ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๙. ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
ว่าด้วยภิกษุขัดเคืองมีโทสะ สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ
[๓๙๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถาน ที่ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเมตติยะและพระภุมมชกะ กำลังลง จากภูเขาคิชฌกูฏ มองเห็นแพะตัวผู้กับตัวเมียกำลังสืบพันธุ์กัน จึงกล่าวว่า “เอาเถิด พวกเราจะสมมติแพะตัวผู้เป็นพระทัพพมัลลบุตร สมมติแพะตัวเมียเป็นภิกษุณีเมตติยา จักกล่าวว่า “ครั้งก่อนพวกเรากล่าวหาพระทัพพมัลลบุตร ด้วยได้ยินมา แต่บัดนี้ พวกเราได้เห็นพระทัพพมุลลบุตรเสพเมถุนกับภิกษุณีเมตติยา ด้วยตนเอง” ท่าน ทั้งสองได้สมมติพระทัพพมัลลบุตรเป็นแพะตัวผู้ สมมติภิกษุณีเมตติยาเป็นแพะตัว เมีย แล้วแจ้งให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า “ครั้งก่อน ฯลฯ แต่บัดนี้ พวกเราได้เห็นพระ ทัพพมัลลบุตรเสพเมถุนกับภิกษุณีเมตติยา ด้วยตนเอง” ภิกษุทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านอย่ากล่าวอย่างนี้ ท่านพระทัพพมัลลบุตรจะไม่ทำกรรมเช่นนั้น” แล้วนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าเคยทำตามที่ภิกษุ เหล่านี้กล่าวหา” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อม ทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคตรัสถามท่าน พระทัพพมัลลบุตร ฯลฯ แม้ครั้งที่ ๓ ตรัสถามท่านพระทัพพมัลลบุตรว่า “ทัพพะ เธอจำได้ไหมว่าได้ทำตามที่ภิกษุเหล่านี้กล่าวหา” พระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า ข้าพระพุทธเจ้าเป็นอย่างไร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ทัพพะ บัณฑิตย่อมไม่แก้คำกล่าวหาอย่างนี้ ถ้าเธอ ทำก็จงบอกว่าทำ ถ้าเธอไม่ได้ทำ ก็จงบอกว่าไม่ได้ทำ” ท่านพระทัพพมัลลบุตรกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ตั้งแต่เกิดมา ข้า พระพุทธเจ้า ไม่รู้จักการเสพเมถุนแม้ในความฝัน ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อตอนตื่นอยู่” ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้า อย่างนั้น เธอทั้งหลายจงสอบถามภิกษุเหล่านี้” แล้วเสด็จจากที่ประทับเข้าพระวิหาร หลังจากนั้น ภิกษุทั้งหลายสอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะ เมื่อถูก สอบถามจึงได้รับสารภาพเรื่องนั้น ภิกษุทั้งหลายถามว่า “พวกท่านอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศ๑- ใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกหรือ” ท่านทั้งสองยอมรับ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระเมตติยะและพระกุมมชกะจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่อง อื่นเป็นเลศใส่ความพระทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้น ตำหนิท่านทั้งสองโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเมตติยะและพระภุมมชกะว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกเธออ้างเอา บางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพมัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกจริงหรือ” พวกเธอทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ ทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงอ้างเอาบางส่วนแห่งอธิกรณ์เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความทัพพ มัลลบุตรด้วยอาบัติปาราชิกเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้ @เชิงอรรถ : @ “เลศ” คือ ข้ออ้าง, เรื่องเล็กๆ น้อยๆ, เลศนัย กิริยาอาการที่จะยกขึ้นเป็นข้ออ้างใส่ความได้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๓๙๒] ก็ ภิกษุใด ขัดเคือง มีโทสะ ไม่แช่มชื่น อ้างเอาบางส่วนแห่ง อธิกรณ์๑- เรื่องอื่นเป็นเลศใส่ความภิกษุด้วยอาบัติปาราชิก โดยมุ่งหมายว่า “ทำ อย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้” ครั้นสมัยต่อจากนั้น อันผู้ใด ผู้หนึ่งโจทก็ตามไม่โจทก็ตาม อธิกรณ์นั้นเป็นอธิกรณ์เรื่องอื่น อ้างเอาบางส่วน เป็นเลศ และภิกษุยอมรับผิด เป็นสังฆาทิเสส
เรื่องพระเมตติยะและพระภุมมชกะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๙๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระ ภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ภิกษุ หมายถึง ภิกษุอื่น คำว่า ขัดเคือง มีโทสะ คือ โกรธ ไม่พอใจ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ คำว่า ไม่แช่มชื่น คือ ไม่แช่มชื่นเพราะความโกรธนั้น เพราะมีโทสะนั้น เพราะไม่พอใจนั้น และเพราะไม่ชอบใจนั้น คำว่า แห่งอธิกรณ์เรื่องอื่น คือ เป็นอาบัติส่วนอื่น หรือเป็นอธิกรณ์ส่วนอื่น
อธิกรณ์ที่ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์อย่างไร ๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์และ กิจจาธิกรณ์ @เชิงอรรถ : @ เรื่องที่สงฆ์จะต้องจัดต้องทำให้เรียบร้อย, คดีความ ปัญหา หรือกิจธุระของสงฆ์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ และ วิวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากกิจจาธิกรณ์ วิวาทาธิกรณ์ และ อนุวาทาธิกรณ์ ๔. กิจจาธิกรณ์ เป็นเรื่องอื่นจากวิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ และ อาปัตตาธิกรณ์ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอธิกรณ์ อย่างนี้
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์
อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์อย่างไร ๑. วิวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับวิวาทาธิกรณ์ ๒. อนุวาทาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอนุวาทาธิกรณ์ ๓. อาปัตตาธิกรณ์ เป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ก็มี เป็นเรื่องอื่นจาก อาปัตตาธิกรณ์ก็มี
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร ๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอทินนาทานปาราชิกาบัติ มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ และอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ ๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ และเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ ๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ และอทินนาทานปาราชิกาบัติ ๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องอื่นจากเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ อทินนาทานปาราชิกาบัติ และมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องอื่นจากอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์
อาปัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์อย่างไร ๑. เมถุนธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ ๒. อทินนาทานปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอทินนาทานปาราชิกาบัติ ๓. มนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกันกับมนุสสวิคคหปาราชิกาบัติ ๔. อุตตริมนุสสธรรมปาราชิกาบัติ เป็นเรื่องเดียวกับอุตตริมนุสสธรรม ปาราชิกาบัติ อาบัตตาธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอาปัตตาธิกรณ์ อย่างนี้ กิจจาธิกรณ์เป็นเรื่องเดียวกับกิจจาธิกรณ์ อธิกรณ์ชื่อว่าเป็นเรื่องเดียวกับอธิกรณ์ อย่างนี้
เลศ ๑๐ อย่าง
[๓๙๔] ชื่อว่า เลศ ในคำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ อธิบายว่า เลศมี ๑๐ อย่างได้แก่ เลศคือชาติกำเนิด ๑ เลศคือชื่อ ๑ เลศคือตระกูล ๑ เลศคือ รูปลักษณ์ ๑ เลศคืออาบัติ ๑ เลศคือบาตร ๑ เลศคือจีวร ๑ เลศคือพระอุปัชฌาย์ ๑ เลศคือพระอาจารย์ ๑ เลศคือเสนาสนะ ๑
อธิบายเลศ ๑๐ อย่าง
[๓๙๕] ชื่อว่า เลศคือชาติกำเนิด อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น วรรณะกษัตริย์ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็นวรรณะกษัตริย์จึง โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะพราหมณ์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะ แพศย์ ฯลฯ เห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ผู้เป็นวรรณะศูทรจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นวรรณะศูทรต้องอาบัติปาราชิก ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด [๓๙๖] ชื่อว่า เลศคือชื่อ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นพระพุทธรักขิต ฯลฯ ได้เห็นพระธัมมรักขิต ฯลฯ ได้เห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุ อีกรูปหนึ่งผู้ชื่อว่าสังฆรักขิตจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นพระสังฆรักขิตต้องอาบัติปาราชิก แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๓๙๗] ชื่อว่า เลศคือตระกูล อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุในตระกูล โคตมะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลโมคคัลลานะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลกัจจายนะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใน ตระกูลวาสิฏฐะจึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุในตระกูลวาสิฏฐะต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๓๙๘] ชื่อว่า เลศคือรูปลักษณ์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุสูง ฯลฯ ได้เห็นภิกษุต่ำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวดำ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุผิวขาวต้องปาราชิก ครั้น เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้มีผิวขาวจึงโจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผิวขาวต้องอาบัติปาราชิก แล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๓๙๙] ชื่อว่า เลศคืออาบัติ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุต้องอาบัติเบา ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า ข้าพเจ้าเห็นท่านต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่าน ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๔๐๐] ชื่อว่า เลศคือบาตร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุใช้บาตรโลหะ ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรดินเหนียว ฯลฯ ได้เห็นภิกษุใช้บาตรเคลือบ ฯลฯ ได้เห็น ภิกษุใช้บาตรดินธรรมดา ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้บาตรดินธรรมดา จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุใช้บาตรดินธรรมดาต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

[๔๐๑] ชื่อว่า เลศคือจีวร อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ ได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้า บังสุกุล ฯลฯ เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าคหบดี ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นได้เห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ผู้ใช้ผ้าคหบดีจึงโจทว่า ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุผู้ใช้ผ้าของคหบดีต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๔๐๒] ชื่อว่า เลศคือพระอุปัชฌาย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้ เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่ง ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริก ของพระอุปัชฌาย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย ศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๔๐๓] ชื่อว่า เลศคืออาจารย์ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้เป็น อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งผู้เป็น อันเตวาสิกของพระอาจารย์ชื่อนี้ จึงโจทว่า ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้เป็นอันเตวาสิกของ พระอาจารย์ชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ฯลฯ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด [๔๐๔] ชื่อว่า เลศคือเสนาสนะ อธิบายว่า ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุอยู่ใน เสนาสนะชื่อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก ครั้นเห็นภิกษุอีกรูปหนึ่งอยู่ในเสนาสนะชื่อนี้จึง โจทว่า “ข้าพเจ้าเห็นภิกษุผู้อยู่ในเสนาสนะชื่อนี้ต้องอาบัติปาราชิกแล้ว ท่านไม่เป็น สมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรมไม่ได้” ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
สิกขาบทวิภังค์
[๔๐๕] คำว่า ด้วยอาบัติปาราชิก คือ ด้วยอาบัติปาราชิก ๔ ข้อใดข้อหนึ่ง คำว่า ใส่ความ ได้แก่ โจทเอง หรือสั่งให้ผู้อื่นโจท คำว่า ทำอย่างไรจึงจะให้ภิกษุนั้นพ้นจากพรหมจรรย์นี้ได้ ความว่า ให้พ้น จากความเป็นภิกษุ ให้พ้นจากสมณธรรม ให้พ้นจากศีลขันธ์ ให้พ้นจากคุณคือตบะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ครั้นสมัยต่อจากนั้น ความว่า ล่วงขณะ ลยะ ครู่ที่ภิกษุถูกใส่ความไปแล้ว คำว่า อันผู้ใดผู้หนึ่งโจทก็ตาม คือ จะมีผู้เชื่อถือตามเรื่องที่ทำให้ภิกษุนั้นถูก ใส่ความก็ตาม คำว่า ไม่โจทก็ตาม คือ ไม่มีใครๆ กล่าวถึงภิกษุนั้น ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่างคือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์ คำว่า อ้างเอาบางส่วน...เป็นเลศ คือ ถือเอาเลศ ๑๐ อย่างนั้น อย่างใด อย่างหนึ่ง คำว่า และภิกษุยอมรับผิด ความว่า ภิกษุนั้นยอมรับว่า “ข้าพเจ้าพูดคำไร้ ประโยชน์ พูดเท็จ พูดไม่จริง ไม่รู้จึงพูด” คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ฯลฯ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
เอเกกมูลจักร
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๔๐๖] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่าน ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆกรรม ไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นข้ออื่น และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่ เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเธอโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่ เป็นสมณะ” ฯลฯ แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็น อาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าเธอ โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสงฆาทิเสส ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิก ว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธอ อ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทภิกษุผู้ต้องปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ...ทุพภาสิต
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้ โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าโจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท บทภาชนีย์

“ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือสังฆ กรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด พึงรวมอาบัติแต่ละอย่างๆ ให้เป็นมูลแล้วผูกเป็นจักร
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
[๔๐๗] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้าง เอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสส แต่มีความเห็นอาบัติ สังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มี ความเห็นอาบัติสังฆาทิเสสว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติสังฆาทิเสส ว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ มี ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัย ว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติทุพภาสิต ฯลฯ มี ความเห็นอาบัติถุลลัจจัยว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติ ปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ฯลฯ” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ย่อมเป็นอาบัติข้ออื่น และเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์...ปาฏิเทสนียะ...ทุกกฏ ...ทุพภาสิต {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๓๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๙. ทุติยทุฎฐโทสสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุ ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ ฯลฯ ภิกษุผู้ โจทก์ได้เห็นภิกษุต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ ทุพภาสิต ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติสังฆาทิเสส ฯลฯ มีความเห็นอาบัติ ทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติถุลลัจจัย ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ฯลฯ มีความเห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติปาฏิเทสนียะ ฯลฯ มีความ เห็นอาบัติทุพภาสิตว่าเป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทภิกษุนั้นด้วยอาบัติปาราชิกว่า “ท่านไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายศากยบุตร ท่านร่วมอุโบสถ ปวารณาหรือ สังฆกรรมไม่ได้” แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นอาบัติข้ออื่นและเธออ้างเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๐๘] ๑. ภิกษุผู้สำคัญว่าเป็นอย่างนั้น โจทเองหรือสั่งให้ผู้อื่นโจท ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๔๔๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๔๓๐-๔๔๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=1&siri=52              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=17841&Z=18422                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=564              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=564&items=26              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=2248              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=564&items=26              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=2248                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss9/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :