ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
             [๒๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้ งดปวารณาของภิกษุ
เสีย.  ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์
มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์  มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม
ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะ
กัน อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย  อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  แต่มีความ
ประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์  มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม
ก็ไม่อาจให้คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะ
กัน อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์  แต่มีอาชีวะไม่บริสุทธิ์  เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ก็ไม่อาจให้
คำตอบข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน
อย่าแก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้งดปวารณาของภิกษุเสีย.
ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า  ท่านองค์นี้แล  มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์  มีความประพฤติ
ทางวาจาบริสุทธิ์  มีอาชีวะบริสุทธิ์  แต่เป็นผู้เขลา ไม่ฉลาด เมื่อถูกซักถาม ก็ไม่อาจให้คำตอบ
ข้อที่ซักถาม. สงฆ์พึงกล่าวห้ามว่า อย่าเลย ภิกษุ อย่าทุ่มเถียงกัน อย่าทะเลาะกัน  อย่า
แก่งแย่งกัน  อย่าวิวาทกันเลย ดังนี้ แล้วจึงปวารณา.
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อถึงวันปวารณา ภิกษุในศาสนานี้ งดปวารณาของภิกษุ
เสีย. ถ้าภิกษุเหล่าอื่นรู้จักภิกษุรูปนั้นว่า ท่านองค์นี้แล มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความ
ประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์  มีอาชีวะบริสุทธิ์ เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา เมื่อถูกซักถาม
สามารถให้คำตอบข้อที่ซักถามได้.  ภิกษุนั้นอันสงฆ์พึงว่ากล่าว  อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงด
ปวารณาของภิกษุรูปนี้เพราะอะไร? งดเพราะศีลวิบัติหรือ?  งดเพราะอาจารวิบัติหรือ?
งดเพราะทิฏฐิวิบัติหรือ?  หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้างดเพราะศีลวิบัติ ข้าพเจ้า
งดเพราะอาจารวิบัติ  ข้าพเจ้างดเพราะทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถาม  อย่างนี้ว่า  คุณรู้จัก
ศีลวิบัติ รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติหรือ?  หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า  อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้ารู้จักศีลวิบัติ  รู้จักอาจารวิบัติ รู้จักทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า อาวุโส
ก็ศีลวิบัติเป็นอย่างไร? อาจารวิบัติเป็นอย่างไร?  ทิฏฐิวิบัติเป็นอย่างไร?  หากเธอ
จะพึงตอบ  อย่างนี้ว่า ปาราชิก ๔  สังฆาทิเสส ๑๓ นี้ชื่อว่าศีลวิบัติ  ถุลลัจจัย  ปาจิตติยะ
ปาฏิเทสนียะ  ทุกกฏ ทุพภาสิต  นี้ชื่อว่าอาจารวิบัติ มิจฉาทิฏฐิ  อันตคาหิกทิฏฐิ  นี้ชื่อว่า
ทิฏฐิวิบัติ.  เธออันสงฆ์พึงถาม อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร?
งดด้วยได้เห็นหรือ?  งดด้วยได้ฟังหรือ?  งดด้วยสงสัยหรือ?.  หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้างดด้วยได้เห็นก็ดี  ข้าพเจ้างดด้วยได้ฟังก็ดี ข้าพเจ้างดด้วยสงสัยก็ดี.  เธออันสงฆ์พึงถาม
อย่างนี้ว่า  อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็นอย่างไร?  คุณเห็นอะไร?  คุณเห็นว่า
อย่างไร?  คุณเห็นเมื่อไร?  คุณเห็นที่ไหน?  ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิก  คุณเห็นหรือ?  ภิกษุนี้
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส คุณเห็นหรือ?  ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย .... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติ
ปาฏิเทสนียะ .... อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิต  คุณเห็นหรือ?  คุณอยู่ที่ไหน?  และภิกษุนี้
อยู่ที่ไหน?  คุณทำอะไรบ้าง?  ภิกษุนี้ทำอะไรบ้าง?. หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย
ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้เห็น  แต่งดปวารณาด้วยได้ฟังต่างหาก. เธออันสงฆ์พึง
ถามอย่างนี้ว่า อาวุโส  คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยได้ฟังมาอย่างไร?  คุณได้ฟังเรื่องอะไร?
คุณได้ฟังมาว่าอย่างไร?  คุณได้ฟังมาเมื่อไร?  คุณได้ฟังที่ไหน?  คุณได้ฟังว่า  ภิกษุนี้ต้องอาบัติ-
*ปาราชิกหรือ?  ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ?  ได้ฟังว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
.... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติปาฏิเทสนียะ .... อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิตหรือ? ได้ฟังมาจากภิกษุ
หรือ?  ได้ฟังมาจากภิกษุณีหรือ?  ได้ฟังมาจากสิกขมานาหรือ?  ได้ฟังมาจากสามเณรหรือ?
ได้ฟังมาจากสามเณรีหรือ?  ได้ฟังมาจากอุบาสกหรือ?  ได้ฟังมาจากอุบาสิกาหรือ? ได้ฟังมาจาก
พระราชาหรือ?  ได้ฟังมาจากราชมหาอำมาตย์หรือ? ได้ฟังมาจากพวกเดียรถีย์หรือ?  ได้ฟังมาจาก
พวกสาวกเดียรถีย์หรือ?. หากเธอจะพึงตอบ อย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณา
ของภิกษุนี้ด้วยได้ฟัง  แต่ข้าพเจ้างดปวารณาด้วยสงสัยต่างหาก.  เธออันสงฆ์พึงถามอย่างนี้ว่า
อาวุโส คุณงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยสงสัยอย่างไร?  คุณสงสัยอะไร?  สงสัยว่าอย่างไร?
สงสัยเมื่อไร? สงสัยที่ไหน?  คุณสงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ?  สงสัยว่าภิกษุนี้ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสสหรือ?  สงสัยว่าภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจ .... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติปาฏิเทสนียะ ....
อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิตหรือ?  คุณฟังมาจากภิกษุแล้วสงสัยหรือ? คุณฟังมาจากภิกษุณี
แล้วสงสัยหรือ? คุณฟังมาจากสิกขมานาแล้วสงสัยหรือ? คุณฟังมาจากสามเณรแล้วสงสัยหรือ?
คุณฟังมาจากสามเณรีแล้วสงสัยหรือ?  คุณฟังมาจากอุบาสกแล้วสงสัยหรือ?  คุณฟังมาจากอุบาสิกา
แล้วสงสัยหรือ? คุณฟังมาจากพระราชาแล้วสงสัยหรือ?  คุณฟังมาจากราชมหาอำมาตย์แล้วสงสัย
หรือ? คุณฟังมาจากพวกเดียรถีย์แล้วสงสัยหรือ?  คุณฟังมาจากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วสงสัย
หรือ?  หากเธอจะพึงตอบอย่างนี้ว่า อาวุโสทั้งหลาย ข้าพเจ้ามิได้งดปวารณาของภิกษุนี้ด้วย
สงสัย ความจริงแม้ข้าพเจ้าเองก็ไม่ทราบว่า เรางดปวารณาของภิกษุนี้เสียด้วยเหตุไรเล่า?.
ฟังคำปฏิญาณของโจทก์และจำเลย
ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจของสพรหมจารีผู้รู้ ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของสพรหมจารีผู้รู้ ทั้งหลาย สงฆ์ควรบอกว่า คุณควรฟ้องภิกษุจำเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติสังฆาทิเสสไม่มี มูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุโจทก์นั้นปฏิญาณว่า ตนตามกำจัดด้วยอาบัติถุลลัจจัยไม่มีมูล .... ด้วยอาบัติปาจิตติยะ .... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ .... ด้วยอาบัติทุกกฏ .... ด้วยอาบัติทุพภาสิตไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติปาราชิก สงฆ์พึงนาสนะ เสีย แล้วจึงปวารณา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติสังฆาทิเสส สงฆ์พึง ปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุจำเลยนั้นปฏิญาณว่า ตนต้องอาบัติถุลลัจจัย .... อาบัติปาจิตติยะ .... อาบัติปาฏิเทสนียะ .... อาบัติทุกกฏ .... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม แล้วปวารณา เถิด.
มีความเห็นไม่ตรงกันในอาบัติที่ต้อง


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๗๑๗๒-๗๒๕๑ หน้าที่ ๒๙๔-๒๙๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=7172&Z=7251&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=4&item=247&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=4&item=247&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=4&item=247&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=4&item=247&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=247              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_4

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :