ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒
พระพุทธบัญญัติห้ามภัตตาหารบางชนิด
[๘๑] ก็โดยสมัยนั้นแล พระนครเวสาลีมีภิกษาหารมาก มีข้าวกล้างอกงาม บิณฑบาต ก็ง่าย ภิกษุสงฆ์จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยการถือบาตรแสวงหาก็ทำได้ง่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงปริวิตกนี้ว่า ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราว อัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่ หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายก นำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือหนอ. ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักเร้น แล้วรับสั่งถามท่าน พระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วรับประเคนใหม่ ๑ อาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น ภิกษุทั้งหลายยังฉันอยู่ทุกวันนี้หรือ? ท่านพระอานนท์ทูลว่า ยังฉันอยู่ พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น ผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถาในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิด นั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภัตตาหารที่เราอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคราวอัตคัดอาหาร มีข้าวกล้าน้อย บิณฑบาตได้ฝืดเคือง คืออาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ ๑ อาหารที่หุงต้มเอง ๑ อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ ๑ อาหาร ที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น ๑ อาหารที่รับประเคนฉันในปุเรภัต ๑ อาหารที่เกิดในป่าและเกิด ในสระบัว ๑ ภัตตาหารเหล่านั้น เราห้ามจำเดิมนี้เป็นต้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันอาหารที่เก็บไว้ภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มภายในที่อยู่ อาหารที่หุงต้มเอง อาหารที่จับต้องแล้วประเคนใหม่ รูปใดฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอาหารที่ทายกนำมาจากที่นิมนต์นั้น อาหารที่รับประเคนฉันใน ปุเรภัต อาหารที่เกิดในป่าและเกิดในสระบัว ยังไม่เป็นเดน ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไม่พึงฉัน รูปใดฉัน พึงปรับอาบัติตามธรรม.
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ
[๘๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ประชาชนชาวชนบทบรรทุกเกลือบ้าง น้ำมันบ้าง ข้าวสารบ้าง ของขบฉันบ้าง ไว้ในเกวียนเป็นอันมาก แล้วตั้งวงล้อมเกวียนอยู่นอกซุ้มประตูพระอารามคอยท่า ว่าเมื่อใด เราทั้งหลายได้ลำดับที่จะถวาย เมื่อนั้นเราจักทำภัตตาหารถวาย ฝนตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ จึงคนเหล่านั้นพากันเข้าไปหาท่านพระอานนท์กราบเรียนว่า ท่านพระอานนท์เจ้าข้า เกลือ น้ำมัน ข้าวสาร และของขบฉันเป็นอันมาก พวกข้าพเจ้าบรรทุกไว้ในเกวียนตั้งอยู่หน้าวัดนี้ และฝน ตั้งเค้ามาจะตกใหญ่ ท่านพระอานนท์เจ้าข้า พวกข้าพเจ้าพึงปฏิบัติอย่างไร? จึงท่านพระอานนท์ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเช่นนั้น สงฆ์จง สมมติวิหารที่ตั้งอยู่สุดเขตวัด ให้เป็นสถานที่เก็บของกัปปิยะ แล้วให้เก็บไว้ในสถานที่ที่สงฆ์ จำนงหมาย คือวิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น หรือถ้ำก็ได้.
วิธีสมมติกัปปิยภูมิ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสงฆ์พึงสมมติอย่างนี้ ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาสมมติกัปปิยภูมิ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึง สมมติวิหารมีชื่อนี้ ให้เป็นกัปปิยภูมิ นี้เป็นญัตติ ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ การสมมติ วิหารมีชื่อนี้ให้เป็นกัปปิยภูมิ ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด วิหารมีชื่อนี้ สงฆ์สมมติให้เป็นกัปปิยภูมิแล้ว ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้. สมัยต่อมา ชาวบ้านต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืน ส่งเสียงเซ็งแซ่ เกรียวกราว ณ สถานที่กัปปิยภูมิ ที่สงฆ์สมมติไว้นั้นแล. พระผู้มีพระภาค ทรงตื่นบรรทมในเวลาปัจจุสมัยแห่งราตรี ได้ทรงสดับเสียงเซ็งแซ่ เกรียวกราว และเสียงการ้องก้อง ครั้นแล้วรับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูกรอานนท์ เสียงเซ็งแซ่ เกรียวกราว และเสียงการ้องก้องนั้น อะไรกันหนอ? ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า บัดนี้ชาวบ้านมาต้มข้าวต้ม หุงข้าวสวย ต้มแกง สับเนื้อ ผ่าฟืน ณ สถานที่กัปปิยภูมิซึ่งสมมติไว้นั้นแล เสียงเซ็งแซ่เกรียวกราว และเสียงการ้องก้องนั่นคือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า.
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ ๓ ชนิด
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงใช้สถานที่กัปปิยภูมิ ซึ่งสงฆ์สมมติ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๓ ชนิด คือ อุสสาวนันติกา ๑ โคนิสาทิกา ๑ คหปติกา ๑
พระพุทธานุญาตกัปปิยภูมิ ๔ ชนิด
สมัยต่อมา ท่านพระยโสชะอาพาธ ชาวบ้านนำเภสัชมาถวายท่าน ภิกษุทั้งหลายให้เก็บ เภสัชเหล่านั้นไว้ข้างนอก สัตว์กินเสียบ้าง ขโมยลักไปเสียบ้าง ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคตรัสอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาต ให้ใช้สถานที่กัปปิยภูมิที่สงฆ์สมมติ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสถานที่กัปปิยภูมิ ๔ ชนิด คือ อุสสาวนันติกา ๑ โคนิสา ทิกา คหปติกา ๑ สมมติกา ๑.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ บรรทัดที่ ๒๑๐๑-๒๑๖๘ หน้าที่ ๘๕-๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=5&A=2101&Z=2168&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=81&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=5&item=81&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=5&item=81&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=5&item=81&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=81              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_5

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :