ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
ปฐวีธาตุ สนิทัสสนาตยาทิกถา
[๑๑๑๗] สกวาที ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. เป็นรูป เป็นรูปายตนะ เป็นรูปธาตุ เป็นสีเขียว เป็นสีเหลือง เป็น สีแดง เป็นสีขาว เป็นวิสัยแห่งจักขุวิญญาณ กระทบที่จักษุ มาสู่ คลองแห่งจักษุ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๑๘] ส. ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๑๑๙] ส. อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. คำว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่ จริง หรือ? ป. ไม่มี ส. คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่ จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หาก คำว่า อาศัยจักษุและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณขึ้น ดังนี้ เป็น สูตรมีอยู่จริง ก็ต้องไม่กล่าวว่า อาศัยจักษุและปฐวีธาตุ จึงเกิดจักขุ- วิญญาณขึ้น [๑๑๒๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ท่านเห็นแผ่นดิน แผ่นหิน ภูเขา ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า ปฐวีธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ ป. ไม่พึงกล่าวว่า อาโปธาตุ เป็นสนิทัสสนะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านเห็นน้ำ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ท่านเห็นน้ำ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า อาโปธาตุเป็น สนิทัสสนะ ฯลฯ ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ท่านเห็นไฟที่โพลงอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า เตโช- ธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ ป. ไม่พึงกล่าวว่า เตโชธาตุเป็นสนิทัสสนะ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า ท่านเห็นต้นไม้ที่ถูกลมโยกอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า วาโยธาตุเป็นสนิทัสสนะ ฯลฯ
ปฐวีธาตุสนิทัสสนาตยาทิกถา จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๐๘๗๙-๑๐๙๒๖ หน้าที่ ๔๕๒-๔๕๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=10879&Z=10926&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1117&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1117&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1117&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=1117&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1117              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :