ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑
องค์แห่งปาราชิกสิกขาบทที่ ๒
[๑๒๒] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้ เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก [๑๒๓] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฎ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย [๑๒๔] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ทรัพย์มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติทุกกฏ [๑๒๕] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติปาราชิก ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน ๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม ๔. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๕. มีไถยจิตปรากฏ ๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติถุลลัจจัย ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติปาราชิก [๑๒๖] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน ๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม ๔. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ บทภาชนีย์

๕. มีไถยจิตปรากฏ ๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย [๑๒๗] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๖ อย่าง คือ ๑. สำคัญว่าไม่ใช่ของของตน ๒. ไม่ใช่ถือเอาด้วยวิสาสะ ๓. ไม่ใช่เป็นของขอยืม ๔. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ๕. มีไถยจิตปรากฏ ๖. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติทุกกฏ [๑๒๘] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่ามาก ราคา ๕ มาสก หรือเกินกว่า ๕ มาสก ๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติทุกกฏ [๑๒๙] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคาเกิน ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๕ มาสก {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๑. ปาราชิกกัณฑ์]

ปาราชิกสิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร

๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติทุกกฏ [๑๓๐] ภิกษุผู้ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ ต้องอาบัติทุกกฏ ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ ๑. ไม่ใช่ทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๒. สำคัญว่าเป็นทรัพย์ที่มีผู้ครอบครอง ๓. ทรัพย์มีค่าน้อย ราคา ๑ มาสก หรือน้อยกว่า ๑ มาสก ๔. มีไถยจิตปรากฏ ๕. ภิกษุจับต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้ไหว ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เคลื่อนที่ ต้องอาบัติทุกกฏ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๙๕-๙๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=19              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=6611&Z=6650                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=122              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=122&items=3              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=1&A=9506              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=122&items=3              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=1&A=9506                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pj2/en/brahmali#pli-tv-bu-vb-pj2:6.1.0



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :