ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๖. เอฬกโลมสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. โกสิยวรรค
๖. เอฬกโลมสิกขาบท
ว่าด้วยการรับขนเจียม๑-
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง
[๕๗๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเดินทางไปกรุงสาวัตถี ในชนบทแคว้นโกศล ระหว่างทาง ขนเจียมเกิดขึ้น เธอจึงใช้อุตตราสงค์ห่อขนเจียมไป พวกชาวบ้านเห็นท่านจึงพูดสัพยอกว่า “ท่านซื้อขนเจียมมาราคาเท่าไร จะ ขายมีกำไรเท่าไร” ท่านถูกชาวบ้านพูดสัพยอกจึงเก้อเขิน ครั้นถึงกรุงสาวัตถี ได้โยนขนเจียม เหล่านั้นทิ้งไป ทั้งที่ยืนอยู่นั่นแหละ ภิกษุทั้งหลายกล่าวกับท่านอย่างนี้ว่า “ทำไมท่านจึงโยนขนเจียมเหล่านั้นทิ้ง ทั้งที่ยืนอยู่เล่า” ท่านตอบว่า “จริงอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย กระผมถูกพวกชาวบ้านพูดสัพยอก เพราะขนเจียมเหล่านี้” ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านนำขนเจียมเหล่านี้มาไกลเท่าไร” ภิกษุรูปนั้นตอบว่า “เกิน ๓ โยชน์ ขอรับ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุ จึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิภิกษุรูปนั้นโดย ประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ ขนเจียม คือ เอฬกโลม ขนแกะ ขนแพะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๖. เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์ จริงหรือ” ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอจึงนำขนเจียมมาไกลเกิน ๓ โยชน์เล่า โมฆบุรุษ การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๕๗๒] ก็ ขนเจียมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ภิกษุต้องการก็พึงรับได้ ครั้นรับแล้ว เมื่อไม่มีคนนำไปให้ พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่าง มาก ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรับขนเจียมระหว่างทาง จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๗๓] คำว่า ก็...แก่ภิกษุผู้เดินทางไกล ได้แก่ ภิกษุผู้เดินทาง คำว่า ขนเจียมเกิดขึ้น คือ เกิดจากสงฆ์ จากคณะ จากญาติ จากมิตร หรือที่เป็นของบังสุกุล หรือที่ได้มาด้วยทรัพย์ของตน คำว่า ต้องการ คือ เมื่อต้องการก็รับไว้ได้ คำว่า ครั้นรับแล้ว... พึงนำไปเองตลอดระยะ ๓ โยชน์เป็นอย่างมาก คือ นำไปเองได้ ๓ โยชน์ คำว่า เมื่อไม่มีคนนำไปให้ ความว่า ไม่มีคนอื่น คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต คอยช่วยนำไป คำว่า ถ้าเมื่อไม่มีคนนำไปให้ นำไปไกลกว่านั้น อธิบายว่า ภิกษุย่างเท้าที่ ๑ ผ่าน ๓ โยชน์ไป ต้องอาบัติทุกกฏ ย่างเท้าที่ ๒ ผ่านไป ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๖. เอฬกโลมสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุยืนอยู่ภายในระยะ ๓ โยชน์ โยนขนเจียมออกนอกระยะ ๓ โยชน์ ขนเจียม ทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุซ่อนขนเจียมในยานพาหนะหรือในห่อของของผู้อื่นที่เขา ไม่รู้ ย่างเท้าไปเกิน ๓ โยชน์ ขนเจียมทั้งหลายเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของจำต้อง สละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละขนเจียมที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่สงฆ์” ครั้น สละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็น นิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ขนเจียม เหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า ขนเจียมเหล่านี้ของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้ขนเจียมเหล่านี้แก่ภิกษุชื่อนี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๖. เอฬกโลมสิกขาบท บทภาชนีย์

สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ขนเจียมเหล่านี้ กระผมนำไปเกิน ๓ โยชน์ เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละขนเจียมเหล่านี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดง อาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนขนเจียมที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผม คืนขนเจียมเหล่านี้ให้แก่ท่าน”
บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๕๗๔] เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัตินิสสัคคิย ปาจิตตีย์ เกินระยะ ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า นำไปเกิน ๓ โยชน์ ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าเกิน ต้องอาบัติทุกกฏ หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ หย่อนกว่า ๓ โยชน์ ภิกษุสำคัญว่าหย่อนกว่า ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๒. โกสิยวรรค ๖. เอฬกโลมสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๕๗๕] ๑. ภิกษุนำไปเพียง ๓ โยชน์ ๒. ภิกษุนำไปหย่อนกว่า ๓ โยชน์ ๓. ภิกษุนำไปก็ดี นำกลับก็ดี เพียงระยะ ๓ โยชน์ ๔. ภิกษุนำไปเพียงระยะ ๓ โยชน์ ประสงค์จะพักอาศัย แล้วนำไปจากที่นั้น๑- ๕. ภิกษุได้ขนเจียมที่ถูกชิงไปคืนมา แล้วนำไปอีก ๖. ภิกษุได้ขนเจียมที่สละไปคืนมา แล้วนำไปอีก ๗. ภิกษุใช้ให้ผู้อื่นช่วยนำไป ๘. ภิกษุนำขนเจียมที่ทำเป็นสิ่งของไป ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
เอฬกโลมสิกขาบทที่ ๖ จบ
@เชิงอรรถ : @ ประสงค์จะพักอาศัยอยู่ เพื่อศึกษาเล่าเรียน สอบถาม หรือเพื่อได้ปัจจัยเครื่องอาศัย แต่เพราะไม่ได้ @สิ่งเหล่านั้น จึงจากที่นั้นไป (วิ.อ. ๒/๕๗๕/๑๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๐๐}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๙๖-๑๐๐. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=16              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=2266&Z=2377                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=97              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=97&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=4657              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=97&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=4657                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np16/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :