ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท นิทานวัตถุ

๓. โอวาทวรรค
๗. สังวิธานสิกขาบท
ว่าด้วยการชักชวนเดินทางร่วมกัน
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๑๘๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ชักชวนกันเดิน ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย พวกชาวบ้านพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า “พระสมณะเชื้อสายศากยบุตรเที่ยวไปกับภิกษุณีทั้งหลาย เหมือนพวกเรากับ ภรรยาเที่ยวไปด้วยกัน” พวกภิกษุได้ยินชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงชักชวนกันเดิน ทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอชักชวนกันเดินทาง ไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลายเล่า โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุ ทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท พระบัญญัติ

พระบัญญัติ
ก็ ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุดแม้ชั่วละแวก หมู่บ้านหนึ่ง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุและภิกษุณีหลายรูป
[๑๘๑] สมัยนั้น พวกภิกษุและพวกภิกษุณีหลายรูปจะเดินทางไกลจากเมือง สาเกตไปกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นได้กล่าวกับภิกษุเหล่านั้นดังนี้ว่า “พวกดิฉันจะขอเดินทางไปกับพระคุณเจ้าทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า “น้องหญิงทั้งหลาย การชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกัน กับภิกษุณีไม่สมควร พวกเธอจักไปก่อน หรือพวกเราจักไปก่อน” ภิกษุณีทั้งหลายตอบว่า “พระคุณเจ้าทั้งหลายเป็นบุรุษผู้ล้ำเลิศ นิมนต์ล่วง หน้าไปก่อนเถิด เจ้าข้า” ครั้งนั้น เมื่อภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางไปภายหลัง พวกโจรจึงปล้นและทำร้ายใน ระหว่างทาง ทีนั้น ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นเดินทางถึงกรุงสาวัตถีจึงบอกเรื่องนั้นแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีเหล่านั้นจึงบอกเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นได้ นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงอนุญาตให้เดินทางร่วมกัน
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว รับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กัน ว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว เราอนุญาตให้ชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับ ภิกษุณีได้” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระอนุบัญญัติ
[๑๘๒] อนึ่ง ภิกษุใดชักชวนกันเดินทางไกลร่วมกันกับภิกษุณี โดยที่สุด แม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สมัยในข้อนั้น คือ เป็นหนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน ที่รู้กันว่าน่าหวาดระแวง มีภัยน่ากลัว นี้เป็นสมัยในข้อนั้น
เรื่องภิกษุและนางภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๑๘๓] คำว่า อนึ่ง...ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อนึ่ง...ใด คำว่า ภิกษุ มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค ทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุ ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า ภิกษุณี ได้แก่ มาตุคามที่อุปสมบทในสงฆ์ ๒ ฝ่าย คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน คำว่า ชักชวนกัน คือ ชักชวนกันว่า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวกเรา ไปกันเถิด พระคุณเจ้า ไปกันเถิด พระคุณเจ้า พวกเราไปกันเถิด น้องหญิง พวก เราจะไปวันนี้ พรุ่งนี้ หรือวันมะรืนนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ คำว่า โดยที่สุดแม้ชั่วละแวกหมู่บ้านหนึ่ง คือ หมู่บ้านหนึ่งกำหนดชั่วไก่บิน ตก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ ละแวกหมู่บ้าน ในป่าที่ไม่มีหมู่บ้าน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ กึ่งโยชน์ คำว่า นอกสมัย คือ ยกเว้นสมัย ที่ชื่อว่า หนทางที่จะพึงไปด้วยกองเกวียน คือ ไม่สามารถจะไปได้ เว้นไว้ แต่ไปด้วยกองเกวียน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า น่าหวาดระแวง คือ ในหนทางนั้น ปรากฏที่อยู่ ปรากฏที่กิน ปรากฏที่ยืน ปรากฏที่นั่ง ปรากฏที่นอนของพวกโจร ที่ชื่อว่า มีภัยน่ากลัว คือ ในหนทางนั้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกพวกโจรฆ่า ปรากฏมีมนุษย์ถูกปล้น ปรากฏมีมนุษย์ถูกทุบตี ภิกษุพาไปตลอดทางที่มีภัยน่ากลัว พอเห็นที่ปลอดภัยพึงส่งภิกษุณีทั้งหลาย ไปด้วยกล่าวว่า “พวกเธอจงไปเถิด”
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๑๘๔] ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าชักชวนกันแล้ว เดินทางไกลด้วยกัน โดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ชักชวนกันแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้ชั่วระยะหมู่บ้าน หนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ชักชวนกันแล้ว ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน เดินทางไกลด้วยกันโดยที่สุดแม้ ชั่วระยะหมู่บ้านหนึ่ง นอกสมัย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ติกทุกกฏ
ภิกษุชักชวน ภิกษุณีไม่ได้ชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าชักชวน ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ไม่ได้ชักชวน ภิกษุสำคัญว่าไม่ได้ชักชวน ไม่ต้องอาบัติ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๓. โอวาทวรรค ๗. สังวิธานสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๑๘๕] ๑. ภิกษุและภิกษุณีไปในสมัยที่ทรงอนุญาต ๒. ภิกษุและภิกษุณีไม่ได้ชักชวนกันไป ๓. ภิกษุไม่ได้ชักชวนแต่ภิกษุณีชักชวน ๔. ภิกษุและภิกษุณีไปด้วยกันโดยมิได้นัดหมายกัน ๕. ภิกษุและภิกษุณีไปในคราวมีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สังวิธานสิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๓๕๑}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๓๔๗-๓๕๑. http://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=2&siri=63              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=9871&Z=9955                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=451              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=451&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=7949              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=451&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=7949                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc27/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :