ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑

๗. ปาทุกาวรรค
หมวดว่าด้วยเขียงเท้า
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม แก่คนผู้สวมเขียงเท้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมเขียงเท้า๑-
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้สวมเขียงเท้า ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ผู้เหยียบเขียงเท้า สวมเขียงเท้า หรือสวมเขียงเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
@เชิงอรรถ : @ เขียงเท้า คือรองเท้าไม้ สำหรับสวมในบ้าน, เกี๊ยะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๒

สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๓๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนสวมรองเท้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมรองเท้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้สวมรองเท้า ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ ที่เหยียบบนรองเท้า สวมรองเท้า หรือสวมรองเท้าหุ้มส้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๓

สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม แก่คนอยู่ในยาน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน๑-
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ยาน ได้แก่ คานหาม รถ เกวียน เตียงหาม วอ เปลหาม ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้อยู่ในยาน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
@เชิงอรรถ : @ ผู้อยู่ในยาน หมายเอาบุคคลผู้นั่งบนคานหาม บนวอ ถูกอุ้มไป ถูกแบกใส่บ่าไป นั่งบนยานที่ไม่ได้เทียมม้า @หรือแม้นั่งบนล้อที่แยกส่วนออกมา ถือว่านั่งอยู่ในยานทั้งสิ้น แต่ถ้าอยู่ในยานด้วยกันทั้งภิกษุผู้แสดงธรรม @และอุบาสกผู้รับธรรมเทศนา ภิกษุแสดงธรรมแก่คนที่ไปในยานด้วยกันได้ ถ้าภิกษุผู้แสดงธรรมนั่งอยู่ข้าง @หน้าในที่สูงกว่าหรือเสมอกันกับอุบาสกผู้ฟัง ไม่ต้องอาบัติ (วิ.อ. ๒/๖๔๐/๔๕๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๑๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๔

สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนผู้อยู่บนที่นอน ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้อยู่บนที่นอน โดยที่สุดผู้นอน บนพื้นดิน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๕

สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนที่นั่งรัดเข่า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่า ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งรัดเข่าด้วยมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรม แก่คนผู้โพกศีรษะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า ผู้โพกศีรษะ คือ พันไม่ให้เห็นปลายผม ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้โพกศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุให้เขาเปิดปลายมวยผมแล้วจึงแสดง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๗

สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์แสดงธรรมแก่ คนผู้คลุมศีรษะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ที่ชื่อว่า คลุมศีรษะ คือ ท่านกล่าวถึงผู้ห่มผ้าคลุมตลอดศีรษะ ภิกษุไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้คลุมศีรษะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุให้เขาเปิดผ้าคลุมศีรษะแล้วจึงแสดง ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๘

สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนพื้นดิน แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งที่พื้นดินจักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่ เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งอยู่บนพื้นดินไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนพื้นดินแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙

สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์นั่งบนอาสนะ ต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงนั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรม แก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ ทรงประชุมสงฆ์แสดงธรรมีกถา ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอนั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงนั่งบนอาสนะต่ำแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูงเล่า โมฆบุรุษ ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่ เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้วทรงแสดงธรรมีกถา รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
เรื่องภรรยาของบุรุษจัณฑาล
[๖๔๗] “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ภรรยาของบุรุษจัณฑาลคนหนึ่ง ในกรุงพาราณสี มีครรภ์ ครั้นแล้วนางจึงได้กล่าวกับสามีว่า “นาย ดิฉันกำลังตั้ง ครรภ์ อยากกินมะม่วง” สามีตอบว่า ‘มะม่วงไม่มีเพราะไม่ใช่ฤดูมะม่วง’ นางกล่าวว่า ‘ถ้าไม่ได้ ดิฉันต้องตาย’ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙

ครั้งนั้น มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้ว บุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น พอดี พระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่ง บนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์ ภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า ‘พระราชาองค์นี้ประทับ นั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์ ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบน อาสนะต่ำสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่ ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริง การ กระทำดังนี้ล้วนต่ำทราม’ จึงไต่ลงมา ณ ที่นั้นกล่าวว่า ‘คนทั้ง ๒ คือ พราหมณ์ผู้สอนมนต์ และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม พราหมณ์กล่าวว่า ‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด ฉะนั้น จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’ บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า ‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ พฤติกรรมเช่นนั้น นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกต่ำ และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์ ท่านมหาพราหมณ์ ท่านรีบไปเสียเถิด แม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้ ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน เหมือนหม้อน้ำแตก’๑-
เรื่องภรรยาของบุรุษจันฑาล จบ
@เชิงอรรถ : @ อรรถกถาอธิบายว่า “ถ้าท่านไม่หนีไปจากที่นี้ ยังจะประพฤติความไม่ชอบธรรมอยู่ ท่านผู้ประพฤติความ @ไม่ชอบธรรมนั่นแหละจะแตก เหมือนก้อนหิน(หล่น)ทับหม้อน้ำแตก (วิ.อ. ๒/๖๔๗/๔๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๙

ทรงตำหนิแล้วบัญญัติสิกขาบท
ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลนั้น พราหมณ์นั่งบนอาสนะต่ำ สอนมนต์พระราชา ผู้ประทับนั่งบนอาสนะสูง ยังไม่เป็นที่พอใจของเรา ไฉนบัดนี้ การที่ภิกษุนั่งบนอาสนะ ต่ำแสดงธรรมแก่คนผู้นั่งบนอาสนะสูง จึงจักเป็นที่พอใจของเราเล่า” แล้วจึงรับสั่งให้ ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คน ที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุนั่งบนอาสนะต่ำ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบนอาสนะสูง ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ นั่งบนอาสนะต่ำ แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งบน อาสนะสูง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนแสดงธรรม แก่คนผู้นั่งอยู่ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เรายืนอยู่จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุยืนอยู่ ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ยืนอยู่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๑

สิกขาบทที่ ๑๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๔๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่ ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปข้างหน้า ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินอยู่ข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คน ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินอยู่ข้างหลัง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่ข้างหลัง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๒

สิกขาบทที่ ๑๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนผู้เดินไปในทาง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๒. พึงทำความสำเหนียกว่า เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คน ที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินในทาง
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุเดินไปนอกทาง ไม่พึงแสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ เดินอยู่นอกทาง แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้ผู้เดินไปในทาง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๓

สิกขาบทที่ ๑๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ยืนถ่ายอุจจาระ บ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๓. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ยืนถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๔

สิกขาบทที่ ๑๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงบนของเขียว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลาย ลงบนของเขียว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบนของเขียว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงบน ของเขียว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุถ่ายลงในที่ไม่มีของเขียวแต่ไหลไปรดของเขียว ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕

สิกขาบทที่ ๑๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๕๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระ บ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ พวกชาวบ้านจึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพระสมณะเชื้อสายศากยบุตรจึงถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้างลงในน้ำ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลาย ตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงสอบถามแล้วบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย การ กระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
๑๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วน น้ำลาย ลงในน้ำ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๗. ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕

เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้
[๖๕๔] สมัยนั้น พวกภิกษุผู้เป็นไข้ยำเกรงอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ปัสสาวะ บ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำ จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตภิกษุผู้เป็นไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้วรับ สั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้เป็นไข้ถ่ายอุจาระบ้าง ปัสสาวะบ้าง บ้วนน้ำลายบ้าง ลงในน้ำได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขา บทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระอนุบัญญัติ
พึงทำความสำเหนียกว่า เราไม่เป็นไข้ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
เรื่องภิกษุผู้เป็นไข้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่เป็นไข้ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เป็นไข้ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุถ่ายบนบก แต่ไหลลงน้ำ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุจิตฟุ้งซ่าน ๙. ภิกษุถูกเวทนาบีบคั้น ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๕ จบ
ปาทุกาวรรคที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

บทสรุป

บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๒ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ ๓ “ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ” ท่านทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้า ขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้
เสขิยะ จบ
เสขิยกัณฑ์ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๓๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๗๑๗-๗๓๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=141              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=16094&Z=16392                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=862              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=862&items=18              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10574              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=862&items=18              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10574                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk61 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk62 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk63 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk64 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk65 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk66 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk67 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk68 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk69 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk70 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk71 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk72 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk73 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk74 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk75



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :