ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
อาวาสิกวัตร
[๔๑๖] สมัยนั้น ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นพระอาคันตุกะแล้ว ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้ง น้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้งกระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ไม่ลุกรับบาตร จีวร ไม่ถาม ด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้พระอาคันตุกะแม้ผู้แก่กว่า ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุเจ้าถิ่น เห็นพระอาคันตุกะแล้ว จึงไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ตั้งตั่งรองเท้า ไม่ตั้ง กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกรับบาตร จีวร ไม่ถามด้วยน้ำฉัน ไม่ถามด้วยน้ำใช้ ไม่ไหว้ พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า ไม่จัดเสนาสนะให้ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาค ... ทรงสอบถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายข่าวว่า ... จริงหรือ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคทรงติเตียน ... ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุ ทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจัก บัญญัติวัตรแก่ภิกษุเจ้าถิ่น ทั้งหลาย โดยประการที่ภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายจะพึงประพฤติเรียบร้อย ฯ [๔๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่าแล้ว พึงปูอาสนะ พึงตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า พึงลุกรับบาตร จีวร พึง ถามด้วยน้ำฉัน พึงถามด้วยน้ำใช้ ถ้าอุตสาหะ พึงเช็ดรองเท้า เมื่อจะเช็ดรองเท้า พึงใช้ผ้าแห้งเช็ดก่อนใช้ผ้าเปียกเช็ดทีหลัง พึงซักผ้าเช็ดรองเท้าบิดแล้วผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงอภิวาท ภิกษุอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวายว่าเสนาสนะ นั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็นเสกขะสมมติ พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอก ที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก ถ้าภิกษุอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่า พึงนั่งบอกว่า ท่านจงวางบาตรที่นั่น จงวางจีวรที่นั่น จงนั่งอาสนะนี้ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกผ้าเช็ดรองเท้า พึงแนะนำภิกษุอาคันตุกะให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะว่า เสนาสนะนั่นถึงแก่ท่าน พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอก โคจรคาม พึงบอกอโคจรคาม พึงบอกสกุลที่เป็นเสกขะสมมติ พึงบอกที่ถ่ายอุจจาระ พึงบอกที่ถ่ายปัสสาวะ พึงบอกน้ำฉัน พึงบอกน้ำใช้ พึงบอกไม้เท้า พึงบอกกติกา สงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า เวลานี้ควรออก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นวัตรของภิกษุเจ้าถิ่นทั้งหลายซึ่งภิกษุเจ้าถิ่น ทั้งหลายพึงประพฤติเรียบร้อย ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๔๓๖๓-๔๓๙๒ หน้าที่ ๑๘๑-๑๘๒. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=4363&Z=4392&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=7&item=416&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=7&item=416&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=7&item=416&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=7&item=416&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=416              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :