา- *รัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้ [๗๖] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ วิญญาณขันธ์เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็น สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นคันถวิปป- *ยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็น อโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต วิญญาณขันธ์ เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตตอโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์เป็น โยคนิยะเป็นอโยคนิยะ วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตตอโยคนิยะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณสัมปยุต เป็น นีวรณวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ เป็นนีวรณวิปปยุตต- *อนีวรณิยะ วิญญาณขันธ์เป็นปรามัฏฐะ เป็นอปรามัฏฐะ วิญญาณขันธ์เป็น ปรามาสสัมปยุต เป็นปรามาสวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุตตปรา- *มัฏฐะ เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนะ เป็น อนุปาทินนะ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานิยะ เป็นอนุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์ เป็นอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทานวิปปยุตต- *อุปาทานิยะ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิเลสิกะ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐะ เป็นอสังกิลิฏฐะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสวิปปยุต วิญญาณขันธ์เป็นกิเลสวิปปยุตต- *สังกิเลสิกะ เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสน- *ปหาตัพพะ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ วิญญาณขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็น นภาวนาปหาตัพพะ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็นทัสสน- *ปหาตัพพเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นนภาวนา- *ปหาตัพพเหตุกะ วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกะ เป็นอวิตักกะ วิญญาณขันธ์เป็น สวิจาระ เป็นอวิจาระ วิญญาณขันธ์เป็นสัปปีติกะ เป็นอัปปีติกะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นนปีติสหคตะ วิญญาณขันธ์เป็นสุขสหคตะ เป็น นสุขสหคตะ วิญญาณขันธ์เป็นอุเปกขาสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นกามาวจร เป็นนกามาวจร วิญญาณขันธ์เป็นรูปาวจร เป็นนรูปาวจร วิญญาณขันธ์เป็นอรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร วิญญาณขันธ์เป็นปริยาปันนะ เป็น อปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์เป็นนิยยานิกะ เป็นอนิยยานิกะ วิญญาณขันธ์ เป็นนิยตะ เป็นอนิยตะ วิญญาณขันธ์เป็นสอุตตระ เป็นอนุตระ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็น กุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วย ประการฉะนี้ [๗๗] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น พหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ทุกมูลกวาร จบ
[ติกมูลกวาร]
[๗๘] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น พหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสรณะ เป็นอรณะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็น เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
ติกมูลกวาร จบ
[อุภโตวัฑฒกวาร]
[๗๙] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเหตุสัมปยุต เป็นเหตุวิปปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะ เป็นนเหตุอเหตุกะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นวิบาก เป็นวิปากธัมมธรรม เป็น เนววิปากนวิปากธัมมธรรม ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโลกิยะ เป็นโลกุตตระ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นเกนจินวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็น อสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสาสวะ เป็นอนาสวะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสวิตักกสวิจาระ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ เป็น อวิตักกาวิจาระ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสวสัมปยุต เป็นอาสววิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ เป็นอาสววิปป- *ยุตตอนาสวะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพะ เป็นภาวนาปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ เป็นอสัญโญชนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ เป็น ภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ฯลฯ วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนวิปปยุต. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอาจยคามี เป็นอปจยคามี เป็น เนวาจยคามีนาปจยคามี ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ เป็น สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์ เป็นเสกขะ เป็นอเสกขะ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถนิยะ เป็นอคันถนิยะ. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตะ เป็นมหัคคตะ เป็นอัปปมาณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถสัมปยุต เป็นคันถวิปปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นปริตตารัมมณะ เป็นมหัคคตารัมมณะ เป็นอัปปมาณารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ เป็นคันถวิปป- *ยุตตอคันถนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นหีนะ เป็น มัชฌิมะ เป็นปณีตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆนิยะ เป็นอโนฆนิยะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมิจฉัตตนิยตะ เป็นสัมมัตตนิยตะ เป็นอนิยตะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆสัมปยุต เป็นโอฆวิปปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นมัคคารัมมณะ เป็นมัคคเหตุกะ เป็น มัคคาธิปติ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโอฆวิปปยุตตโอฆนิยะ เป็นโอฆวิปปยุตต- *อโนฆนิยะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอุปปันนะ เป็น อนุปปันนะ เป็นอุปปาที ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคนิยะ เป็นอโยคนิยะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอดีต เป็นอนาคต เป็นปัจจุบัน ฯลฯ วิญญาณ ขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยคสัมปยุต เป็นโยควิปปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอตีตารัมมณะ เป็นอนาคตารัมมณะ เป็น ปัจจุปปันนารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นโยควิปปยุตตโยคนิยะ เป็นโยควิปปยุตต- *อโยคนิยะ. วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตะ เป็น พหิทธา เป็นอัชฌัตตพหิทธา ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑ คือ วิญญาณขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. วิญญาณ- *ขันธ์หมวดละ ๒ คือ วิญญาณขันธ์เป็นนีวรณิยะ เป็นอนีวรณิยะ. วิญญาณขันธ์ หมวดละ ๓ คือ วิญญาณขันธ์เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ ฯลฯ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้
อุภโตวัฑฒกวาร จบ
[พหุวิธวาร]
[๘๐] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ คือ วิญญาณขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ อีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เป็นสุขเวทนา- *สัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็น อัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๗ ด้วย ประการฉะนี้ [๘๑] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต วิญญาณขันธ์เพราะโสต- *สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณ- *ขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ อีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณ- *ขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๒๔ ด้วยประการฉะนี้ [๘๒] วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุสัมผัส เป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณ- *ขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกาย สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละ ๓๐ ด้วยประการฉะนี้ [๘๓] วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง คือ วิญญาณขันธ์เพราะจักขุ- *สัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็น รูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็น ปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะ ชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่างอีกอย่างหนึ่ง คือ วิญญาณขันธ์เพราะ จักขุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสุขเวทนาสัมปยุต เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต เป็น อทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ฯลฯ เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยา- *ปันนะ วิญญาณขันธ์เพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะฆาน- *สัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ วิญญาณขันธ์เพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย เป็นอัชฌัตตารัมมณะ เป็นพหิทธารัมมณะ เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะ เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร เป็นอรูปาวจร เป็นอปริยาปันนะ จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ วิญญาณขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า วิญญาณขันธ์
พหุวิธวาร จบ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัญหาปุจฉกะ
[๘๔] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาขันธ์ ๕ ขันธ์ไหนเป็นกุศล ขันธ์ไหนเป็นอกุศล ขันธ์ไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ขันธ์ไหนเป็นสรณะ ขันธ์ไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๘๕] รูปขันธ์เป็นอัพยากฤต ขันธ์ ๔ (เบื้องปลาย) เป็นกุศลก็มี เป็น อกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ขันธ์ ๒ (เบื้องต้น) กล่าวไม่ได้ว่าแม้เป็นสุขเวทนา- *สัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ขันธ์ ๓ (เบื้องปลาย) เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุตก็มี รูปขันธ์เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ขันธ์ ๔ เป็นวิบาก ก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี รูปขันธ์ เป็น อุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทา- *นิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสัง- *กิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอวิตักกาวิจาระ ขันธ์ ๓ เป็นสวิตักก- *สวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สังขารขันธ์เป็น สวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขา- *สหคตะ เวทนาขันธ์ เป็นปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปีติสหคตะก็มี ขันธ์ ๓ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็น สุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้ เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวทัสสนนภาวนา- *ปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็น เนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ขันธ์ ๔ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี รูปขันธ์ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ ขันธ์ ๔ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี รูปขันธ์ เป็นปริตตะ ขันธ์ ๔ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็น ปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณา- *รัมมณะก็มี รูปขันธ์ เป็นมัชฌิมะ ขันธ์ ๔ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็น ปณีตะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ ขันธ์ ๔ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะ ก็มี เป็นอนิยตะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็น มัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็น มัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะ ก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นอดีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีตารัมมณะ แม้เป็น อนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ขันธ์ ๕ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็น อัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ รูปขันธ์ เป็นสนิ- *ทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะก็มี เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะก็มี
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๘๖] ขันธ์ ๔ เป็นนเหตุ สังขารขันธ์เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี รูปขันธ์ เป็นอเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นเหตุวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี สังขารขันธ์เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น เหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุ- *เหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุ- *เหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ก็มี สังขารขันธ์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี รูปขันธ์ เป็นนเหตุสเหตุกะ ขันธ์ ๓ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี สังขารขันธ์เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
[๘๗] ขันธ์ ๕ เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ ขันธ์ ๔ เป็นอนิทัสสนะ รูปขันธ์ เป็นสนิทัสสนะก็มี เป็นอนิทัสสนะก็มี ขันธ์ ๔ เป็นอัปปฏิฆะ รูปขันธ์ เป็นสัปปฏิฆะก็มี เป็นอัปปฏิฆะก็มี รูปขันธ์ เป็นรูป ขันธ์ ๔ เป็น อรูป รูปขันธ์เป็นโลกิยะ ขันธ์ ๔ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ขันธ์ ๕ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชชนา
[๘๘] ขันธ์ ๔ เป็นโนอาสวะ สังขารขันธ์ เป็นอาสวะก็มี เป็น โนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นสาสวะ ขันธ์ ๔ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุต ก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น สาสวโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสวสัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้ เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี รูปขันธ์ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ ขันธ์ ๔ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
[๘๙] ขันธ์ ๔ เป็นโนสัญโญชนะ สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี รูปขันธ์เป็นสัญโญชนวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชน- *สัมปยุตตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชน- *สัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญ- *ชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญ- *ชนิยะโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์ เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญ- *ชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็น สัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญ- *ชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่าเป็น สัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี สังขารขันธ์เป็นสัญโญชน- *สัญโญชนสัมปยุตตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี รูปขันธ์ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นสัญโญชนวิปปยุตต- *สัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
[๙๐] ขันธ์ ๔ เป็นโนคันถะ สังขารขันธ์เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะ ก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันนิยโน- *คันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี สังขารขันธ์ เป็นคันถคันถสัมปยุต ก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี รูปขันธ์ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ขันธ์ ๔ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี
๖. ๗. ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
[๙๑] ขันธ์ ๔ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ขันธ์ ๔ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ขันธ์ ๔ เป็นโนนีวรณะ สังขารขันธ์ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี รูปขันธ์ เป็น นีวรณะวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิย- *โนนีวรณะก็มี สังขารขันธ์ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี สังขารขันธ์เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต ก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี รูปขันธ์ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ ขันธ์ ๔ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
[๙๒] ขันธ์ ๔ เป็นโนปรามาสะ สังขารขันธ์ เป็นปรามาสะก็มี เป็น โนปรามาสะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามัฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรา- *มัฏฐะก็มี รูปขันธ์เป็นปรามาสวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็น ปรามาสวิปปยุตก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุต ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรา- *มัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐ- *โนปราสะก็มี รูปขันธ์ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นปรามาส- *วิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นปรามาสวิปปยุตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
[๙๓] รูปขันธ์ เป็นอนารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นสารัมมณะ ขันธ์ ๔ เป็นโนจิตตะ วิญญาณขันธ์เป็นจิตตะ ขันธ์ ๓ เป็นเจตสิกะ ขันธ์ ๒ เป็น อเจตสิกะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสัมปยุต รูปขันธ์ เป็นจิตตวิปปยุต วิญญาณขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ขันธ์ ๓ เป็นจิตต- *สังสัฏฐะ รูปขันธ์ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ วิญญาณขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น จิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสมุฏฐานะ วิญญาณ- *ขันธ์เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ รูปขันธ์ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะ ก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสหภู วิญญาณขันธ์เป็นโนจิตตสหภู รูปขันธ์เป็นจิตตสหภู ก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตานุปริวัตติ วิญญาณขันธ์เป็น โนจิตตานุปริวัตติ รูปขันธ์ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ขันธ์ ๒ เป็นโนจิตตสังสัฏฐ- *สมุฏฐานสหภู ขันธ์ ๓ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๒ เป็น โนจิตตสังสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ขันธ์ ๓ เป็นพาหิระ วิญญาณขันธ์เป็น อัชฌัตติกะ รูปขันธ์ เป็นอัชฌัตติกะก็มี เป็นพาหิระก็มี ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทา รูปขันธ์ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
[๙๔] ขันธ์ ๔ เป็นนอุปาทานะ สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานะก็มี เป็น นอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็น อนุปาทานิยะก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานสัมปยุต ก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี รูปขันธ์ กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโน- *อุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี สังขารขันธ์ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ ก็มี รูปขันธ์ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ ขันธ์ ๔ เป็นอุปาทานวิปปยุตต- *อุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น อุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
[๙๕] ขันธ์ ๔ เป็นโนกิเลสะ สังขารขันธ์ เป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะ ก็มี รูปขันธ์ เป็นสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอสังกิลิฏฐะ ขันธ์ ๔ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุต ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น สังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโน- *กิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิก- *โนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐ- *โนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโน- *กิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสสัง- *กิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ ขันธ์ ๓ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี สังขารขันธ์ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี รูปขันธ์ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ ขันธ์ ๔ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็น กิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๙๖] รูปขันธ์ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพะ ก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ ขันธ์ ๔ เป็น ภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี รูปขันธ์ เป็นนทัสสนปหาตัพพ- *เหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ขันธ์ ๔ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็น นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอวิตักกะ ขันธ์ ๔ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี รูปขันธ์เป็นอวิจาระ ขันธ์ ๔ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี รูปขันธ์ เป็นอัปปีติกะ ขันธ์ ๔ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี รูปขันธ์ เป็น นปีติสหคตะ ขันธ์ ๔ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็น นสุขสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี ขันธ์ ๒ เป็น นอุเปกขาสหคตะ ขันธ์ ๓ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี รูปขันธ์ เป็นกามาวจร ขันธ์ ๔ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็น นรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นนอรูปาวจร ขันธ์ ๔ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี รูปขันธ์ เป็นปริยาปันนะ ขันธ์ ๔ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยยานิกะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี รูปขันธ์ เป็นอนิยตะ ขันธ์ ๔ เป็นนิยตะ ก็มี เป็นอนิยตะก็มี รูปขันธ์ เป็นสอุตตระ ขันธ์ ๔ เป็นสอุตตระก็มี เป็น อนุตตระก็มี รูปขันธ์ เป็นอรณะ ขันธ์ ๔ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ขันธวิภังค์ จบบริบูรณ์
๒. อายตนวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๙๗] อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ ๓. โสตายตนะ ๔. สัททายตนะ ๕. ฆานายตนะ ๖. คันธายตนะ ๗. ชิวหายตนะ ๘. รสายตนะ ๙. กายายตนะ ๑๐. โผฏฐัพพายตนะ ๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ [๙๘] จักขุ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็น ธรรมดา รูป ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา โสตะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา สัททะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ฆานะ ไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา คันธะ ไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ชิวหา ไม่ เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา รส ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา กาย ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา โผฏฐัพพะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา มโน ไม่เที่ยง เป็น ทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ธรรม ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
[๙๙] อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ ๒. โสตายตนะ ๓. ฆานายตนะ ๔. ชิวหายตนะ ๕. กายายตนะ ๖. มนายตนะ ๗. รูปายตนะ ๘. สัททายตนะ ๙. คันธายตนะ ๑๐. รสายตนะ ๑๑. โผฏฐัพพายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ [๑๐๐] ในอายตนะ ๑๒ นั้น จักขายตนะ เป็นไฉน จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๑- นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า จักขายตนะ @๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ เป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า กายายตนะ มนายตนะ เป็นไฉน มนายตนะหมวดละ ๑ คือ มนายตนะเป็นผัสสสัมปยุต. มนายตนะหมวด ละ ๒ คือ มนายตนะ เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. มนายตนะหมวดละ ๓ คือ มนายตนะ เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ ๑- มนายตนะหมวดละ มากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า มนายตนะ รูปายตนะ เป็นไฉน รูปใด เป็นสี อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๒- นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่าโผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ ธัมมายตนะ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับ เนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ ในธัมมายตนะนั้น เวทนาขันธ์เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ เวทนา- *ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่าเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต ฯลฯ สัญญา- *ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ @๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในขันธวิภังค์ ข้อ (๗๔) เป็นลำดับไป @๒. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ (๕๒๑) สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต ฯลฯ สังขาร- *ขันธ์หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้กระทบ ไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ อสังขตธาตุ เป็นไฉน ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธัมมายตนะ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัญหาปุจฉกะ
[๑๐๑] อายตนะ ๑๒ คือ ๑. จักขายตนะ ๒. รูปายตนะ ฯลฯ ๑๑. มนายตนะ ๑๒. ธัมมายตนะ
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาอายตนะ ๑๒ อายตนะไหนเป็นกุศล อายตนะไหนเป็นอกุศล อายตนะไหนเป็นอัพยากฤต ฯลฯ อายตนะไหนเป็นสรณะ อายตนะไหนเป็น อรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๑๐๒] อายตนะ ๑๐ (คือโอฬาริกายตนะ ๑๐) เป็นอัพยากฤต อายตนะ ๒ (คือ มนายตนะ ธัมมายตนะ) เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนา- *สัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต มนายตนะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต ก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธัมมายตนะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนา- *สัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม อายตนะ ๒ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ก็มี อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อายตนะ ๔ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุ- *ปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๒ เป็นอุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปา- *ทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอสังกิ- *ลิฏฐสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐ- *สังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกาวิจาระ มนายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระ ก็มี ธัมมายตนะ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็น อวิตักกาวิจาระก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจาร- *มัตตะ แม้เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวทัสสน- *นภาวนาปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะ ก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวทัสสน- *นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็น ภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี อายตนะ ๒ เป็นอาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเนวเสกขนาเสกขะ อายตนะ ๒ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสกขนาเสกขะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปริตตะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็น มหัคคตารัมมณะก็มี เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตา- *รัมมณะ แม้เป็นมหัคคตารัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นมัชฌิมะ อายตนะ ๒ เป็นหีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตต- *นิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี อายตนะ ๕ เป็น อุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ สัททายตนะ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที อายตนะ ๕ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ธัมมายตนะ เป็นอุปปันนะ ก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้ เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคต ก็มี เป็นปัจจุบันก็มี ธัมมายตนะ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบัน ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นอตีตารัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตา- *รัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี อายตนะ ๑๒ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็น พหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ อายตนะ ๒ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตต- *พหิทธารัมมณะก็มี รูปายตนะ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๙ เป็น อนิทัสสนสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๓] อายตนะ ๑๑ เป็นนเหตุ ธัมมายตนะ เป็นเหตุก็มี เป็น นเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็น อเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นเหตุวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็น สเหตุกนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธัมมายตนะ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ ก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมป- *ยุตตนเหตุ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตน- *เหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธัมมายตนะ เป็นเหตุเหตุ- *สัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนเหตุอเหตุกะ มนายตนะ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธัมมายตนะ เป็นนเหตุสเหตุกะ ก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุ- *อเหตุกะก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชนา
[๑๐๔] อายตนะ ๑๑ เป็นสัปปัจจยะ ธัมมายตนะ เป็นสัปปัจจยะ ก็มี เป็นอัปปัจจยะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นสังขตะ ธัมมายตนะ เป็นสังขตะ ก็มี เป็นอสังขตะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นอนิทัสสนะ รูปายตนะ เป็น สนิทัสสนะ อายตนะ ๑๐ เป็นสัปปฏิฆะ อายตนะ ๒ เป็นอัปปฏิฆะ อายตนะ ๑๐ เป็นรูป มนายตนะ เป็นอรูป ธัมมายตนะ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นโลกิยะ อายตนะ ๒ เป็นโลกิยะก็มี เป็นโลกุตตระก็มี อายตนะ ๑๒ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๕] อายตนะ ๑๑ เป็นโนอาสวะ ธัมมายตนะ เป็นอาสวะก็มี เป็นโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสวะ อายตนะ ๒ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นอาสว- *สัมปยุตก็มี เป็นอาสววิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสว- *โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธัมมายตนะ เป็นอาสว- *สาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสว- *สัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัมปยุตต- *โนอาสวะก็มี ธัมมายตนะ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสวสัมปยุตต- *โนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตต- *โนอาสวะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ อายตนะ ๒ เป็น อาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น อาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๖] อายตนะ ๑๑ เป็นโนสัญโญชนะ ธัมมายตนะ เป็นสัญโญ- *ชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนิยะก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ มนาย- *ตนะ กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธัมมายตนะ เป็นสัญโญ- *ชนสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น สัญโญชนสัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตต- *โนสัญโญชนะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็น สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัมปยุตต- *โนสัญโญชนะก็มี ธัมมายตนะ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญ- *ชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสัญโญชนวิปป- *ยุตตสัญโญชนิยะ อายตนะ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็น สัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตต- *สัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๗] อายตนะ ๑๑ เป็นโนคันถะ ธัมมายตนะ เป็นคันถะก็มี เป็น โนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถนิยะ อายตนะ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี เป็น อคันถนิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นคันถสัมปยุต ก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็น คันถนิยโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิย- *โนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธัมมายตนะ เป็นคันถ- *คันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธัมมายตนะ เป็นคันถคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นคันถวิปปยุตคันถนิยะ อายตนะ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี
๖. ๗. ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชนา
[๑๐๘] อายตนะ ๑๑ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ อายตนะ ๑๑ เป็นโนโยคะ ฯลฯ อายตนะ ๑๑ เป็นโนนีวรณะ ธัมมายตนะ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวร- *ณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณิยะ อายตนะ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวร- *ณิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็น นีวรณิยโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวร- *ณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธัมมายตนะ เป็น นีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวร- *ณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณ- *นีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น นีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธัมมายตนะ เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็น นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็น นีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ อาย- *ตนะ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชนา
[๑๐๙] อายตนะ ๑๑ เป็นโนปรามาสะ ธัมมายตนะ เป็นปรามาสะ ก็มี เป็นโนปรามาสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็น ปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรามัฏฐะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุต มนาย- *ตนะ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธัมมายตนะ เป็น ปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาส- *สัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรา- *มาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น ปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐ- *โนปรามาสะก็มี ธัมมายตนะ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรา- *มาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ ก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นปรา- *มาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชนา
[๑๑๐] อายตนะ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ มนายตนะ เป็นสารัมมณะ ธัมมายตนะ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี มนายตนะ เป็นจิตตะ อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตะ อายตนะ ๑๑ เป็นอเจตสิกะ ธัมมายตนะ เป็น เจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธัมมายตนะ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น จิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต อายตนะ ๑๐ เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธัมมาย- *ตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ อายตนะ ๖ เป็นโนจิตตสมุฏ- *ฐานะ อายตนะ ๖ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี อาย- *ตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสหภู ธัมมายตนะ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตานุปริวัตติ ธัมมายตนะ เป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็น โนจิตตานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธัมมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี อายตนะ ๑๑ เป็น โนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ธัมมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี อายตนะ ๑๑ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานา- *นุปริวัตติ ธัมมายตนะ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตต- *สังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี อายตนะ ๖ เป็นอัชฌัตติกะ อายตนะ ๖ เป็นพาหิระ อายตนะ ๙ เป็นอุปาทา อายตนะ ๒ เป็นนอุปาทา ธัมมายตนะ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี อายตนะ ๕ เป็นอุปาทินนะ สัททายตนะ เป็นอนุปาทินนะ อายตนะ ๖ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชนา
[๑๑๑] อายตนะ ๑๑ เป็นนอุปาทานะ ธัมมายตนะ เป็นอุปาทานะ ก็มี เป็นนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็น อุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทานิยะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธัมมายตนะ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้ เป็นอุปาทานิยะโนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทาน- *อุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะ มนายตนะ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธัมมายตนะ เป็นอุปา- *ทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ อายตนะ ๒ เป็นอุปาทาน- *วิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชนา
[๑๑๒] อายตนะ ๑๑ เป็นโนกิเลสะ ธัมมายตนะ เป็นกิเลสะก็มี เป็นโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นสัง- *กิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิเลสิกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอสังกิลิฏฐะ อายตนะ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลสวิปปยุต อายตนะ ๒ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธัมมายตนะ เป็นกิเลสสังกิเลสิกะก็มี เป็นสัง- *กิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ แม้เป็นสังกิเลสิก- *โนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็น สังกิลิฏฐโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ เป็น สังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี ธัมมายตนะ เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น กิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมยุตตโนกิเลสะ มนายตนะ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธัมมายตนะ เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ อายตนะ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตต- *อสังกิเลสิกะก็มี
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๑๑๓] อายตนะ ๑๐ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็น ทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนา- *ปหาตัพพะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพ- *เหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนภาวนา- *ปหาตัพพเหตุกะ อายตนะ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนา- *ปหาตัพพเหตุกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิตักกะ อายตนะ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอวิจาระ อายตนะ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอัปปีติกะ อายตนะ ๒ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนปีติสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นปีติ- *สหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนสุขสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อายตนะ ๒ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นกามาวจระ อายตนะ ๒ เป็นกามาวจระก็มี เป็นนกามาวจระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนรูปาวจระ อายตนะ ๒ เป็นรูปาวจระก็มี เป็นนรูปาวจระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นนอรูปาวจระ อายตนะ ๒ เป็นอรูปาวจระก็มี เป็นนอรูปาวจระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นปริยาปันนะ อายตนะ ๒ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยยานิกะ อายตนะ ๒ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะ ก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอนิยตะ อายตนะ ๒ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นสอุตตระ อายตนะ ๒ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี อายตนะ ๑๐ เป็นอรณะ อายตนะ ๒ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อายตนวิภังค์ จบบริบูรณ์
๓. ธาตุวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
ธาตุ ๖ นัยที่ ๑
[๑๑๔] ธาตุ ๖ คือ ๑. ปฐวีธาตุ ๒. อาโปธาตุ ๓. เตโชธาตุ ๔. วาโยธาตุ ๕. อากาสธาตุ ๖. วิญญาณธาตุ [๑๑๕] ในธาตุ ๖ นั้น ปฐวีธาตุ เป็นไฉน ปฐวีธาตุมี ๒ อย่างคือ ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ในปฐวีธาตุ ๒ อย่างนั้น ปฐวีธาตุภายใน เป็นไฉน ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็น ภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้- *ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่ กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก เป็นไฉน ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่แข็ง เป็นภาย นอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ เหล็ก โลหะ ดีบุกขาว ดีบุกดำ เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงินตรา ทอง แก้วมณีแดง แก้วมณีลาย หญ้า ท่อนไม้ กรวด กระเบื้อง แผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา หรือ ธรรมชาติที่แข็ง ธรรมชาติที่กระด้าง ความแข็ง ภาวะที่ แข็ง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุภายนอก ปฐวีธาตุภายใน ปฐวีธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้นเข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ [๑๑๖] อาโปธาตุ เป็นไฉน อาโปธาตุมี ๒ อย่าง คือ อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ในอาโปธาตุ ๒ อย่างนั้น อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติ ที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก เป็นไฉน ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ รสรากไม้ รสลำต้น รสเปลือกไม้ รสใบไม้ รสดอกไม้ รสผลไม้ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำที่อยู่ในพื้นดิน หรือน้ำที่อยู่ในอากาศ หรือ ความเอิบอาบ ธรรมชาติที่เอิบอาบ ความเหนียว ธรรมชาติที่เหนียว ธรรมชาติที่เกาะกุมรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายนอก อาโปธาตุภายใน อาโปธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อาโปธาตุ [๑๑๗] เตโชธาตุ เป็นไฉน เตโชธาตุ มี ๒ อย่าง คือ เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ในเตโชธาตุ ๒ อย่างนั้น เตโชธาตุภายใน เป็นไฉน ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ เตโช- *ธาตุที่ทำให้ร่างกายทรุดโทรม เตโชธาตุที่ทำให้ร่างกายเร่าร้อน เตโชธาตุที่ทำให้ ของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มถึงความย่อยไปด้วยดี หรือ ความร้อน ธรรมชาติ ที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก เป็นไฉน ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ไฟฟืน ไฟสะเก็ดไม้ ไฟหญ้า ไฟมูลโค ไฟแกลบ ไฟหยากเยื่อ ไฟอสนีบาต ความ ร้อนแห่งไฟ ความร้อนแห่งดวงอาทิตย์ ความร้อนแห่งกองฟืน ความร้อนแห่ง กองหญ้า ความร้อนแห่งกองข้าวเปลือก ความร้อนแห่งกองขี้เถ้า หรือ ความร้อน ธรรมชาติที่ร้อน ความอุ่น ธรรมชาติที่อุ่น ความอบอุ่น ธรรมชาติที่อบอุ่น เป็น ภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า เตโชธาตุ ภายนอก เตโชธาตุภายใน เตโชธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า เตโชธาตุ [๑๑๘] วาโยธาตุ เป็นไฉน วาโยธาตุมี ๒ อย่างคือ วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ในวาโยธาตุ ๒ อย่างนั้น วาโยธาตุภายใน เป็นไฉน ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมพัดไปตามตัว ลมศัสตรา ลมมีดโกน ลมเพิกหัวใจ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความ เคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก เป็นไฉน ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูปเป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก ได้แก่ ลมตะวันออก ลมตะวันตก ลมเหนือ ลมใต้ ลมมีฝุ่นละออง ลมไม่มีฝุ่นละออง ลมหนาว ลมร้อน ลมอ่อน ลมแรง ลมดำ ลมบน ลมกระพือปีก ลมครุธ ลมใบตาล ลมเป่าปาก หรือ ความพัดไปมา ธรรมชาติที่พัดไปมา ความเคร่งตึงแห่งรูป เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้าง นอก แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า วาโยธาตุภายนอก วาโยธาตุภายใน วาโยธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้าเป็น หมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า วาโยธาตุ [๑๑๙] อากาศธาตุ เป็นไฉน อากาศธาตุมี ๒ อย่าง คือ อากาศธาตุภายใน อากาศธาตุภายนอก ในอากาศธาตุ ๒ อย่างนั้น อากาศธาตุภายใน เป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน เฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน ได้แก่ ช่องหู ช่องจมูก ช่อง ปาก ช่องสำหรับกลืนของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม ช่องที่พักอยู่แห่งของกิน ของดื่มของเคี้ยวของลิ้ม และช่องสำหรับของกินของดื่มของเคี้ยวของลิ้มไหลออก เบื้องต่ำ หรือ อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติ อันนับว่าความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันเนื้อและเลือดไม่ ถูกต้อง เป็นภายในเฉพาะตน เป็นอุปาทินนรูปข้างใน แม้อื่นใดมีอยู่ นี้เรียกว่า อากาศธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก เป็นไฉน อากาศ ธรรมชาติอันนับว่าอากาศ ความว่างเปล่า ธรรมชาติอันนับว่า ความว่างเปล่า ช่องว่าง ธรรมชาติอันนับว่าช่องว่าง ที่อันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูก ต้อง เป็นภายนอก เป็นอนุปาทินนรูปข้างนอก นี้เรียกว่า อากาสธาตุภายนอก อากาสธาตุภายใน อากาสธาตุภายนอก ประมวลทั้ง ๒ อย่างนั้น เข้า เป็นหมวดเดียวกัน นี้เรียกว่า อากาสธาตุ [๑๒๐] วิญญาณธาตุ เป็นไฉน จักขุวิญญาณธาตุ โสตวิญญาณธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ กายวิญญาณธาตุ มโนวิญญาณธาตุ นี้เรียกว่าวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ธาตุ ๖ นัยที่ ๒
[๑๒๑] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. สุขธาตุ ๒. ทุกขธาตุ ๓. โสมนัสสธาตุ ๔. โทมนัสสธาตุ ๕. อุเปกขาธาตุ ๖. อวิชชาธาตุ ในธาตุ ๖ นั้น สุขธาตุ เป็นไฉน ความสบายกาย ความสุขกาย ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข เกิด แต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า สุขธาตุ ทุกขธาตุ เป็นไฉน ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่กายสัมผัส นี้ เรียกว่า ทุกขธาตุ โสมนัสสธาตุ เป็นไฉน ความสบายใจ ความสุขใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่ เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โสมนัสสธาตุ โทมนัสสธาตุ เป็นไฉน ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์เกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า โทมนัสสธาตุ อุเปกขาธาตุ เป็นไฉน ความสบายใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ไม่ทุกข์ไม่สุขเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้เรียกว่า อุเปกขาธาตุ อวิชชาธาตุ เป็นไฉน ความไม่รู้ ความไม่เห็น ฯลฯ ๑- ลิ่มคืออวิชชา อกุศลมูล คือโมหะ นี้เรียกว่า อวิชชาธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้เรียกว่า ธาตุ ๖
ธาตุ ๖ นัยที่ ๓
[๑๒๒] ธาตุ ๖ อีกนัยหนึ่ง คือ ๑. กามธาตุ ๒. พยาปาทธาตุ @๑. ความที่ ฯลฯ พึงดูในธรรมสังคณีปกรณ์ ข้อ (๓๐๐) ๓. วิหิงสาธาตุ ๔. เนกขัมมธาตุ ๕. อัพยาปาทธาตุ ๖. อวิหิงสาธาตุ ในธาตุ ๖ นั้น กามธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ อันประกอบด้วยกาม ความ ที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า กามธาตุ ชั้นต่ำมีอวีจินรกเป็นที่สุด ชั้นสูงมีเทพชั้น ปรนิมมิตวสวัตตีเป็นที่สุด ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่ท่องเที่ยวอยู่ในระหว่างนี้ นับเนื่องอยู่ในระหว่างนี้ นี้เรียกว่า กามธาตุ พยาปาทธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยพยาบาท ฯลฯ มิจฉา- *สังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ อีกนัยหนึ่ง ความที่จิตอาฆาต ในอาฆาฏ- *วัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมีกำลัง ความกระทบ ความแค้น ความโกรธ ความกำเริบ ความกำเริบหนัก ความคิดประทุษร้าย ความคิดประทุษร้ายยิ่ง ความคิดประทุษ- *ร้ายหนัก ความที่จิตพยาบาท ความมีใจประทุษร้ายยิ่ง ความโกรธ กิริยาที่โกรธ สภาพที่โกรธ ความคิดประทุษร้าย กิริยาที่คิดประทุษร้าย สภาพที่คิดประทุษร้าย ความพยาบาท กิริยาที่พยาบาท สภาพที่พยาบาท ความพิโรธ ความแค้น ความ ดุร้าย อาการที่พูดไม่ยั้ง ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้เรียกว่า พยาปาทธาตุ วิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยวิหิงสา ฯลฯ มิจฉา- *สังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ ทั้งหลายด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือเชือก ความข่มเหง กิริยาที่ข่มเหง ความเบียดเบียน กิริยาที่เบียดเบียน ความขึ้งเคียด ความเคียดแค้น ความเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ เนกขัมมธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า เนกขัมมธาตุ อัพยาปาทธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี สภาพ ที่มีไมตรี ในสัตว์ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อัพยาปาทธาตุ อวิหิงสาธาตุ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง อันประกอบด้วยอวิหิงสา ความดำริ ความที่จิตแนบอยู่ในอารมณ์ ความที่จิตแนบสนิทอยู่ในอารมณ์ ความยกจิตขึ้นสู่ อารมณ์ สัมมาสังกัปปะ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณา ในสัตว์ทั้งหลาย กรุณาเจโตวิมุตติ นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ ก็เรียกว่า ธาตุ ๖ [๑๒๓] ฉักกะ หมวดแห่งธาตุ ๖ ทั้ง ๓ นัยนี้ ประมวลเข้าเป็นหมวด เดียวกัน เป็นธาตุ ๑๘ ด้วยประการฉะนี้
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
[๑๒๔] ธาตุ ๑๘ คือ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธรรมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ [๑๒๕] ในธาตุ ๑๘ นั้น จักขุธาตุ เป็นไฉน จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ ๑- นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ เป็นไฉน รูปใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ ได้แก่ สี ฯลฯ นี้เรียกว่า รูปธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ เป็นไฉน @๑. ความที่ ฯลฯ ในอภิธรรมภาชนีย์นี้ พึงดูความเต็มในธรรมสังคณีปกรณ์ @ตั้งแต่ข้อ (๕๑๖) เป็นลำดับไป จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ จักขุวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยจักขุปสาทและรูปารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า จักขุวิญญาณธาตุ [๑๒๖] โสตธาตุ เป็นไฉน โสตะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า โสตธาตุ สัททธาตุ เป็นไฉน เสียงใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า สัททธาตุบ้าง นี้เรียกว่า สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ โสตวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยโสตปสาทและสัททารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า โสตวิญญาณธาตุ [๑๒๗] ฆานธาตุ เป็นไฉน ฆานะใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า ฆานธาตุ คันธธาตุ เป็นไฉน กลิ่นใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า คันธธาตุบ้าง นี้เรียกว่า คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ฆานวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยฆานปสาทและคันธารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ฆานวิญญาณธาตุ [๑๒๘] ชิวหาธาตุ เป็นไฉน ชิวหาใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า ชิวหาธาตุ รสธาตุ เป็นไฉน รสใด อาศัยมหาภูตรูป ๔ เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ ฯลฯ นี้เรียกว่า รสธาตุบ้าง นี้เรียกว่า รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ ชิวหาวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยชิวหาปสาทและรสารมณ์ เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ชิวหาวิญญาณธาตุ [๑๒๙] กายธาตุ เป็นไฉน กายใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯลฯ นี้เรียกว่า บ้านว่าง บ้าง นี้เรียกว่า กายธาตุ โผฏฐัพพธาตุ เป็นไฉน ปฐวีธาตุ ฯลฯ นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุบ้าง นี้เรียกว่า โผฏฐัพพธาตุ กายวิญญาณธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ กายวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยกายปสาทและโผฏฐัพพารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า กายวิญญาณธาตุ [๑๓๐] มโนธาตุ เป็นไฉน จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของโสตวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของฆานวิญญาณธาตุ จิต ฯลฯ ของชิวหาวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิด ดับของกายวิญญาณธาตุ หรือความพิจารณาอารมณ์ทีแรกในธรรมทั้งปวง นี้เรียกว่า มโนธาตุ ธรรมธาตุ เป็นไฉน เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ และอสังขตธาตุ ในธรรมธาตุนั้น เวทนาขันธ์ เป็นไฉน เวทนาขันธ์หมวดละ ๑ คือ เวทนาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. เวทนาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ เวทนาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. เวทนาขันธ์หมวดละ ๓ คือ เวทนาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ เวทนาขันธ์หมวด ละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ เป็นไฉน สัญญาขันธ์หมวดละ ๑ คือ สัญญาขันธ์เป็นผัสสสัมปยุต. สัญญาขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สัญญาขันธ์เป็นสเหตุกะ เป็นอเหตุกะ. สัญญาขันธ์หมวด ละ ๓ คือ สัญญาขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สัญญาขันธ์ หมวดละมากอย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นไฉน สังขารขันธ์หมวดละ ๑ คือ สังขารขันธ์เป็นจิตตสัมปยุต. สังขารขันธ์ หมวดละ ๒ คือ สังขารขันธ์เป็นเหตุ เป็นนเหตุ. สังขารขันธ์หมวดละ ๓ คือ สังขารขันธ์เป็นกุศล เป็นอกุศล เป็นอัพยากฤต ฯลฯ สังขารขันธ์หมวดละมาก อย่าง ด้วยประการฉะนี้ นี้เรียกว่า สังขารขันธ์ รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ เป็นไฉน อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร นี้เรียกว่า รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบ ไม่ได้ นับเนื่องในธัมมายตนะ อสังขตธาตุ เป็นไฉน ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า อสังขตธาตุ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เป็นไฉน มโนธาตุเกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของจักขุวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของ มโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของโสตวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของฆานวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับของชิวหาวิญญาณธาตุ ฯลฯ มโนธาตุ เกิดในลำดับ แห่งการเกิดดับของกายวิญญาณธาตุ จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุ ที่สมกัน เกิดในลำดับแห่งการเกิดดับแม้ของมโนธาตุอีกชั้นหนึ่ง จิต มโน มานัส หทัย ปัณฑร มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อาศัยมโนและธรรมารมณ์เกิดขึ้น นี้เรียกว่า มโน- *วิญญาณธาตุ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัญหาปุจฉกะ
[๑๓๑] ธาตุ ๑๘ คือ ๑. จักขุธาตุ ๒. รูปธาตุ ๓. จักขุวิญญาณธาตุ ๔. โสตธาตุ ๕. สัททธาตุ ๖. โสตวิญญาณธาตุ ๗. ฆานธาตุ ๘. คันธธาตุ ๙. ฆานวิญญาณธาตุ ๑๐. ชิวหาธาตุ ๑๑. รสธาตุ ๑๒. ชิวหาวิญญาณธาตุ ๑๓. กายธาตุ ๑๔. โผฏฐัพพธาตุ ๑๕. กายวิญญาณธาตุ ๑๖. มโนธาตุ ๑๗. ธรรมธาตุ ๑๘. มโนวิญญาณธาตุ
ติกมาติกาปุจฉา-ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาธาตุ ๑๘ ธาตุไหนเป็นกุศล ธาตุไหนเป็นอกุศล ธาตุไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ธาตุไหนเป็นสรณะ ธาตุไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชชนา
[๑๓๒] ธาตุ ๑๖ เป็นอัพยากฤต ธาตุ ๒ เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็น ทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุต ธาตุ ๕ เป็นอทุกขม- *สุขเวทนาสัมปยุต กายวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนา- *สัมปยุตก็มี มโนวิญญาณธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต ก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นทุกขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุขเวทนาสัมปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสุขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นทุกขเวทนาสัมปยุต แม้เป็นอทุกขมสุขเวทนา- *สัมปยุตก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม ธาตุ ๕ เป็นวิบาก มโนธาตุ เป็นวิบากก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ธาตุ ๒ เป็นวิบาก ก็มี เป็นวิบากธัมมธรรมก็มี เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรมก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น อุปาทินนุปาทานิยะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ธาตุ ๕ เป็นอุปา- *ทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอุปาทินนุ- *ปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนุปาทานิยะก็มี เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐสังกิเลสิกะก็มี เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็น อวิตักกาวิจาระ มโนธาตุ เป็นสวิตักกสวิจาระ มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักก- *สวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ธรรมธาตุ เป็น สวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นสวิตักกสวิจาระ แม้เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ แม้เป็นอวิตักกา- *วิจาระก็มี ธาตุ ๑๐ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ กายวิญญาณธาตุ เป็น นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นนอุเบกขาสหคตะ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสุข- *สหคตะก็มี ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขา- *สหคตะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปีติสหคตะ แม้เป็นสุขสหคตะ แม้เป็น อุเปกขาสหคตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหา- *ตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็น ทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นเนวทัสสนน- *ภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามี ธาตุ ๒ เป็น อาจยคามีก็มี เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามีนาปจยคามีก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น เนวเสกขนาเสกขะ ธาตุ ๒ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี เป็นเนวเสก- *ขนาเสกขะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริตตะ ธาตุ ๒ เป็นปริตตะก็มี เป็นมหัคคตะ ก็มี เป็นอัปปมาณะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปริตตา- *รัมมณะ ธาตุ ๒ เป็นปริตตารัมมณะก็มี เป็นมหัคคตารัมมณะก็มี เป็น อัปปมาณารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปริตตารัมมณะ แม้เป็นมหัคคตา- *รัมมณะ แม้เป็นอัปปมาณารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นมัชฌิมะ ธาตุ ๒ เป็น หีนะก็มี เป็นมัชฌิมะก็มี เป็นปณีตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ ธาตุ ๒ เป็นมิจฉัตตนิยตะก็มี เป็นสัมมัตตนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็น อนารัมมณะ ธาตุ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติ ธาตุ ๒ เป็นมัคคารัมมณะก็มี เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็น มัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคารัมมณะ แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็น มัคคาธิปติก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอนุปปันนะ สัททธาตุ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปปาที ธาตุ ๖ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปปันนะ แม้เป็นอนุปปันนะ แม้เป็นอุปปาทีก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี ธรรมธาตุ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็น ปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอดีต แม้เป็นอนาคต แม้เป็นปัจจุบันก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ ธาตุ ๒ เป็นอตีตา- *รัมมณะก็มี เป็นอนาคตารัมมณะก็มี เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๖ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็นพหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี ธาตุ ๒ เป็นอัชฌัตตารัมมณะก็มี เป็น พหิทธารัมมณะก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น อัชฌัตตารัมมณะ แม้เป็นพหิทธารัมมณะ แม้เป็นอัชฌัตตพหิทธารัมมณะก็มี รูปธาตุ เป็นสนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๙ เป็นอนิทัสสนสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชชนา
[๑๓๓] ธาตุ ๑๗ เป็นนเหตุ ธรรมธาตุ เป็นเหตุก็มี เป็นนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นสเหตุกะก็มี เป็นอเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นเหตุวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นเหตุสัมปยุตก็มี เป็นเหตุวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นสเหตุกนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุสเหตุกะก็มี เป็นสเหตุกนเหตุ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุสเหตุกะ แม้เป็นสเหตุกนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุสัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ มโน- *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธรรมธาตุ เป็นเหตุเหตุ- *สัมปยุตก็มี เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นเหตุเหตุ- *สัมปยุต แม้เป็นเหตุสัมปยุตตนเหตุก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนเหตุอเหตุกะ มโนวิญญาณธาตุ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนเหตุสเหตุกะก็มี เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุ- *สเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะก็มี
๒. จูฬันตรทุกวิสัชชนา
[๑๓๔] ธาตุ ๑๗ เป็นสัปปัจจยะ ธรรมธาตุ เป็นสัปปัจจยะก็มี เป็นอัปปัจจยะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นสังขตะ ธรรมธาตุ เป็นสังขตะก็มี เป็น อสังขตะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นอนิทัสสนะ รูปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ ธาตุ ๑๐ เป็นสัปปฏิฆะ ธาตุ ๘ เป็นอัปปฏิฆะ ธาตุ ๑๐ เป็นรูป ธาตุ ๗ เป็นอรูป ธรรมธาตุ เป็นรูปก็มี เป็นอรูปก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นโลกิยะ ธาตุ ๒ เป็นโลกิยะ ก็มี เป็นโลกุตตระก็มี ธาตุ ๑๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็นเกนจินวิญเญยยะ
๓. อาสวโคจฉกวิสัชชนา
[๑๓๕] ธาตุ ๑๗ เป็นโนอาสวะ ธรรมธาตุ เป็นอาสวะก็มี เป็น โนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นสาสวะก็มี เป็นอนาสวะ ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอาสววิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสว- *วิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสาสวะ เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสาสวโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอาสวสาสวะก็มี เป็นสาสวโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโน- *อาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวอาสว- *สัมปยุต เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอาสวสัม- *ปยุตตโนอาสวะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอาสวอาสวสัมปยุตก็มี เป็นอาสว- *สัมปยุตตโนอาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตตโนอาสวะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอาสว- *วิปปยุตตสาสวะ ธาตุ ๒ เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะก็มี เป็นอาสววิปปยุตต- *อนาสวะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสววิปปยุตตสาสวะ แม้เป็นอาสว- *วิปปยุตตอนาสวะก็มี
๔. สัญโญชนโคจฉกวิสัชชนา
[๑๓๖] ธาตุ ๑๗ เป็นโนสัญโญชนะ ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนะก็มี เป็นโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนิยะ ก็มี เป็นอสัญโญชนิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี ธาตุ ๒ เป็น สัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น สัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนิยะ เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนสัญโญ- *ชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชน- *สัญโญชนิยะ แม้เป็นสัญโญชนิยโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต เป็นสัญโญ- *ชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่าเป็นสัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญ- *ชนะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุตก็มี เป็นสัญโญชนสัมปยุตต- *โนสัญโญชนะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนสัญโญชนสัมปยุต แม้เป็น สัญโญชนสัมปยุตตโนสัญโญชนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญ- *ชนิยะ ธาตุ ๒ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะก็มี เป็นสัญโญชนวิปปยุตต- *อสัญโญชนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นสัญโญชนวิปปยุตตสัญโญชนิยะ แม้ เป็นสัญโญชนวิปปยุตตอสัญโญชนิยะก็มี
๕. คันถโคจฉกวิสัชชนา
[๑๓๗] ธาตุ ๑๗ เป็นโนคันถะ ธรรมธาตุ เป็นคันถะก็มี เป็นโนคันถะ ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถนิยะ ธาตุ ๒ เป็นคันถนิยะก็มี เป็นอคันถนิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นคันถสัมปยุตก็มี เป็นคันถวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถนิยะ เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น คันถนิยโนคันถะก็มี ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถนิยะก็มี เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถนิยะ แม้เป็นคันถนิยโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะ มโน- *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถคันถสัมปยุต เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธรรมธาตุ เป็นคันถคันถสัมปยุต ก็มี เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถคันถสัมปยุต แม้ เป็นคันถสัมปยุตตโนคันถะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ ธาตุ ๒ เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะก็มี เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นคันถวิปปยุตตคันถนิยะ แม้เป็นคันถวิปปยุตตอคันถนิยะก็มี
๖, ๗, ๘. โอฆโคจฉกาทิวิสัชชนา
[๑๓๘] ธาตุ ๑๗ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ ธาตุ ๑๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ ธาตุ ๑๗ เป็นโนนีวรณะ ธรรมธาตุ เป็นนีวรณะก็มี เป็นโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนีวรณิยะ ธาตุ ๒ เป็นนีวรณิยะก็มี เป็นอนีวรณิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น นีวรณวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณิยะ เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็น นีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็นนีวรณนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณิยโนนีวรณะ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณิยะ แม้เป็นนีวรณิยโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต เป็นนีวรณสัมปยุตต- *โนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธรรมธาตุ เป็น นีวรณนีวรณสัมปยุตก็มี เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้ เป็นนีวรณนีวรณสัมปยุต แม้เป็นนีวรณสัมปยุตตโนนีวรณะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น นีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ ธาตุ ๒ เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะก็มี เป็นนีวรณ- *วิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนีวรณวิปปยุตตนีวรณิยะ แม้เป็น นีวรณวิปปยุตตอนีวรณิยะก็มี
๙. ปรามาสโคจฉกวิสัชชนา
[๑๓๙] ธาตุ ๑๗ เป็นโนปรามาสะ ธรรมธาตุ เป็นปรามาสะก็มี เป็น โนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นปรามัฏฐะก็มี เป็นอปรา- *มัฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามาสวิปปยุต มโนวิญญาณธาตุ เป็นปรามาสสัมปยุต ก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธรรมธาตุ เป็นปรามาสสัมปยุตก็มี เป็นปรามาส- *วิปปยุตก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสสัมปยุต แม้เป็นปรามาสวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะ มโน- *วิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามาสปรามัฏฐะ เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นปรามาสปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นปรามาสปรามัฏฐะ แม้เป็น ปรามัฏฐโนปรามาสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ ธาตุ ๒ เป็น ปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะก็มี เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี กล่าวไม่ได้ ว่า แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตปรามัฏฐะ แม้เป็นปรามาสวิปปยุตตอปรามัฏฐะก็มี
๑๐. มหันตรทุกวิสัชชนา
[๑๔๐] ธาตุ ๑๐ เป็นอนารัมมณะ ธาตุ ๗ เป็นสารัมมณะ ธรรมธาตุ เป็นสารัมมณะก็มี เป็นอนารัมมณะก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นโนจิตตะ ธาตุ ๗ เป็นจิตตะ ธาตุ ๑๗ เป็นอเจตสิกะ ธรรมธาตุ เป็นเจตสิกะก็มี เป็นอเจตสิกะก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นจิตตวิปปยุต ธรรมธาตุ เป็นจิตตสัมปยุตก็มี เป็นจิตตวิปปยุตก็มี ธาตุ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสัมปยุต แม้เป็นจิตตวิปปยุต ธาตุ ๑๐ เป็นจิตต- *วิสังสัฏฐะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐะก็มี เป็นจิตตวิสังสัฏฐะก็มี ธาตุ ๗ กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นจิตตสังสัฏฐะ แม้เป็นจิตตวิสังสัฏฐะ ธาตุ ๑๒ เป็นโนจิตตสมุฏ- *ฐานะธาตุ ๖ เป็นจิตตสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น โนจิตตสหภู ธรรมธาตุ เป็นจิตตสหภูก็มี เป็นโนจิตตสหภูก็มี ธาตุ ๑๗ เป็น โนจิตตานุปริวัตติ ธรรมธาตุเป็นจิตตานุปริวัตติก็มี เป็นโนจิตตานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภูก็มี ธาตุ ๑๗ เป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ ธรรมธาตุ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏ ฐานานุปริวัตติก็มีเป็นโนจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติก็มี ธาตุ ๑๒ เป็นอัชฌัต- *ติกะธาตุ ๖ เป็นพาหิระ ธาตุ ๙ เป็นอุปาทา ธาตุ ๘ เป็นนอุปาทา ธรรมธาตุ เป็นอุปาทาก็มี เป็นนอุปาทาก็มี ธาตุ ๑๐ เป็นอุปาทินนะ สัททธาตุ เป็นอนุปาทิน- *นะ ธาตุ ๗ เป็นอุปาทินนะก็มี เป็นอนุปาทินนะก็มี
๑๑. อุปาทานโคจฉกวิสัชชนา
[๑๔๑] ธาตุ ๑๗ เป็นนอุปาทานะ ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานะก็มี เป็น นอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานิยะ ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานิยะก็มี เป็น อนุปาทานิยะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็น อุปาทานิยโนอุปาทานะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี กล่าว ไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานิยโนอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปา- *ทานะก็มี มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต เป็น อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นอุปาทานสัมปยุตตโนอุปา- *ทานะก็มี ธรรมธาตุ เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุตก็มี เป็นอุปาทานสัมปยุตต- *โนอุปาทานะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานอุปาทานสัมปยุต แม้เป็น อุปาทานสัมปยุตตโนอุปาทานะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ ธาตุ ๒ เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะก็มี เป็นอุปาทานวิปปยุตตอนุปาทานิยะ ก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอุปาทานวิปปยุตตอุปาทานิยะ แม้เป็นอุปาทานวิปป- *ยุตตอนุปาทานิยะก็มี
๑๒. กิเลสโคจฉกวิสัชชนา
[๑๔๒] ธาตุ ๑๗ เป็นโนกิเลสะ ธรรมธาตุ เป็นกิเลสะก็มี เป็น โนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิเลสิกะก็มี เป็น อสังกิเลสิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอสังกิลิฏฐะ ธาตุ ๒ เป็นสังกิลิฏฐะก็มี เป็น อสังกิลิฏฐะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกิเลสวิปปยุต ธาตุ ๒ เป็นกิเลสสัมปยุตก็มี เป็น กิเลสวิปปยุตก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิก- *โนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสังกิเลสิกะ เป็นสังกิเลสิก- *โนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นกิเลส- *สังกิเลสิกะก็มี เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิเล- *สิกะ แม้เป็นสังกิเลสิกโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลส- *สังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็น กิเลสสังกิลิฏฐะ เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นสังกิลิฏฐโน- *กิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็นสังกิเลสสังกิลิฏฐะก็มี เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสสังกิลิฏฐะ แม้เป็นสังกิลิฏฐโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะ มโนวิญญาณธาตุ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสกิเลสสัมปยุต เป็นกิเลสสัมปยุตต- *โนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธรรมธาตุ เป็น กิเลสกิเลสสัมปยุตก็มี เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น กิเลสกิเลสสัมปยุต แม้เป็นกิเลสสัมปยุตตโนกิเลสะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกิเลส- *วิปปยุตตสังกิเลสิกะ ธาตุ ๒ เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะก็มี เป็นกิเลส- *วิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตสังกิเลสิกะ แม้เป็นกิเลสวิปปยุตตอสังกิเลสิกะก็มี
๑๓. ปีฏฐิทุกวิสัชชนา
[๑๔๓] ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหา- *ตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ ธาตุ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนทัสสนปหา- *ตัพพะเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ ก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ธาตุ ๒ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะ ก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิตักกะ มโนวิญญาณธาตุ เป็นสวิตักกะ ธาตุ ๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นอวิจาระ มโนธาตุ เป็นสวิจาระ ธาตุ ๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น อัปปีติกะ ธาตุ ๒ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนปีติสหคตะ ธาตุ ๒ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี ธาตุ ๑๕ เป็นนสุขสหคตะ ธาตุ ๓ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี ธาตุ ๑๑ เป็นนอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๕ เป็นอุเปกขาสหคตะ ธาตุ ๒ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขา- *สหคตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นกามาวจร ธาตุ ๒ เป็นกามาวจรก็มี เป็นนกามาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นนรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็นรูปาวจรก็มี เป็นนรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็น นอรูปาวจร ธาตุ ๒ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นปริยา- *ปันนะ ธาตุ ๒ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยยา- *นิกะ ธาตุ ๒ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็นอนิยยานิกะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอนิยตะ ธาตุ ๒ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นสอุตตระ ธาตุ ๒ เป็น สอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี ธาตุ ๑๖ เป็นอรณะ ธาตุ ๒ เป็นสรณะก็มี เป็น อรณะก็มี ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
ธาตุวิภังค์ จบบริบูรณ์
๔. สัจจวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๑๔๔] อริยสัจ ๔ คือ ๑. ทุกขอริยสัจ ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ทุกขอริยสัจ
[๑๔๕] ในอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ชาติทุกข์ ชราทุกข์ มรณทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสสอุปายาสทุกข์ อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [๑๔๖] ในทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้ เรียกว่าชาติ [๑๔๗] ชรา เป็นไฉน ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์ นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่าชรา [๑๔๘] มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ [๑๔๙] โสกะ เป็นไฉน ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของ ผู้ที่ถูกกระทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่าง หนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า โสกะ [๑๕๐] ปริเทวะ เป็นไฉน ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกกระทบ ด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อม โภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของ ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ปริเทวะ [๑๕๑] ทุกข์ เป็นไฉน ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๕๒] โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส [๑๕๓] อุปายาส เป็นไฉน ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกกระ ทบด้วยความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความ เสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกกระทบด้วยเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า อุปายาส [๑๕๔] อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ เป็นไฉน ความไปร่วม ความมาร่วม ความประชุมร่วม ความอยู่ร่วม กับอารมณ์ อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รักใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่มุ่งก่อความพินาศ มุ่งทำ ลายประโยชน์ มุ่งทำลายความผาสุก มุ่งทำอันตรายความเกษมจากโยคะของเขา นี้เรียกว่า อัปปิเยหิสัมปโยคทุกข์ [๑๕๕] ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ เป็นไฉน ความไม่ไปร่วม ความไม่มาร่วม ความไม่ประชุมร่วม ความไม่อยู่ร่วมกับ อารมณ์ อันเป็นที่ปรารถนา เป็นที่รักใคร่ เป็นที่ชอบใจของเขาในโลก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือกับบุคคลผู้ที่ใคร่แต่ความเจริญ ใคร่แต่ ประโยชน์ ใคร่แต่ความสำราญ ใคร่แต่ความเกษมจากโยคะของเขา ได้แก่ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต นี้เรียกว่า ปิเยหิวิปปโยคทุกข์ [๑๕๖] ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ เป็นไฉน ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา หรือความเกิดอย่าได้ มาถึงเราทั้งหลายเลยหนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจ- *ฉังนลภติตัมปิทุกข์ประการหนึ่ง ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ฯลฯ ความ ปรารถนาย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ ความปรารถนา ย่อมเกิดขึ้นแก่เหล่าสัตว์ผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่าง นี้ว่า เออหนอ ขอเราทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้มีโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา หรือโสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสอย่าได้มาถึงเราทั้งหลายเลย หนา ข้อนี้ไม่พึงสำเร็จตามความปรารถนา นี้เรียกว่า ยัมปิจฉังนลภติตัมปิทุกข์ ประการหนึ่ง [๑๕๗] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ เหล่านี้เรียกว่า โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
ทุกขสมุทยอริยสัจ
[๑๕๘] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ใด อันเป็นเหตุเกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดยินดี เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา [๑๕๙] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อเกิดเกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ตั้งอยู่ที่ไหน ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อ ตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้ง อยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้ รูป เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้ง อยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมา- *รมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้ จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ- *วิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูป- *สาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน- *วิญญาณนี้ จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุ- *สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็ เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสต- *สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปใน โลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโน- *สัมผัสสชาเวทนานี้ รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญา นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รส- *สัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญ- *เจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญ- *เจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้ รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้ รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปที่วิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็ เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็ เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
ทุกขนิโรธอริยสัจ
[๑๖๐] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน ความสำรอกและความดับโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ แห่งตัณหานั้นนั่นเทียว อันใด [๑๖๑] ก็ตัณหานี้นั้นแล เมื่อจะละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไร เป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุนี้ เมื่อ ดับก็ดับที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนนี้ เมื่อจะดับก็ดับที่ มโนนี้ รูป เป็นปิยสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ ดับที่รูปนี้ สัททะ ฯลฯ คันธะ ฯลฯ รสะ ฯลฯ โผฏฐัพพะ ฯลฯ ธัมมา- *รมณ์ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมารมณ์ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมารมณ์นี้ จักขุวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่จักขุ วิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ฆานวิญญาณ ฯลฯ ชิวหาวิญญาณ ฯลฯ กายวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ฆานสัมผัส ฯลฯ ชิวหาสัมผัส ฯลฯ กายสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสนี้ จักขุสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ ละที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัส- *สชาเวทนา ฯลฯ ฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ กายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อดับก็ดับที่มโนสัมผัสสชา- *เวทนานี้ รูปสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปสัญญา นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูป สัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ คันธสัญเจตนา ฯลฯ รสสัญเจตนา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญเจตนา ฯลฯ ธัมมสัญเจตนา เป็น ปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อดับก็ดับที่ ธัมมสัญเจตนานี้ รูปตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปตัณหา นี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหา ฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะ ละก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมตัณหานี้ รูปวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ คันธวิตก ฯลฯ รสวิตก ฯลฯ โผฏฐัพพวิตก ฯลฯ ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ คันธวิจาร ฯลฯ รสวิจาร ฯลฯ โผฏฐัพพวิจาร ฯลฯ ธัมมวิจาร เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อจะละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่ธัมมวิจารนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
[๑๖๒] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตา สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ [๑๖๓] ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ ความรู้ในทุกขสมุทัย ความรู้ในทุกขนิโรธ ความรู้ใน ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ [๑๖๔] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่พยาบาท ความดำริใน การไม่เบียดเบียน นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ [๑๖๕] สัมมาวาจา เป็นไฉน ความงดเว้นจากการพูดเท็จ ความงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ความงด เว้นจากการพูดหยาบ ความงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้เรียกว่า สัมมาวาจา [๑๖๖] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน ความงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ความงดเว้นจากการลักทรัพย์ ความงดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ [๑๖๗] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน บุคคลผู้อริยสาวกในศาสนานี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้วเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยสัมมา- *อาชีวะ นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ [๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคอง จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ เพื่อละ อกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิด ทำฉันทะ ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่ ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่ง กุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ [๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบ ด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่ ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ [๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ ปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยัง ใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มี จิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก ว่า สัมมาสมาธิ สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
อภิธรรมภาชนีย์
อัฏฐังคิกวาร
[๑๗๑] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ๓. ทุกขนิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๗๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๗๓] ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศล- *ธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๗๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๗๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ [โสดาปัตติผล] สงัด จากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมี องค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น [๑๗๖] ในมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็น ชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ [๑๗๗] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริชอบ อันเป็นองค์แห่ง มรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ [๑๗๘] สัมมาวาจา เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากวจีทุจริต ๔ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุวจีทุจริต ๔ วาจาชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวาจา [๑๗๙] สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากกายทุจริต ๓ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัดต้นเหตุกายทุจริต ๓ การงานชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมากัมมันตะ [๑๘๐] สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน การงด การเว้น การเลิกละ เจตนาเครื่องเว้น จากมิจฉาอาชีวะ กิริยา ไม่ทำ การไม่ทำ การไม่ล่วงละเมิด การไม่ล้ำเขต การกำจัด ต้นเหตุมิจฉา- *อาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาอาชีวะ [๑๘๑] สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ [๑๘๒] สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ [๑๘๓] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือสัมปยุตด้วย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๘๔] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๘๕] ทุกข์ เป็นไฉน อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียก ว่า ทุกข์ [๑๘๖] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหาและกิเลสที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๘๗] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๘๘] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ และอกุศลธรรมที่เหลือนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๘๙] ทุกข์ เป็นไฉน กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็น กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๐] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหากิเลสที่เหลือและอกุศลธรรมที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๑] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญาอยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมา- *ทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๙๒] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๙๓] ทุกข์ เป็นไฉน กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรมและ อกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็นกิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรม วิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๔] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ และกุศล- *มูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล- *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๑๙๖] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๑๙๗] ทุกข์ เป็นไฉน วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็น กิริยามิใช่กุศลอกุศลและกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๘] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียก ว่า ทุกขนิโรธ [๑๙๙] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิสงัดจากกามสงัดจากอกุศล- *ธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรคามินีปฏิปทา
ปัญจังคิกวาร
[๒๐๐] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ๓. ทุกขนิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑-๒๙๙๒ หน้าที่ ๑-๑๒๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=1&Z=2992&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=1&items=1118              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=35&item=1&items=1118&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=35&item=1&items=1118              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=35&item=1&items=1118              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_35

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :