ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๔ กถาวัตถุปกรณ์
สติปัฏฐานกถา
[๔๒๖] สกวาที ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ปรวาที ถูกแล้ว ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ- สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้ ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่ เป็นอารมณ์ของสัญโญชน์ ไม่เป็นอารมณ์ของคันถะ ไม่เป็นอารมณ์ของ โอฆะ ไม่เป็นอารมณ์ของโยคะ ไม่เป็นอารมณ์ของนิวรณ์ ไม่เป็น อารมณ์ของปรามาสะ ไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน ไม่เป็นอารมณ์ของ สังกิเลส ธรรมทั้งปวงเป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็น สังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๗] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จักขายตนะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ เป็นสติ- สัมโพชฌงค์ เป็นเอกายนมรรค เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไป เป็นเหตุให้ ถึงความตรัสรู้ เป็นเหตุให้ถึงนิพพาน ไม่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ไม่เป็น อารมณ์ของสัญโญชน์ ฯลฯ ไม่เป็นอารมณ์ของสังกิเลส จักขายตนะ เป็นพุทธานุสสติ เป็นธัมมานุสสติ เป็นสังฆานุสสติ เป็นสีลานุสสติ เป็นจาคานุสสติ เป็นเทวดานุสสติ เป็นอานาปานสติ เป็นมรณานุสสติ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. โสตายตนะ ฯลฯ ฆานายตน ชิวหายตนะ กายายตนะ ฯลฯ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ราคะ ฯลฯ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. อโนตตัปปะ เป็นสติ เป็นสตินทรีย์ เป็นสติพละ เป็นสัมมาสติ ฯลฯ เป็นกายคตาสติ เป็นอุปสมานุสสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๘] ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. จักขายตนะเป็นสติปัฏฐาน และจักขายตนะนั้นเป็นสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. สติเป็นสติปัฏฐาน และสตินั้นเป็นสติ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน และ อโนตตัปปะนั้นเป็นสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๒๙] ส. จักขายตนะ เป็นสติปัฏฐาน แต่จักขายตนะนั้นไม่เป็นสติ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. โสตายตนะ ฯลฯ กายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ราคะ โทสะ โมหะ ฯลฯ อโนตตัปปะ เป็นสติปัฏฐาน แต่อโนตตัปปะนั้น ไม่เป็นสติ หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สติเป็นสติปัฏฐาน แต่สตินั้นไม่เป็นสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๐] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ส. ถูกแล้ว ป. สติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ มิใช่หรือ? ส. หากว่าสติ ปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้อง กล่าวว่า ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน [๔๓๑] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ ปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะผัสสะปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า ผัสสปัฏฐาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๒] ส. เพราะสติปรารภธรรมทั้งปวงตั้งมั้นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า สติ ปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. เพราะเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ เจตนา ฯลฯ จิตปรารภธรรมทั้งปวง ตั้งมั่นได้ ฉะนั้นธรรมทั้งปวงจึงชื่อว่า จิตตปัฏฐาน หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๓] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ตั้งสติมั่น เป็นผู้ประกอบด้วยสติ เป็นผู้มั่นคงด้วยสติ สติเป็นธรรมชาติเข้าไปตั้งมั่นแก่สัตว์ทั้งปวง หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๔] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดไม่ได้ บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นไม่ได้บริโภคอมตะ ชนเหล่าใด บริโภคกายคตาสติ ชนเหล่านั้นได้บริโภคอมตะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. สัตว์ทั้งปวงเจริญ ปฏิบัติ เสพ อบรม ทำให้มาก ซึ่งกายคตาสติ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ @๑. อํ. เอก. ข้อ ๒๓๕ หน้า ๕๙ [๔๓๕] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้มรรคเป็นเอกายนะ ทางอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย เพื่อความก้าวล่วง ซึ่งโสกะ ปริเทวะ เพื่อความสาบสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อ บรรลุอริยมรรคเครื่องออกไปจากทุกข์ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน นี้คือสติปัฏฐานทั้ง ๔ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ธรรมทั้งปวงเป็นเอกายนมรรค หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ [๔๓๖] ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ๗ ประการ เป็นไฉน จักรรัตนะ (จักรแก้ว) ปรากฏ ๑ หัตถิรัตนะ (ช้างแก้ว) ปรากฏ ๑ อัสสรัตนะ (ม้าแก้ว) ปรากฏ ๑ มณีรัตนะ (ดวงมณีแก้ว) ปรากฏ ๑ อิตถีรัตนะ (นางแก้ว) ปรากฏ ๑ คหปติรัตนะ (คหบดีแก้ว) ปรากฏ ๑ ปริณายกรัตนะ (ขุนพลแก้ว) ปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ ปรากฏแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการ ย่อม ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาพุทธะ ๗ ประการเป็นไฉน รัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ ปรากฏ ๑ รัตนะคือ วิริยสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือปีติสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะ @๑. ม. ม. ข้อ ๑๓๒ หน้า ๑๐๓ คือปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ รัตนะคือสมาธิสัมโพชฌงค์ ปรากฏ ๑ รัตนะคืออุเบกขาสัมโพชฌงค์ปรากฏ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รัตนะคือโพชฌงค์ ๗ ประการเหล่านี้ ย่อมปรากฏ เพราะความ ปรากฏแห่งพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้ ๑- เป็นสูตรมี อยู่จริง มิใช่หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ธรรมทั้งปวงเป็นรัตนะคือสติสัมโพชฌงค์ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่ง พระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสติปัฏฐาน หรือ? ป. ถูกแล้ว ส. ธรรมทั้งปวงเป็นสัมมัปปธาน ฯลฯ เป็นอิทธิบาท ฯลฯ เป็นอินทรีย์ ฯลฯ เป็นพละ ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ? ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สติปัฏฐานกถา จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ บรรทัดที่ ๕๐๕๑-๕๑๘๑ หน้าที่ ๒๐๙-๒๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=37&A=5051&Z=5181&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=426&items=11              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=37&item=426&items=11&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=37&item=426&items=11              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=37&item=426&items=11              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=37&i=426              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_37

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :