ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. จีวรวรรค
๑๐. ราชสิกขาบท
ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้นให้ทูตนำมาถวาย
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๕๓๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น มหาอมาตย์อุปัฏฐากของท่านพระ อุปนันทศากยบุตรส่งทูตไปถวายทรัพย์เป็นค่าจีวร และสั่งว่า “เธอจงเอาทรัพย์ เป็น ค่าจีวรนี้ซื้อจีวรแล้วนิมนต์พระคุณเจ้าอุปนันทะให้ครอง” ต่อมา ทูตนั้นได้เข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้ กล่าวกับท่านว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรมาเจาะจงท่าน นิมนต์ ท่านรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด ขอรับ” เมื่อทูตกล่าวอย่างนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตรได้กล่าวว่า “อาตมารับ ทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น ทูตถามว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม” ขณะนั้น อุบาสกคนหนึ่งมีธุระไปที่วัด ท่านพระอุปนันทศากยบุตรจึงกล่าวกับ ทูตว่า “อุบาสกนี้เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ทูตนั้นจึงตกลงกับอุบาสกแล้วเข้าไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรถึงที่อยู่กล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมตกลงกับอุบาสกที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไป หาในเวลาอันสมควร เขาจักนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ต่อมา มหาอมาตย์ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้กราบเรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท นิทานวัตถุ

แม้ครั้งที่ ๒ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตให้ไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้จีวรนั้น” แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอุปนันทศากยบุตรก็ยังไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น แม้ครั้งที่ ๓ มหาอมาตย์ก็ส่งทูตไปหาท่านพระอุปนันทศากยบุตร ให้กราบ เรียนว่า “ขอให้พระคุณเจ้าจงใช้สอยจีวรเถิด กระผมต้องการจะให้พระคุณเจ้าใช้สอย จีวรนั้น” สมัยนั้นเป็นคราวประชุมของชาวนิคม ก็ชาวนิคมได้ตั้งกติกาไว้ว่า ผู้มาประชุม ล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ ต่อมา ท่านพระอุปนันทศากยบุตรไปหาอุบาสกถึงที่อยู่ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวว่า “อาตมาต้องการจีวร” อุบาสกกล่าวว่า “โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ วันนี้เป็นคราวประชุมของชาว นิคม และชาวนิคมได้ตั้งกติกาว่า ผู้มาประชุมล่าช้าต้องถูกปรับ ๕๐ กหาปณะ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “จงถวายจีวรอาตมาวันนี้แหละ” แล้วยึด ชายพกไว้ อุบาสกถูกท่านพระอุปนันทศากยบุตรรบเร้าจึงได้ซื้อจีวรถวายท่านพระอุปนันท ศากยบุตรแล้วไปประชุมล่าช้า ชาวบ้านถามว่า “เหตุไรท่านมาล่าช้า ท่านต้องเสียค่าปรับ ๕๐ กหาปณะ” ทีนั้น อุบาสกจึงเล่าเรื่องนั้นให้ชาวบ้านเหล่านั้นทราบ พวกชาวบ้านพากัน ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเหล่านี้มักมาก ไม่สันโดษ ยากที่ใครๆ จะให้ความช่วยเหลือสมณะเหล่านั้นได้ ไฉนท่านพระอุปนันท ศากยบุตร เมื่ออุบาสกกล่าวว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอ” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านอุปนันทศากยบุตรผู้ ซึ่งอุบาสกขอร้องอยู่ว่า ‘ท่านผู้เจริญ โปรดรอสักวันหนึ่ง’ ก็ไม่ยอมรอ” ครั้นภิกษุ เหล่านั้นตำหนิท่านพระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท พระบัญญัติ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า อุบาสกกล่าวกับเธอ ว่า ‘โปรดรอสักวันหนึ่งเถิดขอรับ’ เธอก็ไม่ยอมรอ จริงหรือ” ท่านพระอุปนันท ศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอผู้ซึ่งอุบาสกกล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ท่านจงรอสักวันหนึ่งเถิด ขอรับ’ ก็ไม่ยอมรอเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้ เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๓๘] ก็ พระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์หรือคหบดีผู้ใดผู้หนึ่งส่งทูตมา ถวายทรัพย์เป็นค่าจีวรเจาะจงภิกษุพร้อมกับสั่งว่า “ท่านจงเอาทรัพย์เป็นค่าจีวร นี้ซื้อจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุชื่อนี้ให้ครองจีวร” ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุนั้นกล่าว อย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้มาเจาะจงพระคุณเจ้า พระคุณเจ้าจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรเถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูตนั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควรตามกาล” ถ้าทูต นั้นพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ก็มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่านบ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นี้เป็น ไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วเข้าไปหาภิกษุนั้น กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าตกลงกับคนที่ท่านแนะนำว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่าน จงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมา ต้องการจีวร” เมื่อทวงหรือเตือน ๒-๓ ครั้ง ให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่งๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้ง เป็นอย่างมาก เมื่อยืนแสดงตนนิ่งๆ ถึง ๔ ครั้ง ๕ ครั้ง หรือ ๖ ครั้งเป็นอย่าง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

มากแล้วให้เขาจัดจีวรสำเร็จได้ นั่นเป็นการดี ถ้าพยายามเกินกว่านั้น ให้เขาจัด จีวรสำเร็จได้ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไป ในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์เป็นค่าจีวรที่ท่านส่งไป เจาะจงภิกษุรูปใดไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุรูปนั้นเลย ท่านจงทวง ทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าเสียหายเลย” นี้เป็นการทำที่สมควร ในเรื่องนั้น
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๓๙] คำว่า ก็...เจาะจงภิกษุ ได้แก่ เพื่อประโยชน์ของภิกษุ คือ มุ่ง เฉพาะภิกษุ ปรารถนาจะให้ภิกษุครองจีวร ที่ชื่อว่า พระราชา ได้แก่ ผู้ครองราชสมบัติ ที่ชื่อว่า ราชอมาตย์ ได้แก่ ข้าราชการที่พระราชาทรงชุบเลี้ยง ที่ชื่อว่า พราหมณ์ ได้แก่ พราหมณ์โดยกำเนิด ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ คนที่เหลือ ยกเว้นพระราชา ราชอมาตย์ พราหมณ์ ชื่อว่าคหบดี ที่ชื่อว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวร ได้แก่ เงิน ทอง แก้วมณี แก้วมุกดา (แก้วตาแมว หรือแก้วผลึก) คำว่า ทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้ คือ ทรัพย์ที่เขาจัดหาไว้เฉพาะ คำว่า ซื้อ คือ แลกเปลี่ยน คำว่า นิมนต์ให้ครอง คือ จงถวาย ถ้าทูตนั้นเข้าไปหาภิกษุรูปนั้นพึงกล่าวว่า “ท่านผู้เจริญ กระผมนำทรัพย์เป็น ค่าจีวรนี้มาเจาะจงท่าน ท่านจงรับทรัพย์เป็นค่าจีวรนี้เถิด” ภิกษุนั้นพึงกล่าวกับทูต นั้นอย่างนี้ว่า “พวกอาตมารับทรัพย์เป็นค่าจีวรไม่ได้ รับเฉพาะจีวรที่สมควร ตามกาล” ถ้าทูตกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “มีใครผู้เป็นไวยาวัจกรของท่าน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

บ้างไหม” ภิกษุผู้ต้องการจีวรพึงแสดงคนวัดหรืออุบาสกให้เป็นไวยาวัจกรว่า “ผู้นั้น เป็นไวยาวัจกรของภิกษุทั้งหลาย” ไม่พึงกล่าวว่า “จงให้แก่ผู้นั้น” หรือว่า “ผู้นั้นจะ เก็บไว้” หรือ “ผู้นั้นจะแลก” หรือ “ผู้นั้นจักซื้อ” ถ้าทูตตกลงกับไวยาวัจกรแล้วพึงเข้าไปหาภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “กระผมตกลง กับคนที่ท่านแนะว่าเป็นไวยาวัจกรแล้ว ท่านจงไปหาในเวลาอันสมควร เขาจะนิมนต์ ท่านให้ครองจีวร” ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุต้องการจีวรพึงเข้าไปหาไวยาวัจกรแล้วทวง หรือเตือน ๒-๓ ครั้งว่า “อาตมาต้องการจีวร” ไม่พึงกล่าวกับเขาว่า “ท่านจงให้ จีวรแก่อาตมา นำจีวรมาให้อาตมา แลกจีวรให้อาตมา หรือจงซื้อจีวรให้อาตมา” แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงกล่าวกับเขา แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงกล่าวกับเขา ถ้าให้เขาจัดการ สำเร็จได้ นั้นเป็นการดี ถ้าไม่สำเร็จ พึงไปยืนแสดงตนนิ่งๆ ในที่นั้น ไม่พึงนั่งบน อาสนะ ไม่พึงรับอามิส ไม่พึงกล่าวธรรม เมื่อเขาถามว่า “มาธุระอะไร” พึงกล่าว กับเขาว่า “ท่านจงรู้เองเถิด” ถ้านั่งบนอาสนะ หรือรับอามิส หรือกล่าวธรรม ชื่อว่า ตัดโอกาส๑- แม้ครั้งที่ ๒ ก็พึงยืน แม้ครั้งที่ ๓ ก็พึงยืน ทวง ๔ ครั้งพึงยืนได้ ๔ ครั้ง ทวง ๕ ครั้งพึงยืนได้ ๒ ครั้ง ทวง ๖ ครั้งแล้วไม่พึงไปยืน๒- ถ้าเธอพยายามยิ่งกว่านั้น ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม จีวรเป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผมให้ เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละ จีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ @เชิงอรรถ : @ ตัดโอกาส คือ ตัดเหตุแห่งการมา (อาคตการณํ ภญฺชติ วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑) @ ทวง ๑ ครั้งมีค่าเท่ากับยืน ๒ ครั้ง (วิ.อ. ๒/๕๓๘-๕๓๙/๑๘๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน นี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้เขาจัดสำเร็จด้วยอาการ ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน” ถ้าทำไม่สำเร็จ พึงไปเองหรือส่งทูตไปในสำนักที่เขาส่งทรัพย์เป็นค่าจีวรมา กล่าวว่า “ทรัพย์ที่ท่านส่งไปเจาะจงภิกษุรูปใด ไม่ได้อำนวยประโยชน์อะไรแก่ภิกษุ รูปนั้นเลย ท่านจงทวงทรัพย์ของท่านคืนมา ทรัพย์ของท่านอย่าฉิบหายเลย” คำว่า นี้เป็นการทำที่สมควรในเรื่องนั้น คือ นี้เป็นความถูกต้องในเรื่องนั้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๔๐] ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ทวงเกิน ๓ ครั้ง ยืนเกิน ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ให้เขาจัดจีวรสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๔๑] ๑. ภิกษุทวง ๓ ครั้ง ยืน ๖ ครั้ง ๒. ภิกษุทวงหย่อนกว่า ๓ ครั้ง ยืนหย่อนกว่า ๖ ครั้ง ๓. ภิกษุไม่ได้ทวง ไวยาวัจกรจัดถวายเอง ๔. ภิกษุรับจีวรที่เจ้าของทวงมาถวาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. จีวรวรรค ๑๐. ราชสิกขาบท รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค

๕. ภิกษุวิกลจริต ๖. ภิกษุต้นบัญญัติ
ราชสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
จีวรวรรคที่ ๑ จบ
รวมสิกขาบทที่มีในจีวรวรรค
จีวรวรรคมี ๑๐ สิกขาบท คือ ๑. ปฐมกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๑ ๒. อุทโทสิตสิกขาบท ว่าด้วยภิกษุเก็บจีวรไว้ในโรงเก็บของ (ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๒) ๓. ตติยกฐินสิกขาบท ว่าด้วยกฐินเดาะข้อที่ ๓ ๔. ปุราณจีวรสิกขาบท ว่าด้วยการให้ซักจีวรเก่า ๕. จีวรปฏิคคหณสิกขาบท ว่าด้วยการรับจีวร ๖. อัญญาตกวิญญัตติสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ๗. ตตุตตริสิกขาบท ว่าด้วยการออกปากขอจีวรเกิน ๘. อุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวร ๙. ทุติยอุปักขฏสิกขาบท ว่าด้วยคนตระเตรียมทรัพย์เป็นค่าจีวรข้อที่ ๒ ๑๐. ราชสิกขาบท ว่าด้วยทรัพย์เป็นค่าจีวรที่พระราชาเป็นต้น ให้ทูตนำมาถวาย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๓-๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=10              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1482&Z=1668                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=70              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=70&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4247              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=70&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4247                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np10/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :