ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. โกสิยวรรค
๔. ฉัพพัสสสิกขาบท
ว่าด้วยการเก็บสันถัตไว้ ๖ ปี
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๕๕๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายใช้ให้ทำสันถัตทุกๆ ปี ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มากไปด้วยการขอว่า “ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก อาตมาต้องการขนเจียม” พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสาย ศากยบุตรจึงใช้ให้ทำสันถัตทุกๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการ ออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า สันถัตของพวกเราที่ทำครั้งเดียว ถูกเด็กถ่ายอุจจาระรดบ้าง ปัสสาวะรด บ้าง หนูกัดเสียบ้าง ก็ยังใช้สอยได้ถึง ๕ ปีบ้าง ๖ ปีบ้าง แต่ภิกษุเหล่านี้ใช้ให้ทำ สันถัตทุกๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าว ว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม” ภิกษุทั้งหลายได้ยินพวกชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้ มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงใช้ให้ ทำสันถัตทุกๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วย กล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า” ครั้น ภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูล พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุเหล่านั้นว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอใช้ให้ทำสันถัตทุกๆ ปี {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท พระบัญญัติ

เป็นผู้มากไปด้วยการขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่าน ทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวกอาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้ จริงหรือ” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพระพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงใช้ให้ทำสันถัตทุกๆ ปี เป็นผู้มากไปด้วยการ ขอ เป็นผู้มากไปด้วยการออกปากขอด้วยกล่าวว่า ‘ท่านทั้งหลายจงให้ขนเจียม พวก อาตมาต้องการขนเจียม’ ดังนี้เล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยัง ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๕๘] ก็ ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องภิกษุเป็นไข้
[๕๕๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้อยู่กรุงโกสัมพี พวกญาติส่งทูตไปสำนัก ของภิกษุนั้น ให้แจ้งข่าวว่า “นิมนต์พระคุณท่านมาเถิด พวกเราจักอุปัฏฐาก” ภิกษุ ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า “ไปเถิด ท่าน พวกญาติจะอุปัฏฐากท่านเอง” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติสิกขาบท ไว้ว่า ‘ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี’ กระผมก็เป็นไข้อยู่ ไม่ สามารถนำสันถัตไปได้ ถ้าขาดสันถัตเสียแล้วกระผมจะไม่ผาสุก กระผมจะไม่ไป” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท พระอนุบัญญัติ

ทรงอนุญาตให้สมมติสันถัต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่ง กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมติสันถัตเพื่อภิกษุผู้เป็นไข้ ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้สมมติสันถัตอย่างนี้”
วิธีสมมติสันถัต
ภิกษุผู้เป็นไข้รูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้เจริญ กระผม เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไปได้ กระผมขอสมมติสันถัตกะสงฆ์’ พึงขอสมมติ สันถัตแม้ครั้งที่ ๒ พึงขอสมมติสันถัตแม้ครั้งที่ ๓ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า [๕๖๐] ‘ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำ สันถัตติดตัวไปได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้ สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุชื่อนี้เป็นไข้ไม่สามารถนำสันถัตติดตัวไป ได้ ภิกษุนั้นขอสมมติสันถัตจากสงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมแล้วก็พึงให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุ ชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้สมมติสันถัตแก่ภิกษุชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่าน รูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง การสมมติสันถัตสงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุชื่อนี้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าจะขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้” แล้วรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
[๕๖๑] อนึ่ง ภิกษุใช้ให้ทำสันถัตใหม่แล้วพึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี เธอจะสละหรือไม่สละสันถัตนั้นก็ตาม ใช้ให้ทำสันถัตอื่นใหม่ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ
เรื่องภิกษุเป็นไข้ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

สิกขาบทวิภังค์
[๕๖๒] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระองค์ตรัสมุ่งเอาการกระทำ ที่ชื่อว่า สันถัต ได้แก่ ผ้ารองนั่งที่หล่อ ไม่ใช่ทอ คำว่า ใช้ให้ทำแล้ว คือ ทำเองหรือใช้ให้ทำแล้ว คำว่า พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปี คือ พึงใช้สอยให้ได้ ๖ ปีเป็นอย่างน้อย คำว่า ถ้าต่ำกว่า ๖ ปี คือ หย่อนกว่า ๖ ปี คำว่า สละสันถัตนั้น คือ ให้แก่ผู้อื่น คำว่า ไม่สละ คือ ยังไม่ให้แก่ผู้อื่น คำว่า เว้นไว้แต่ภิกษุผู้ได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำสันถัตใหม่ ต้องอาบัติทุกกฏเพราะพยายาม สันถัต เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละสันถัตที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัตผืนนี้ของ กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละ สันถัตผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ สันถัต ผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อนกว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผม สละสันถัตผืนนี้แก่ท่านทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า สันถัตผืนนี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่าน ทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้สันถัตผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ สันถัตผืนนี้กระผมใช้ให้ทำ หย่อน กว่า ๖ ปี เป็นนิสสัคคีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ กระผมสละสันถัตผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนสันถัตที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนสันถัตผืนนี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๖๓] ภิกษุทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จด้วยตนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ตนทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ ภิกษุใช้ผู้อื่นให้ทำสันถัตที่ผู้อื่นทำค้างไว้จนสำเร็จ ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๔. ฉัพพัสสสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๖๔] ๑. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้ครบ ๖ ปี ๒. ภิกษุทำใหม่ เมื่อใช้เกิน ๖ ปี ๓. ภิกษุทำเองหรือใช้ให้ทำเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น ๔. ภิกษุได้สันถัตที่ผู้อื่นทำไว้มาใช้สอย ๕. ภิกษุทำเป็นเพดาน เครื่องลาดพื้น ม่าน เปลือกฟูก หรือปลอกหมอน ๖. ภิกษุผู้ได้สมมติ ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
ฉัพพัสสสิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๘๘}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๘๓-๘๘. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=14              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=1977&Z=2113                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=86              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=86&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4590              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=86&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4590                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np14/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :