ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. ปัตตวรรค
๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท
ว่าด้วยการให้จีวรแล้วชิงเอาคืน
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร
[๖๓๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระอุปนันทศากยบุตร กล่าวชักชวนสัทธิวิหาริกของภิกษุผู้เป็นพี่ชายว่า “มานี่เถิด ท่าน พวกเราจักไปเที่ยว ชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นกล่าวตอบว่า “กระผมไม่ไป กระผมมีจีวรชำรุด” ท่านพระ อุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “ไปเถิด ท่าน ผมจะถวายจีวรแก่ท่าน” แล้วถวายจีวรแก่ ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นทราบข่าวว่า “พระผู้มีพระภาคจักเสด็จจาริกไปในชนบท” ทีนั้น ท่านได้มีความคิดว่า ‘บัดนี้เราจักไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านพระอุปนันทศากยบุตร แต่จะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค’ ครั้นท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวชัก ชวนภิกษุนั้นว่า “มาเถิด ท่าน บัดนี้พวกเราจะไปเที่ยวชนบทด้วยกัน” ภิกษุนั้นปฏิเสธ ว่า “กระผมไม่ไปเที่ยวชนบทกับท่านล่ะ กระผมจะไปเที่ยวชนบทกับพระผู้มีพระภาค” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรกล่าวว่า “เราถวายจีวรท่านเพราะตั้งใจว่า ‘จะไปเที่ยว ชนบทด้วยกัน” จึงโกรธ ไม่พอใจ ชิงจีวรคืน ต่อมา ภิกษุนั้นได้เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่านพระอุปนันทศากยบุตรให้ จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิท่าน พระอุปนันทศากยบุตรโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามท่านพระอุปนันทศากยบุตรว่า “อุปนันทะ ทราบว่า เธอให้จีวรภิกษุเองแล้ว {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

โกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมา จริงหรือ” ท่านพระอุปนันทศากยบุตรทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษ ไฉนเธอให้ จีวรภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอาคืนมาเล่า โมฆบุรุษ การกระทำอย่างนี้ มิได้ ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๖๓๒] ก็ ภิกษุใดให้จีวรแก่ภิกษุเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๖๓๓] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า แก่ภิกษุ คือ แก่ภิกษุรูปอื่น คำว่า เอง คือ ให้ด้วยตนเอง ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีขนาดพอที่จะวิกัป ได้เป็นอย่างต่ำ คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ คำว่า ชิงเอามา คือ ยื้อแย่งเอามาด้วยตนเอง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คำว่า ใช้ให้ชิงเอามา คือ สั่งผู้อื่น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่ชิงเอามาหลายครั้ง จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็น ของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะหรือแก่บุคคล ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุผู้ แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืนนี้กระผม ให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้ว พึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา ว่า “ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละ แก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ จีวรผืน นี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิงคืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “ท่าน ทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า จีวรของภิกษุชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่ท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายพร้อมกันแล้วก็พึงให้จีวรผืนนี้แก่ภิกษุชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ จีวรผืนนี้กระผมให้ภิกษุเองแล้วชิง คืนมา เป็นนิสสัคคีย์ กระผมสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุผู้รับสละนั้นพึงรับอาบัติแล้วคืนจีวรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า “กระผมคืน จีวรผืนนี้ให้แก่ท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๔. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๓. ปัตตวรรค ๕. จีวรอัจฉินทนสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๖๓๔] อุปสัมบัน๑- ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิง เอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ให้จีวรเองแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิง เอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุให้บริขารอย่างอื่นแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามาหรือใช้ให้ชิงเอามา ต้อง อาบัติทุกกฏ ภิกษุให้จีวรหรือบริขารอย่างอื่นแก่อนุปสัมบันแล้วโกรธ ไม่พอใจ ชิงเอามา หรือใช้ให้ชิงเอามา ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๖๓๕] ๑. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเดิมรับจีวรที่เขาให้คืนเอง หรือถือเอาโดย วิสาสะกับภิกษุผู้รับไป ๒. ภิกษุวิกลจริต ๓. ภิกษุต้นบัญญัติ
จีวรอัจฉินทนสิกขาบทที่ ๕ จบ
@เชิงอรรถ : @ อุปสัมบัน ผู้ได้รับอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมแล้ว หมายถึงภิกษุ (วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๑๕๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๑๕๒-๑๕๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=25              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=3771&Z=3894                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=149              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=149&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=5648              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=149&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=5648                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-np25/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :