ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
บทภาชนีย์
มาติกา
[๙๓] ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ทรัพย์ที่อยู่บนบก ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ทรัพย์ ที่นำติดตัวไปได้ ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ทรัพย์ที่อยู่ในนา ทรัพย์ที่ อยู่ในพื้นที่ ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ทรัพย์ที่อยู่ในป่า น้ำ ไม้ชำระฟัน ต้นไม้เจ้าป่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ด่านภาษี สัตว์มีชีวิต สัตว์ไม่มีเท้า สัตว์ ๒ เท้า สัตว์ ๔ เท้า สัตว์มีเท้ามาก ภิกษุผู้สั่ง ภิกษุผู้รับของฝาก การชักชวนกันไปลัก การนัดหมาย การทำนิมิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน
[๙๔] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน ได้แก่ ทรัพย์ที่ฝังกลบไว้ในแผ่นดิน ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในแผ่นดิน แล้วหาเพื่อนไปด้วย หาจอบ หาตะกร้า หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ตัดไม้หรือเถาวัลย์ที่ขึ้นอยู่ที่นั้น ต้องอาบัติ ทุกกฏ ขุดคุ้ยหรือโกยดินร่วน ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้องหม้อทรัพย์ ต้องอาบัติ ทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องทรัพย์มีราคา ๕ มาสกหรือ เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ทรัพย์เข้า ไปอยู่ในภาชนะของตน หรือหยิบขาดจากกันขึ้นมาหนึ่งกำมือ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่เขาร้อยด้วยด้าย สังวาล สร้อยคอ เข็มขัด ผ้าสาฎก ผ้าโพก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ จับปลายยกขึ้น ต้องอาบัติถุลลัจจัย ดึงครูดออกไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้พ้นปากหม้อแม้เพียง ปลายผม ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต ดื่มเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย มีราคา ๕ มาสก หรือเกิน กว่า ๕ มาสก ด้วยการดื่มครั้งเดียว ต้องอาบัติปาราชิก ทำลาย ทำให้หก เผา ทิ้ง หรือทำให้บริโภคไม่ได้ ต้องอาบัติทุกกฏ
ทรัพย์ที่อยู่บนบก
[๙๕] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่บนบก ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาวางไว้บนบก ภิกษุมี ไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่บนบก หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติ ทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ
[๙๖] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ ทรัพย์ที่ไปในอากาศ คือนกยูง นกคับแค นกกระทา นกกระจาบ ผ้าสาฎก ผ้าโพก หรือเงินทองที่ขาดหลุดตกลง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในอากาศ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้อง อาบัติทุกกฏ หยุดการไปของทรัพย์ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง
[๙๗] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง ได้แก่ ทรัพย์ที่แขวนไว้ในที่แจ้ง เช่น ทรัพย์ที่คล้องไว้บนเตียงหรือตั่ง ห้อยไว้บนราวจีวร สายระเดียง ที่เดือยฝา ที่เครื่อง แขวนรูปงาช้างหรือที่ต้นไม้ โดยที่สุดแม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลัก ทรัพย์ที่อยู่ในที่แจ้ง หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้อง อาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ
[๙๘] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในน้ำ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในน้ำ หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ ดำลงหรือโผล่ขึ้นในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก เหง้าบัว ปลาหรือเต่า ที่เกิดในน้ำนั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ
[๙๙] ที่ชื่อว่า เรือ ได้แก่ พาหนะสำหรับใช้ข้ามน้ำ ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในเรือ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในเรือ ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในเรือ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักเรือ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องทุกกฏ จับ ต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย แก้เครื่องผูก ต้องอาบัติทุกกฏ แก้เครื่องผูกแล้ว จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เรือ ลอยทวนน้ำ ลอยตามน้ำหรือลอยไปขวางลำน้ำ ให้เคลื่อนไปแม้เพียงปลายผม ต้อง อาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในยาน
[๑๐๐] ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ วอ รถ เกวียน คานหาม ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในยาน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในยาน ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในยาน หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักยาน หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้
[๑๐๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่นำติดตัวไปได้ ได้แก่ ทรัพย์ที่ทูนไป แบกไป กระเดียดไป หิ้วไป ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่อยู่บนศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ลดทรัพย์ลงมาที่ไหล่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่อยู่ระดับไหล่ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ลดทรัพย์ลงมาถึงระดับสะเอว ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องทรัพย์ซึ่งอยู่ที่สะเอว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ใช้มือถือไป ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต วางทรัพย์ในมือลงบนพื้น ต้องอาบัติปาราชิก ถือเอาจาก พื้นไป ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในสวน
[๑๐๒] ที่ชื่อว่า สวน ได้แก่ สวนไม้ดอก สวนไม้ผล ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในสวน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในสวนโดยฐานะ ๔ คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในสวน หาเพื่อนไปด้วย หรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องราก เปลือก ใบ ดอกหรือผลไม้ในสวนนั้น มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำ ให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุกล่าวตู่เอาที่สวน ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่าจะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุเมื่อดำเนินคดีชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ที่อยู่ในวัด
[๑๐๓] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในวัด ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในวัดโดยฐานะ ๔ คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในวัด หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุกล่าวตู่เอาที่วัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดีแพ้ ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ทรัพย์ที่อยู่ในนา
[๑๐๔] ที่ชื่อว่า นา ได้แก่ ที่ซึ่งมีบุพพัณชาติหรืออปรัณชาติ๑- เกิด ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในนา ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในนาโดยฐานะ ๔ คือ ฝัง อยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในนา หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิตจับต้องบุพพัณชาติหรืออปรัณชาติที่เกิดในนานั้น มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุกล่าวตู่เอาที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดีแพ้ ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้ว หรือถมคันนาให้รุกล้ำที่นา ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อความพยายามรุกล้ำที่นาอีกครั้งเดียวจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อความ พยายามครั้งสุดท้ายสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่
[๑๐๕] ที่ชื่อว่า พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่สวน พื้นที่วัด @เชิงอรรถ : @ บุพพัณชาติ ได้แก่ ธัญชาติ ๗ อย่าง คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า หญ้ากับแก้ ข้าวละมาน ลูกเดือย @ข้าวเหนียว และข้าวฟ่าง ส่วนอปรัณชาติ ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วราชมาส งา พืชผักที่กินหลังอาหาร @(วิ.อ. ๑/๑๐๔/๓๖๘, สารตฺถ.ฏีกา ๒/๑๐๔/๑๗๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในพื้นที่ โดยฐานะ ๔ คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุมีไถยจิตคิดจะลักทรัพย์ที่อยู่ในพื้นที่ หาเพื่อนไปด้วยหรือไปแต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุกล่าวตู่เอาพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้อง อาบัติถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่เป็นของเรา ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุปักหลัก ขึงเชือก ล้อมรั้วหรือถมคันนาให้รุกล้ำพื้นที่ ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อความพยายามรุกล้ำพื้นที่อีกครั้งเดียวจะสำเร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อ ความพยายามครั้งสุดท้ายสำเร็จ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน
[๑๐๖] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในหมู่บ้าน ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในหมู่บ้าน โดยฐานะ ๔ คือ ฝังอยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง ภิกษุมีไถยจิตจิตคิดจะลักทรัพย์ที่เก็บไว้ในหมู่บ้าน หาเพื่อนไปด้วยหรือไป แต่ผู้เดียว ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่อยู่ในป่า
[๑๐๗] ที่ชื่อว่า ป่า ได้แก่ ป่าที่มนุษย์ครอบครอง ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่อยู่ในป่า ได้แก่ ทรัพย์ที่เขาเก็บไว้ในป่า โดยฐานะ ๔ คือ ฝัง อยู่ในแผ่นดิน ตั้งอยู่บนพื้นดิน ลอยอยู่ในอากาศ แขวนอยู่ในที่แจ้ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ต้องอาบัติทุกกฏ จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ เถาวัลย์ หญ้าที่เกิดในป่านั้น มีราคา ๕ มาสกหรือ เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
น้ำ
[๑๐๘] ที่ชื่อว่า น้ำ ได้แก่ น้ำที่อยู่ในภาชนะ ขังอยู่ในสระโบกขรณี หรือในบ่อ ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุมีไถยจิต หย่อนภาชนะของตนลงไปถูกต้องน้ำ มีราคา ๕ มาสกหรือ เกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหล เข้าไปในภาชนะของตน ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทำลายคันนา ต้องอาบัติทุกกฏ ทำลายคันนาทำน้ำให้ไหลออกไป มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติปาราชิก ทำให้น้ำไหลออกไปมีราคาเกิน กว่า ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้น้ำไหลออกไป มี ราคา ๑ มาสกหรือหย่อนกว่า ๑ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม้ชำระฟัน
[๑๐๙] ที่ชื่อว่า ไม้ชำระฟัน ได้แก่ ไม้ชำระฟันที่ตัดแล้วหรือยังมิได้ตัด ภิกษุมีไถยจิต จับต้องไม้ชำระฟัน มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ต้นไม้เจ้าป่า
[๑๑๐] ที่ชื่อว่า ต้นไม้เจ้าป่า ได้แก่ ต้นไม้ที่คนทั้งหลายครอบครอง เป็น ต้นไม้ใช้สอยได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๘๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต ตัด ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ ครั้งที่ฟันต้นไม้ เมื่อฟันอีกครั้ง เดียว ต้นไม้จะขาด ต้องอาบัติถุลลัจจัย เมื่อฟันต้นไม้ขาด ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่มีผู้นำไป
[๑๑๑] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่มีผู้นำไป ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นนำไป ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดว่า จะนำทรัพย์พร้อมกับผู้ถือทรัพย์เดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้อง อาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุทำให้ทรัพย์ตกด้วยคิดว่า จะเก็บทรัพย์ที่ตก ต้องอาบัติทุกกฏ มีไถยจิต จับต้องทรัพย์ที่ตก มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
ทรัพย์ที่เขาฝากไว้
[๑๑๒] ที่ชื่อว่า ทรัพย์ที่เขาฝากไว้ ได้แก่ สิ่งของที่ผู้อื่นให้เก็บไว้ ภิกษุรับฝากของ เมื่อเจ้าของทวงว่า “จงคืนทรัพย์ให้แก่ข้าพเจ้า” ปฏิเสธว่า “อาตมาไม่ได้รับไว้” ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เจ้าของเกิดความสงสัย ต้องอาบัติ ถุลลัจจัย หากเจ้าของทอดธุระว่า จะไม่คืนให้เรา ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุเมื่อดำเนินคดี ชนะความเจ้าของ ต้องอาบัติปาราชิก เมื่อดำเนินคดี แพ้ความ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ด่านภาษี
[๑๑๓] ที่ชื่อว่า ด่านภาษี ได้แก่ ที่ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงกำหนดเขต ที่ภูเขาขาดก็ดี ท่าน้ำก็ดี ประตูเข้าหมู่บ้านก็ดี ด้วยรับสั่งว่า “จงเก็บภาษีผู้ผ่าน เข้าไปที่นั้น” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุเข้าไปที่ด่านภาษีนั้น มีไถยจิตจับต้องทรัพย์ที่ควรเสียภาษี มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าที่ ๑ ผ่านด่านภาษีไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านด่านภาษีไป ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุยืนอยู่ภายในด่านภาษี โยนทรัพย์ให้ตกนอกด่านภาษี ต้องอาบัติ ปาราชิก ภิกษุหลีกด่านภาษี๑- ต้องอาบัติทุกกฏ
สัตว์มีชีวิต
[๑๑๔] ที่ชื่อว่า สัตว์มีชีวิต หมายเอามนุษย์ที่มีชีวิต๒- ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ไม่มีเท้า
ที่ชื่อว่า สัตว์ไม่มีเท้า ได้แก่ งู ปลา ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์ไม่มีเท้า มีราคา ๕ มาสกหรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ ๒ เท้า
[๑๑๕] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๒ เท้า ได้แก่ มนุษย์ นก @เชิงอรรถ : @ พระอรรถกถาจารย์แก้ความตามนัยแห่งมหาอรรถกถาว่า ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะเดินหลบด่านภาษี @ไปห่าง ๒ ช่วงก้อนดินตก (วิ.อ. ๑/๑๑๓/๓๙๒) @ มนุษย์ที่มีชีวิต หมายถึง ทาสเรือนเบี้ย ทาสน้ำเงิน ทาสเชลย (วิ.อ. ๑/๑๑๔/๓๙๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป ต้องอาบัติปาราชิก
สัตว์ ๔ เท้า
[๑๑๖] ที่ชื่อว่า สัตว์ ๔ เท้า ได้แก่ ช้าง ม้า อูฐ โค ลา สัตว์เลี้ยง ภิกษุมีไถยจิต จับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าที่ ๑ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๒ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๓ ไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ให้ย่างเท้าที่ ๔ ไป ต้อง อาบัติปาราชิก
สัตว์มีเท้ามาก
[๑๑๗] ที่ชื่อว่า สัตว์มีเท้ามาก ได้แก่ สัตว์จำพวกแมงป่อง ตะขาบ บุ้งขน ภิกษุมีไถยจิต จับต้องสัตว์มีเท้ามาก ที่มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุคิดจะพาเดินไป ให้ย่างเท้าก้าวไป ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทุกๆ ก้าว ให้ ย่างเท้าหลังสุดก้าวไป ต้องอาบัติปาราชิก
ภิกษุผู้สั่ง
[๑๑๘] ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้สั่ง ได้แก่ ภิกษุสั่งกำหนดลักทรัพย์ว่า ท่านจงลัก ทรัพย์อันนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุรับคำสั่งลักทรัพย์นั้นมาได้ ต้องอาบัติปาราชิก ทั้ง ๒ รูป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

ภิกษุผู้รับของฝาก
ที่ชื่อว่า ภิกษุผู้รับของฝาก ได้แก่ ภิกษุผู้รักษาทรัพย์ที่เขานำมาฝากไว้ ภิกษุ มีไถยจิต จับต้องทรัพย์มีราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก
การชักชวนกันไปลัก
ที่ชื่อว่า การชักชวนกันไปลัก ได้แก่ ภิกษุหลายรูปชักชวนกันแล้ว รูปหนึ่ง ลักทรัพย์มาได้ ต้องอาบัติปาราชิกทุกรูป
การนัดหมาย
[๑๑๙] ที่ชื่อว่า การนัดหมาย อธิบายว่า ภิกษุทำการนัดหมายว่า จงลัก ทรัพย์ตามเวลานัดหมายนั้น คือ ในเวลาก่อนฉันอาหาร หรือในเวลาหลังหลังอาหาร ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวัน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา ตามเวลานัดหมายนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มา ก่อนหรือหลังเวลานัดหมายนั้น ภิกษุผู้นัดหมายไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติ ปาราชิก
การทำนิมิต
[๑๒๐] ที่ชื่อว่า การทำนิมิต อธิบายว่า ภิกษุทำนิมิตว่า เราจักขยิบตา ยักคิ้ว หรือผงกศีรษะ ท่านจงลักทรัพย์นั้น ตามที่เราทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุ ผู้ลัก ลักทรัพย์ได้มาตามการทำนิมิตนั้น ต้องอาบัติปาราชิกทั้ง ๒ รูป ภิกษุผู้ลัก ลักทรัพย์มาได้ก่อนหรือหลังการทำนิมิตนั้น ภิกษุผู้ทำนิมิตไม่ต้องอาบัติ ภิกษุผู้ลัก ต้องอาบัติปาราชิก


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๘๒-๙๓. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=6336&Z=6581                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=90              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=90&items=31              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=7842              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=90&items=31              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=7842                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj2/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj2:4.1.0.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :