ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
ทิฏฐาวิกรรมวรรคที่ ๔
การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม
[๑๑๗๒] อุ. การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในอนาบัติ ๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่ไม่เป็นเทสนาคามินี ๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติที่แสดงแล้ว ๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.
การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม
ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่าง อะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในอาบัติ ๒. ทำความเห็นแย้งในอาบัติเป็นเทสนาคามินี ๓. ทำความเห็นแย้งในอาบัติอันยังมิได้แสดง ๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล
การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรมอีกนัยหนึ่ง
ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม แม้อื่นอีก ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไร บ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุนานาสังวาสก์ ๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาต่างกัน ๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุมิใช่ปกตัตตะ ๔. ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่ไม่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.
การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม
ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรมนี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:- ๑. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุสมานสังวาสก์ ๒. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้อยู่ในสีมาเดียวกัน ๓. ทำความเห็นแย้งในสำนักภิกษุผู้เป็นปกตัตตะ ๔. ไม่ทำความเห็นแย้งพร้อมกัน ๔-๕ รูป ๕. ไม่ทำความเห็นแย้งด้วยนึกในใจ ดูกรอุบาลี การทำความเห็นแย้งที่เป็นธรรม ๕ อย่าง นี้แล.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๐๙๘๕-๑๑๐๒๑ หน้าที่ ๔๒๑-๔๒๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=10985&Z=11021&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=1172&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=8&item=1172&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=8&item=1172&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=8&item=1172&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1172              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ http://84000.org/tipitaka/read/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :