ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. ภูตคามวรรค
๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ว่าด้วยการฉุดลากออก
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๑๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซม วิหารหลังใหญ่แห่งหนึ่งอยู่สุดเขตอารามด้วยหมายใจว่า พวกเราจักจำพรรษาในที่นี้ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เห็นพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหาร ครั้นเห็นแล้ว จึงกล่าวกันอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านี้ซ่อมแซมวิหาร กัน มาเถิด พวกเราจักขับไล่ภิกษุเหล่านั้นออกไป” ภิกษุบางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย โปรดรอให้ภิกษุเหล่านั้นซ่อม แซมวิหารเถิด เมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว พวกเราจึงขับไล่ออกไป” เมื่อพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ซ่อมแซมวิหารเสร็จ พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ได้กล่าว กับพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ดังนี้ว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านน่าจะบอกก่อน พวกเราจะได้ซ่อมแซมวิหารหลังอื่น” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์มิใช่หรือ” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ตอบว่า “ใช่ ท่านทั้งหลาย วิหารเป็นของสงฆ์” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “วิหารหลังใหญ่ พวกท่านก็อยู่ได้ พวกเรา ก็อยู่ได้” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า “พวกท่านจงย้ายออกไป วิหารเป็นของพวกเรา” แล้วโกรธ ไม่พอใจ จับคอลากออกไป {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นเมื่อถูกลากออกไป ก็ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลาย กล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย พวกท่านร้องไห้ทำไม” พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์กล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย พวกภิกษุฉัพพัคคีย์โกรธ ไม่ พอใจ ฉุดลากพวกกระผมออกจากวิหารของสงฆ์” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ จึงตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุฉัพพัคคีย์จึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์ จริง หรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลากภิกษุ ทั้งหลายออกจากวิหารของสงฆ์เล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๑๒๕] ก็ ภิกษุใดโกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุออกจาก วิหารของสงฆ์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๒๖] คำว่า ก็...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็...ใด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ คำว่า ภิกษุ ได้แก่ ภิกษุอื่น คำว่า โกรธ ไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ วิหารที่ชื่อว่า ของสงฆ์ ได้แก่ วิหารที่มีผู้ถวาย บริจาคแก่สงฆ์ คำว่า ฉุดลาก คือ จับในห้องฉุดลากออกไปไว้หน้าห้อง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ จับที่หน้าห้องฉุดลากออกไปข้างนอก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ภิกษุฉุดลากพ้นประตู หลายประตูด้วยความพยายามครั้งเดียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า ใช้ให้ฉุดลาก ความว่า ภิกษุสั่งผู้อื่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ผู้รับคำสั่ง ครั้งเดียว แต่ฉุดลากออกไปพ้นหลายประตู ภิกษุผู้สั่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๒๗] วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุไม่แน่ใจ โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ วิหารของสงฆ์ ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล โกรธ ไม่พอใจ ฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลาก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากออกจากอุปจารวิหาร จากโรงฉัน จากมณฑป จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. ภูตคามวรรค ๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท อนาปัตติวาร

ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอนุปสัมบันออกจากวิหาร จากอุปจารวิหาร จากโรงฉัน จากมณฑป จากโคนไม้ หรือจากที่กลางแจ้ง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอนุปสัมบันนั้น ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของสงฆ์ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ วิหารของส่วนบุคคล ภิกษุสำคัญว่าเป็นของส่วนบุคคล ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะเป็นของส่วนบุคคลของผู้อื่น วิหารส่วนบุคคลของตน ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๒๘] ๑. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุอลัชชี ๒. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุอลัชชี ๓. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุวิกลจริต ๕. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากภิกษุผู้ก่อความบาดหมาง ก่อ ความทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อให้เกิดการทุ่มเถียง หรือก่อ อธิกรณ์ในสงฆ์ ๖. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของภิกษุผู้ก่อเหตุเหล่านั้น ๗. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากอันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกผู้ไม่ ประพฤติโดยชอบ ๘. ภิกษุฉุดลาก หรือใช้ให้ฉุดลากบริขารของอันเตวาสิกหรือ สัทธิวิหาริกผู้เช่นนั้น ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
นิกกัฑฒนสิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๐๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๐๒-๓๐๕. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=53              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9009&Z=9091                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=387              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=387&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7254              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=387&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7254                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc17/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :