ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
สมาทานเหตุกกถา
[๑๔๒๔] สกวาที ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา จิต ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ที่การสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๒๕] ส. ศีลที่มีสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เจริญได้ดุจเถาวัลย์ เจริญได้ดุจเถาย่างทราย เจริญได้ดุจต้นไม้ เจริญได้ ดุจหญ้า เจริญได้ดุจแพหญ้าปล้อง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๑๔๒๖] ส. ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เมื่อบุคคลสมาทานศีลแล้ว ตรึกกามวิตกอยู่ ตรึกพยาบาทวิตกอยู่ ตรึก วิหิงสาวิตกอยู่ ศีลก็เจริญได้ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. เป็นการประชุมกันแห่งผัสสะ ๒ อย่าง ฯลฯ แห่งจิต ๒ อย่าง หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ที่มีโทษและไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ธรรมที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต ที่ดำ และขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๔ ประการนี้ ไกลกัน ไกลกันนัก ๔ ประการเป็นไฉน ท้องฟ้าและแผ่นดินนี้ประการแรก ซึ่งไกลกันไกลกันนัก ฯลฯ เพราะเหตุฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึง ไกลจากอสัตบุรุษ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? @๑. ดูในข้อ ๑๑๔๘ หน้า ๒๐๓ ป. ถูกแล้ว ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมที่เป็นกุศล และอกุศลที่มีโทษและ ไม่มีโทษ ที่เลวและประณีต ที่ดำและขาว ซึ่งเป็นข้าศึกกัน มาพบกัน ได้ [๑๔๒๗] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ เจริญได้ หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใด ปลูกสร้างสวน ปลูกสร้างป่า ฯลฯ ชนเหล่านั้น ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีลย่อมจะไปสู่สวรรค์ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. ถ้าอย่างนั้น ศีลที่มีการสมาทานเป็นเหตุ ก็เจริญได้ น่ะสิ
สมาทานเหตุกกถา จบ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๑๔๒๙๕-๑๔๓๓๘ หน้าที่ ๕๙๕-๕๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=14295&Z=14338&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1424&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=1424&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=1424&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=1424&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=1424              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :