ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา
[๑๓๕๘] สกวาที บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ไม่มีผัสสะ ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีเจตนา ไม่มีจิต ก็มีวาจา ได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลมีผัสสะ มีเวทนา มีสัญญา มีเจตนา มีจิต จึงมีวาจาได้ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุคคลมีผัสสะ ฯลฯ มีจิต จึงมีวาจาได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคล ผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ [๑๓๕๙] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลผู้ไม่นึกอยู่ ไม่ผูกใจอยู่ ฯลฯ ไม่ตั้งใจอยู่ ก็มีวาจาได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ ฯลฯ ตั้งใจอยู่ จึงมีวาจาได้ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุคคลนึกอยู่ ผูกใจอยู่ จึงมีวาจาได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่ มีความคิดอย่างไร มีวาจาได้ [๑๓๖๐] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า วาจามีจิตเป็นสมุฏฐาน เกิดร่วมกับจิต เกิดขณะเดียวกับจิต ก็ ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ [๑๓๖๑] ส. บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. บุคคลไม่ปรารถนาจะกล่าวก็กล่าวได้ ไม่ปรารถนาจะแสดงก็แสดงได้ ไม่ ปรารถนาจะร้องเรียกก็ร้องเรียกได้ ไม่ปรารถนาจะพูดก็พูดได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ส. บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนาจะแสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนาจะพูดจึงพูดได้ มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. หากว่า บุคคลปรารถนาจะกล่าวจึงกล่าวได้ ปรารถนาจะแสดงจึงแสดงได้ ปรารถนาจะร้องเรียกจึงร้องเรียกได้ ปรารถนาจะพูดจึงพูดได้ ก็ต้องไม่ กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ [๑๓๖๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะแสดง อย่างหนึ่ง ก็แสดงเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะร้องเรียกอย่างหนึ่ง ก็ร้อง เรียกเสียอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มี อยู่ มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. หากว่า บางคนที่คิดว่าจะกล่าวอย่างหนึ่ง ก็กล่าวเสียอีกอย่างหนึ่ง ฯลฯ คิดว่าจะพูดอย่างหนึ่ง ก็พูดเสียอีกอย่างหนึ่ง มีอยู่ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่มีความคิดอย่างไร ก็มีวาจาได้
นยถาจิตตัสสวาจาติกถา จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๓๕๐๓-๑๓๕๔๙ หน้าที่ ๕๖๓-๕๖๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=13503&Z=13549&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1358&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1358&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1358&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=1358&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1358              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :